++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คลอดแล้ว... หลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ พร้อมวิธีคํานวณ

กรมสรรพากร
Revenue Department News
เลขที่ข่าว ปชส. 13/2554
วันที่แถลงข่าว 18 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง คลอดแล้ว... หลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ พร้อมวิธีคํานวณ
........................................................................................................................................................ ..........
ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง สนับสนุนการออมรูปแบบ
ประกันชีวิตแบบบํานาญให้ประชาชนได้ออมไว้ใช้จ่ายภายหลังเกษียณอายุการทํางาน โดยเพิ่มเติมค่าลดหย่อน
เบี้ยประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วตามปกติ อีก 200,000 บาท เฉพาะประกันชีวิตแบบบํานาญ ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นนี้
ต้องไม่เกินร้อยละ15 ของเงินได้ และต้องไม่เกินยอดหักลดหย่อนในภาพรวมเมื่อผนวกกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
กองทุนบําเหน็จบํานาญราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และค่าซื้อ
หน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ด้วย นั้น
หลักเกณฑ์ที่ผู้มีสิทธิหักลดหย่อน “ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ” ( เพิ่มเติมจากประกันชีวิตปกติ
ที่หักได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน100,000 บาท) มีเงื่อนไขที่ควรตรวจสอบก่อนใช้สิทธิ ดังนี้
หลักเกณฑ์ตามคุณลักษณะพื้นฐานของประกันชีวิตแบบบํานาญ
1.
1.1
เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่มีกําหนดเวลาตั้งแต่10 ปีขึ้นไปและผ่านการอนุมัติ
และรับรองจากสํานักงานคปภ. ว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนตามกฎหมายได้
1.2
เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบํานาญที่ทําสัญญาไว้กับบริษัทที่ประกอบกิจการในไทย
1.3
ต้องไม่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ใดๆในระหว่างปีหรือช่วงที่จ่ายเบี้ยประกันหรือก่อน
กรมธรรม์จะหมดอายุสัญญา
1.4
ต้องเป็นแบบที่เมื่อผู้ทําประกันอายุครบ55 ปี หรือ 60 ปี จะได้รับเงินคืน(บํานาญ) เป็น
รายงวดเท่าๆกันอย่างสมํ่าเสมอจนถึงอายุ85 ปี หรือมากกว่า และได้รับเงินบํานาญคืนเมื่อได้ชําระเบี้ยประกัน
ครบตามสัญญาแล้ว
การคํานวณเพื่อนําเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญไปใช้ลดหย่อนภาษี
2.
กรณีตัวอย่าง นายภาษีมีเงินได้ทุกประเภทรวมทั้งปีเท่ากับ3,400,000 บาทได้ซื้อประกันชีวิตปกติ
ของตนเองไว้รวมปีละ60,000บาทได้ซื้อประกันชีวิตแบบบํานาญไว้300,000 บาทและซื้อหน่วยลงทุนRMFไว้
ในปีเดียวกันถึง 360,000 บาท อยากทราบว่านายภาษี จะสามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญได้
จํานวนเท่าไร
Page 2
- 2 -
ขั้นตอนที่1 คํานวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ15 ของเงินได้ แล้วพักไว้
เช่น มีเงินได้ทั้งปี3,400,000 บาท ไม่เกินร้อยละ15 มีเพดานสูงสุดเท่ากับ
= 3,400,000 x 15% = ไม่เกิน 510,000 บาท
ขั้นตอนที่2 ตรวจสอบและดําเนินการใช้สิทธิโดยนําเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญไปคํานวณ
ตามลําดับขั้นดังต่อไปนี้
ลําดับขั้นที่1 นําไปใช้สิทธิหักร่วมกับประกันชีวิตปกติจนครบเพดานสูงสุดได้ไม่เกิน
100,000 บาท การดําเนินการตามสิทธิเป็นดังนี้
(1)
นายภาษีจ่ายค่าเบี้ยประกันปกติ 60,000 บาท
