++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มศว เผยเคล็ดลับฟื้นสังคม ผู้คนหายป่วยจากวิกฤติอุทกภัย

ศูนย์พัฒนาความสุข มศว เผยเคล็ดลับฟื้นสังคม ผู้คนหายป่วยจากวิกฤติอุทกภัย ทุกคนต้องแสดงน้ำใจ พ่อค้าอย่าฉกฉวยโอกาส หนุนบริษัท เอกชนควรทำCSR ช่วยประชาชน เตือนแบ่งปันกันในชุมชน ลดการซื้อ ประหยัดและมีสติในการใช้เงินทอง

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าในช่วงภาวะวิกฤตอุทกภัยที่ส่งผลในหลายพ้นที่ ซึ่งบางพื้นที่ท่วมและน้ำเริ่มทรงตัว บางพื้นที่เพิ่งจะไหลเข้าท่วมบางพื้นที่เริ่มลดลง "การใช้ชีวิตในช่วงนี้ต้องอาศัยความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ในขณะที่ตอนนี้บรรยากาศของภาวะอุทกภัย มีการเปลี่ยนแปลงไป คนที่เคยลุ้น อาจจะรู้สึกโล่ง ว่ายังไงก็ไม่เกิดกับเราแล้ว คนกลุ่มนี้อาจต้องแสดงน้ำใจ ให้กับคนที่กำลังทำใจกันอยู่ หรือคนที่กำลังได้รับความเดือนร้อน

การทำมาหากินในช่วงจังหวะของวิกฤติ อาจสร้างโอกาสให้คนหลายคน ด้วยการฉกฉวยการขึ้นราคาสินค้า แต่เป็นการทำลายบรรยากาศของการเกื้อหนุนและการแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ และการขาย ควรเป็นไปอย่างมีสติ ในหลายพื้นที่เราจะเห็นเรื่องการกักตุนทราย ถุงทราย อาหารของแห้งต่างๆ หากคนขายกักของไว้ โดยใช้หลักอุปสงค์ อุปทาน เพื่อจะหาทรัพย์จากโอกาสในช่วงนี้ ขอให้คิดยาวๆ เพราะพลังจากนี้ คนที่ต้องฝืนทนจ่าย จะจดจำ ในระยะยาว การขายของลักษณะฉกฉวยขึ้นราคา อาจขายไม่ได้ เพราะคนเสียความรุ้สึกไปแล้ว การขายของให้ได้ใจคนตอนนี้ ต้องช่วยกันยามตกทุกข์ได้ยาก และขายโดยมีกำไรตามสมควร เพื่อจะ ได้คบหา ซื้อขายกันได้อย่างยาวนาน ด้วยความรู้สึกดีต่อกัน และให้การซื้อขาย ได้กระจายแก่คนหลายคน ไม่ใช่ยอมให้ซื้อไปเยอะ ๆ จนคนอื่นไม่มีโอกาส

ในด้านผู้ซื้อ เนื่องจากได้บทเรียนจากการตุนอาหารอย่างตื่นตระหนก ในประชาชนบางกลุ่ม การใช้เงิน จึงเป็นเรื่องที่ต้องรอบคอบขึ้น เพื่อใช้จ่ายให้คุ้มกับราคาท ควรดูและสำรวจก่อนว่า ต้องซื้ออะไร จัดการอะไร และเครื่องมือเครื่องใช้ชิ้นใดที่ต้องซื้อเข้าบ้าน หรือถ้าอยู่ในชุมชนเดียวกันที่พอจะใช้ร่วมกันได้ หรือหยิบยืมกันได้ เพราะหากต่างคนต่างซื้อ ต่างจ่าย ก็ทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ การ แบ่งปันข้อมุล แบ่งปันสิ่งของ และซื้อข้าวของเครื่องใช้ทุกชิ้นไม่ว่าจะขณะน้ำกำลังท่วม ท่วมไปแล้วหรือขณะในยามที่น้ำเริ่มแห้งจึงต้องมีสติ อย่างใจร้อน หรือโหมไปตามกระแส จะช่วยลดการกักตุน การขึ้นราคาโดยไม่มีเหตุผลของร้านค้าได้ระดับหนึ่ง ยิ่งตระหนก รีบตุน ยิ่งทำให้เห็นช่องทางการทำเงินของผู้ฉวยโอกาสได้ หรือตอนนี้ใคร รู้จักเพื่อนใหม่ ไม่ว่าจะลงไปในพื้นที่ทำงานเพื่อส่วนรวมร่วมกันหรือการเข้าไปในสังคมออนไลน์พูดคุยแลกเปลี่ยนขอ้มูลกัน ก็อาจจะใช้บริการและได้รับความร่วมมือกันในหลายๆ เรื่องที่เป็นปัญหาสำหรับเราอยู่ก็ได้"

ประธานศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สมาคมต่างๆ องค์กรต่างๆ ถ้าได้จับมือกันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนในเรื่องต่างๆ หรืออาจจะขายสินค้าลดราคา อย่างเช่นอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน อุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องมือทางการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ถือเป็นการทำร่วมรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility หรือ CSR โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประชาชนเดือดร้อน "หากองค์กรหรือหน่วยงานใดใหญ่ ๆ เริ่มต้นเป็นต้นแบบ ส่วนอื่นๆ ก็ย่อมต้องแข่งกันทำตาม จะช่วยฟื้นฟูเยียวยาสังคมได้ดีขึ้น สังคมที่บอบช้ำผู้คนที่อ่อนล้าหมดสิ้นกำลังใจก็จะฟื้นตัวขึ้นได้เร็วเพราะน้ำใจจากทุกส่วนช่วยกัน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น