++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวั

งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
และอำนวยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ
ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ
เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ
พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

๑.ปุพฺพณฺเห ปิณฑปาตํ
พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ

๒.สายณฺเห ธมฺมเทสนํ
พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม

๓.ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ
พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย

๔.อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ
พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

๕.ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกน
ํพุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรม
ซึ่งพระองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น.


พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า
จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่า
ทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่า
ไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว
การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล
การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ?
มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้ว
ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์
จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย
คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ
เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์
ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้
โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์
ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม)
ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้)
หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์
ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล
สามารถปรองดองกันได้

พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวช
ในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา
ในฐานะของบิดากับบุตรผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น
ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนา
สืบต่อกันมาได้ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ



ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี ๒ อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประโยชน์
บรรดากิจ ๒ อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีกิจแต่มีประโยชน์เท่านั้น.

กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี ๕ อย่าง คือ
๑. กิจในปุเรภัต
๒. กิจในปัจฉาภัต
๓. กิจในปุริมยาม
๔. กิจในมัชฌิมยาม
๕. กิจในปัจฉิมยาม


ในบรรดากิจ ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ
มีบ้วนพระโอฐษ์เป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและ
เพื่อความสําราญแห่งพระสรีระเสร็จแล้วทรงประทับยับยั้ง
อยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษาจาร
ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวร
ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จ
เข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ คือ
อย่างไร ? เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อน ๆ
พัดไปเบื้องหน้าแผ่วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด
พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลง ระงับฝุ่นละอองในมรรคา
กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็
หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในบรรดา
ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ำลง ที่ต่ำก็ สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ำเสมอ
ในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือมีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวล
ชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท
พอพระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็
โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับ
ปราสาทราชมณเฑียร เป็นต้น ดังแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อม
ไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มี ช้าง ม้า และนก เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตน ๆ ก็พากันเปล่งสําเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่
ไพเราะ เช่น เภรี และพิณ เป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์
และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที
ด้วยสัญญาณอันนี้ ทําให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อย
พากันถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น โดยเคารพ
ถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระ-
(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149)

องค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนําถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทําภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์
์เหล่านั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต
ซึ่งเป็นผลเลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว
ทรงลุกจากอาสนะเสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน
์อันบวรซึ่งปูลาด ไว้ในมัณฑลศาลา
ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุทั้งหลาย
เสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้ทรงทราบ ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี
นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบําเพ็ญกิจในปุเรภัต
เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี
ทรงล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท
ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
และ ว่าทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภทุลฺลภา
ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ
ทุลฺลภา ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคเล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150.
ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก การบวช หาได้ยาก
การฟังพระสัทธรรม หาได้ยากณ ที่นั้น
ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุเหล่านั้น
ลําดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยัง
ที่พักกลางคืนและกลางวันของตน ๆ. บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคนม
้บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีภูเขา เป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพ
ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาฯลฯบางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นวสวัดดี
ด้วยประการฉะนี้.

ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้ามีพระพุทธประสงค์
ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา
ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง
ณ คาม หรือนิคมที่พระองค์เสด็จ เข้าไปอาศัยประทับอยู่
มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลังอาหารนุ่งห่มเรียบร้อย
ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น มาประชุมกันในพระวิหาร
ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง แสดงธรรมที่ควรแก่กาลสมัย
ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา ครั้นทรงทราบ
(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151).


กาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันหลีกไป นี้เป็นกิจหลังอาหาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้แล้ว
ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสนะ
เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็น
พุทธุปฐากจัดถวาย ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นําพุทธอาสนะมาปูลาดที่
บริเวณพระคันธกุฎี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดีแล้ว
ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสนะนั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลําพังพระองค์เดียว
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้นๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา
บางพวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสําเร็จ
นี้เป็นกิจในปฐมยาม. ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม
ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็
พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา
โดยที่สุดแม้อักขระ ๔ ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดา
เหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.
ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อย
ล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว.
(ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152)
ที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้
พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้
ด้วยอํานาจทานและศีล เป็นต้น ในสํานักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ.
นี่เป็นกิจในปัจฉิมยาม.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1104
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม
จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปให้หมู่สัตว์ว่า ก็เราแลเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่
สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้นไป
เราทรมานได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังทรมานไม่ได้ เราสงบแล้ว
แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ
เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ ก็เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นไปด้วย เราทรมานได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลก
ทรมานได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกสงบด้วย
เราเป็นผู้เบาใจแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกเบาใจด้วย เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกดับรอบด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงพิจารณาเห็นดังนี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นมหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคต.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น