(2)
คงเหลือสิทธิที่จะใช้กับเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญเท่ากับ
100,000 – 60,000 = 40,000 บาท
ดังนั้น ใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญในลําดับขั้นที่1 ได้เท่ากับ 40,000 บาท
ลําดับขั้นที่2 นําไปหักตามสิทธิของค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ(สูงสุด200,000
บาทแต่ไม่เกินร้อยละ15 ของเงินได้)
(1)
นายภาษีซื้อประกันแบบบํานาญไว้ 300,000 บาท
(2)
เมื่อเทียบวงเงินตามขั้นตอนที่1 พบว่าไม่เกิน510,000 บาท จึงสามารถใช้สิทธิ
หักลดหย่อนได้ตามลําดับขั้นที่2 นี้เต็ม200,000 บาท(เต็มเพดานสิทธิที่ให้หัก
ได้ในลําดับนี้)
ดังนั้น นายภาษีสามารถหักได้เต็ม200,000 บาทนําไปพักไว้รอตรวจสอบตามลําดับขั้นที่3
ลําดับขั้นที่3 นํายอดที่คํานวณได้ตามลําดับขั้นที่2 ไปตรวจสอบผลรวมตามเพดานสูงสุด
เมื่อ นําไปรวมกับหน่วยลงทุน RMF ซึ่งหลังจากนําไปรวมกับหน่วยลงทุน
RMF แล้วต้องไม่เกิน500,000 บาท
(1) นายภาษีซื้อหน่วยลงทุนRMF รวม360,000 บาทในปีที่ใช้สิทธิ
(2) นําเงินเบี้ยประกันแบบบํานาญตามลําดับขั้นที่2 รวมกับหน่วยลงทุนRMF
เพื่อตรวจสอบสิทธิการหักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน500,000 บาท
= 200,000 + 360,000 = 560,000 บาท พบว่าเกินวงเงินที่สามารถหักได้รวม
เท่ากับ60,000 บาท (จาก560,000 - 500,000)
(3) คํานวณสิทธิที่หักได้ตามลําดับขั้นที่2 ใหม่เพื่อหาสิทธิที่ได้รับจริงโดยนํายอด
ที่คํานวณได้ตามลําดับขั้นที่2 (200,000 บาท) – ส่วนเกินวงเงินในลําดับขั้นที่3
(60,000 บาท) = 200,000 – 60,000 = มีสิทธิหักได้จริง 140,000 บาท
Page 3
- 3 -
ดังนั้น นายภาษีสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ
เท่ากับ40,000 (ลําดับขั้นที่1) + 140,000 บาทรวมทั้งสิ้น 180,000 บาทในปีนี้
ทั้งนี้หากสิทธิหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตปกติ ได้มีการใช้สิทธิหักลดหย่อนเต็มเพดานไปก่อนแล้ว
(ก่อนการหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ) ให้คํานวณเริ่มต้นจากขั้นตอนที่2 ลําดับขั้นที่2 ได้ทันที
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “ เนื่องจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญนั้น
เป็นลูกผสมระหว่างการประกันชีวิตปกติกับการประกันความมั่นคงในการดํารงชีพเมื่อผู้ประกันตนใช้ชีวิต
หลังเกษียณ จึงเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สิทธิลดหย่อนการประกันประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งกับการประกันชีวิตปกติ
และมีลักษณะการทํางานที่เหมือนกับหน่วยลงทุน RMF ไปพร้อมกัน จึงทําให้สิทธิทางภาษีการประกันชีวิต
รูปแบบดังกล่าวมีระบบการคํานวณที่ผนวกความเหมือนและแยกความต่างสําหรับใช้สิทธิแต่ละกรณี การใช้สิทธิ
หักลดหย่อนเบี้ยประกันแบบบํานาญอย่างถูกต้อง ผู้มีสิทธิควรทําความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ตลอดจนพิจารณารายละเอียดในกรมธรรม์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดด้วยทุกครั้ง และจะมีผลบังคับใช้
สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในปีพ.ศ. 2554 อย่างแน่นอน”
****************************************
กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน
ส่วนประชาสัมพันธ์ สํานักบริหารกลาง กรมสรรพากร
เลขที่90 ถนนพหลโยธิน7 พญาไท กรุงเทพฯ10400 โทร. 0 2617 3320-21 โทรสาร0 2617 3324 หรือ RD Call Center 1161

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น