++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการเตรียม น้วิธีการเตรียม น้ำดื่ม ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม น้ำดื่มสะอาด.....ช่วงน้ำท่วมำดื่ม ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม น้ำดื่มสะอาด.....ช่วงน้ำท่วม

ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม เป็นเวลานานๆ ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิตก็เกิดขึ้นตามมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญและหายากในเวลานี้คงหนี้ไปพ้นเรื่องของ ''น้ำดื่ม'' ที่ใสสะอาดในช่วงที่น้ำท่วมขังและเป็นจำนวนมากในครั้งนี้ ไม่ว่าจะไปที่ไหนตามห้างสรรพสินค้าเล็กใหญ่ ร้านขายของทั่วไป ต่างก็ขาดแคลนไปกันหมด สำหรับเพื่อนๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ที่น้ำยังเดินทางไปไม่ถึงควรเตรียมหาน้ำดื่มสะอาดไว้ให้เพียงพอ เพราะการดื่มน้ำสะอาดส่งผลดีกับสุขภาพร่างกายของเรา



สำหรับเพื่อนๆ ที่ลดน้ำหนักก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้ร่างกายต้องการน้ำเพิ่ม เพราะการลดน้ำหนักต้องจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายไปดึงคาร์โบไฮรเดรตที่สะสมจากกล้ามเนื้อ หรือไกรโครเจนมาใช้ นอกจากนี้การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว จะมีผลไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างของเสียชนิดหนึ่งขึ้นมา ซึ่งจำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับของเสียออกมา ดังนั้น ผู้ต้องการลดน้ำหนักต้องคำนึงถึงการรักษาสมดุลย์ของน้ำในร่างกายระหว่างการลดน้ำหนักด้วย จึงควรทานอาหารคาร์โบไฮเดรต และดื่มน้ำมาก ๆ ไปพร้อมกันในแต่ละวัน อย่างน้อยวันละ 6-7 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำได้มากถึงวันละ 2 ลิตร จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้เพิ่มขึ้นอีกถึงวันละ 150 แคลอรี่ เพราะน้ำที่ดื่มเข้าไปปลุกประสาทซิมพาเทตติก ซึ่งควบคุมการเผาผลาญอาหารของร่างกาย ทำให้ช่วยกำจัดแคลอรี่ที่เกินให้ลดน้อยลง การดื่มน้ำจึงช่วยลดน้ำหนักได้


สิ่งที่ต้องเตรียม น้ำดื่ม ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม
1.ขวดน้ำพลาสติกใส ที่ดื่มน้ำหมดแล้วพร้อมฝาที่ปิดได้แน่นสนิท ขนาดไม่เกินสองลิตร เมื่อวางนอนแล้วความหนาที่แสงอาทิตย์ผ่านไม่เกิน 10 ซม. ขวดยิ่งชะลูดยิ่งดี รังสีดวงอาทิตย์จะได้ทะลุทะลวงได้มาก พลาสติกไม่เก่า หรือมีรอยขีดข่วนมากเกินไป เพราะรังสีจะผ่านได้ไม่ดี ภายในขวดสะอาด แกะพลาสติกภายนอกออกหมด
2.แหล่งน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ วิธีนี้ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในภาวะปกติ ครัวเรือนที่ดื่มน้ำฝน ถ้าต้องการประหยัดพลังงานและทุกคนในบ้านแข็งแรงดี อาจจะใช้วิธีนี้แทนการต้มก็ได้
3.ถ้าน้ำขุ่นควรมีผ้ากรองตะกอนดิน เช่น ผ้าขาวบาง หรือผ้าขาวม้าสะอาดหลายๆ ชั้น เมื่อกรองได้ที่บรรจุน้ำเต็มขวด เปิดฝาวางทับหนังสือพิมพ์รายวันหน้าแรก ควรจะสามารถมองลงไปก้นขวด อ่านพาดหัวข้อข่าวรองได้ (ตัวอักษรในแนวหลักขนาด 3.5 ซม.)
4. บริเวณที่จะวางขวดตากแดดที่ร้อน โดยเฉพาะถ้ามีโลหะเช่นแผ่นสังกะสีลูกฟูก หรือ อะลูมิเนียมจะดีมาก

วิธีการเตรียม น้ำดื่ม ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม
1.กรองน้ำที่หาได้ กรอกลงขวดให้ได้ประมาณ 3 ใน 4 ขวด
2.เขย่าแรงๆ อย่างน้อย 20 ครั้ง ให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว
3.เติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาแน่นสนิท
4.วางขวดในแนวนอน ตากแดดตามข้อ 4 ข้างบนทิ้งไว้ อย่าพยายามขยับขวดโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ออกซิเจนไม่แยกตัวจากน้ำ ตากแดดโดยใช้เวลา
- 2 ชั่วโมงถ้าแดดจัด พื้นที่วางเป็นโลหะและน้ำค่อนข้างใส
- 6 ชั่วโมงบนพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์
- 2 วันถ้ามีเมฆมาก


ถ้าฝนตกตลอดแดดไม่ออกเลย ให้รองน้ำฝนดื่มแทน น้ำในขวดดังกล่าวนำไปดื่มได้เลย หรือจะเก็บไว้ดื่มในภายหลังก็ได้ แสงแดด ความร้อน และออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากันฆ่าเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ 99.9% แต่อาจจะมีสาหร่ายเซลเดียวซึ่งทนรังสียูวีและความร้อนซึ่งอาจจะจับตัวเป็น ตะไคร่น้ำในขวดได้ถ้าเก็บขวดไว้นาน แต่น้ำที่มีสาหร่ายเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อผู้ดื่มทั่วไปที่มีภูมิคุ้มกันปกติ


สามารถดูวีดีโอ วิธีการเตรียม น้ำดื่ม ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม ได้ในนี้ค่ะ
ที่มา : http://kungbueaty.blogspot.com/2011/10/blog-post_8098.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น