++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

"มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ" (พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง - มีนาคม ๒๕๕๓ หนา ๑๖๐ หน้า เรียบเรียงโดยคุณวีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

"มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ" (พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง - มีนาคม ๒๕๕๓ หนา ๑๖๐ หน้า เรียบเรียงโดยคุณวีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

ผมได้ไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติมาเมื่อต้นสัปดาห์นี้ และซื้อหนังสือมาหลายเล่มเลย.... มีเล่มนึง เปิดอ่านแล้วน่าสนใจมาก หนังสือชื่อว่า “มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ” (พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง - มีนาคม ๒๕๕๓ หนา ๑๖๐ หน้า เรียบเรียงโดยคุณวีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนทนาของในหลวงและพระราชินีกับครูบาอาจารย์กรรมฐานหลายท่าน ซึ่งบางท่านก็อาจจะได้เคยอ่านบทสนทนาดังกล่าวมาบ้างใน forward อีเมล์

ผมเชื่อว่าหากทุกท่านได้อ่านแล้วก็ต้องเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า ในหลวงท่านเป็นพระธรรมราชาจริง ๆ ... กระผมขอยกตัวอย่างบางคำถามมาเล่าให้ฟังนะครับ ......... ในหลวงท่านทรงถามหลวงพ่อพุธ ฐานิโยว่า “รูปขันธ์เมื่อแยกออกจากขันธ์ทั้ง ๔ คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแล้ว ตัวรูปขันธ์จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่” .... “จิตตอนที่รู้สมมุติบัญญัติเข้าปรมัตถ์นี้มีสภาพเป็นอย่างไร” .... “ทำไมมรรค ๘ จึงมีปัญญาอยู่ ๒ อย่าง” ... “คำว่า วิญญาน หมายความว่า ธาตุรู้ ใช่ไหมขอรับ” ฯลฯ

นอกจากนี้แล้ว กระผมก็ขอคัดลอกข้อความบางส่วนในหนังสืออันอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับบางท่านมาให้อ่านกันนะครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว:
เขาพูดกันว่า ผมปรารถนาพุทธภูมิเป็นความจริงไหมครับ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ:
เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ปรารถนามานาน แต่เวลานี้ บารมีเป็น “ปรมัตถบารมี” แล้ว ก็เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ!
พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์เป็น “วิริยาธิกะ” วิริยาธิกะนี่ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป นี่บำเพ็ญมาเกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว “แสนกัป” อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว:
การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อย มีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแบ่งช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาทีหรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ก็ปฏิบัติเป็นระยะไปอย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากเรียนถาม?

หลวงพ่อเกษม เขมโก:
ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว:
ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละได้หรือไม่ คือใช้สติอยู่ทุกขณะที่จิตเกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบ ให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อเกษม เขมโก:
ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่า ได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว:
ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่?

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย:
การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เหลือกาล ไม่เลือกเวลา เช่น อย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธได้ ทีนี้ ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนาพุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา จุดมุ่งหมายของการภาวนาหรือบริกรรมภาวนาก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเองให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัย บริกรรมภาวนาเป็นปี ๆ จิตไม่สงบก็มี อุบายที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่า เราคิดอะไรก็ “รู้” สิ่งที่คิดมันหายไปก็ “รู้” อันใหม่เกิดขึ้นมาก็ “รู้” กำหนดรู้ตามมันไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิด กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบและเป็นสมาธิได้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ:
ถ้าท่านอาจารย์ไปพักที่วัดบวรฯ ดิฉันจะไปนมัสการ ดิฉันสนใจภาวนามานานแล้ว แต่เมื่อนั่ง จิตไม่ค่อยสงบ ได้ไปเรียนท่านเจ้าคุณศาสนโสภณ ท่านบอกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร:
ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ทำได้

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ:
ทำอะไร .... ให้ “รู้” อยู่หรือ?

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร:
ขอถวายพระพร

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ:
หากเดียรัจฉานเขาพัฒนาตนเอง จะถึงขั้นเกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร:
ได้ .... เกี่ยวกับจิตใจ ใจคนมีหลายนัย ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์ ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นนรก ตัวเป็นมนุษย์ ใจเป็นมนุษย์หรือเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้า ก็มาจากคน
จะรู้ได้อย่างไร ... ให้มานั่งพิจารณาดูที่ใจ ไม่อยู่ คิดโน่นคิดนี่ นั่นแหละเรียกว่ามันไปต่อภพต่อชาติที่ว่าเกิด
ถ้าตาย ก็ไปเกิดตามบุญตามบาปที่ทำไว้
เป็นเปรต คือใจที่มีโมโห โทโส ริษยา พยาบาท
ใจนรก คือ ใจทุกข์ กลุ้มอกกลุ้มใจ
ใจเป็นมนุษย์ คือ ใจที่มีศีล ๕ มีทาน มีภาวนา
ใจเป็นเศรษฐี ท้าวพระยา มหากษัตริย์ คือ ใจดี
ใจเป็นเทวดา คือ มีเทวธรรม มีหิริ ความละอายบาป โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาป น้อยหนึ่งไม่อยากกระทำ
ใจเป็นพรหม มีพรหมวิหารธรรม
ใจว่างเหมือนอากาศ ใจพระอรหันต์ คือ ท่านพิจารณาความว่างนั้นจนรู้เท่า แล้วปล่อย เหลือแต่รู้
ใจพระพุทธเจ้า รู้แจ้งแทงตลอดหมดทุกอย่าง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ:
หากเผื่อว่าไม่ได้บวชเป็นพระนี้ จะสามารถชำระจิตของท่านจนสามารถบรรลุธรรมได้ไหมเจ้าค่ะ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย:
อาศัยตามหลักฐานในพระคัมภีร์ ผู้ที่เป็นฆราวาสก็สามารถที่จะชำระจิตให้ถึงวิมุติความหลุดพ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จพระสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระองค์ก็ทรงสำเร็จพระอรหันต์ในขณะทรงเป็นฆราวาสอยู่ เพราะเมื่อได้ฟังเทศน์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็สำเร็จพระอรหันต์ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ... ในปัจจุบันนี้ คฤหัสถ์ที่ยังครองเพศอยู่ก็สามารถที่จะปฏิบัติให้มีจิตสงบเป็นสมาธิ รู้ธรรมเห็นธรรมได้เหมือนกับพระในพระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น