++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

WHO ชี้ทั่วโลกขาดแคลนหนักเครื่องมือแพทย์ เผยราคาสูงลิ่ว

ผอ.WHO เผย ประชากรโลกเผชิญปัญหาเครื่องมือแพทย์ขาดแคลน-ราคาสูง บางแห่งนำเข้าจากประเทศพัฒนา ชี้ ทั่วโลกมี CT สแกนใช้เฉลี่ย 3.5 ล้านคนต่อ 1 เครื่อง เร่งหาประชุมนานาชาติเพื่อแก้ปัญหา

วันนี้ (9 ก.ย.) ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กทม.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดการประชุมนานาชาติเรื่องเครื่องมือแพทย์ครั้งที่ 1 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นได้รับมอบหมายจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 350 คน จาก 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งยุโรปและเอเชีย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่ายเกี่ยวกับการ กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก การผลิตและจัดหา และการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์

โดย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเด็นที่ตนเห็นว่าสำคัญอย่างมากในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การเข้าถึงเครื่องมือแพทย์อย่างถ้วนหน้าของประชากร โดยเฉพาะประชากรในประเทศที่เป็นคนมีรายได้น้อย ซึ่งควรได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทั้งเรื่องของการได้รับบริการจาก เครื่องมือแพทย์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย มีราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ประเด็นที่ท้าทายอีกอย่าง คือ เรื่องของการกระตุ้นให้เกิดการใช้เครื่องมือแพทย์ในการบริการสาธารณสุขอย่าง สมเหตุสมผล ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริงได้

“ผมหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเครือข่ายและความร่วมมือต่อไปใน อนาคต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์ และนำนโยบายเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติในประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ด้าน ดร.มาร์กาเร็ต ชาน (Dr.Margaret Chan) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เครื่องมีแพทย์ถือได้ว่าเป็นการบริการด้านสาธารณสุขที่มีความจำเป็นต่อทุก ประเทศในโลก ซึ่งขณะนี้มี เครื่องมือแพทย์กระจายในท้องตลาดกว่า 10,500 ประเภท โดยส่วนมากมีมูลค่าการผลิตที่แพง ดังนั้น ประเทศที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่ทัน สมัยส่วนใหญ่จึงเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการขายทั่วโลกในราวปี 2551 พบว่า มีมูลค่ากว่า 2 แสน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จำนวน 4 ใน 5 ของการซื้อขายนั้น นำมาจากสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป ดังนั้น ประเทศที่ประชากรมีรายได้น้อย จึงไม่สามารถเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึง หรืออาจเข้าถึงได้แต่ก็ต้องจ่ายจ่ายค่าบริการที่สูงเกินจริง ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการรับบริการสาธารณสุของประเทศนั้นๆ

ดร.มาร์กาเร็ต กล่าวด้วยว่า จากรายงานการสำรวจของ WHO พบว่า ในบางประเทศนั้นเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพงและมีน้อยมาก คือ เครื่อง ซีที (CT) สแกน หรือ Computed tomography ซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ สำหรับการตรวจ โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด เป็นต้น ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยแล้วประชาชนในประเทศที่มีรายได้สูงมีอัตราใช้เครื่อง ดังกล่าวเฉลี่ยที่ 64,900 คน ต่อ 1 เครื่อง และประเทศที่มีรายได้ต่ำใช้เฉลี่ย 3.5 ล้านคน ต่อ 1 เครื่อง และพบว่า ขณะนี้ทั่วโลกยังมีอีก 10 ประเทศที่ไม่มีเครื่องฉายรังสีใช้เลย ขณะที่บางประเทศยังประสบปัญหาขาดแคลนแม้กระทั่งเข็มฉีดยา ซึ่งประชากรกว่า 40% ต้องเสี่ยงกับการใช้เข็มที่ไม่ปลอดภัย

“หลายๆ ประเทศนั้นยังต้องรับบริจาคเครื่องมือแพทย์บางอย่างจากประเทศอื่น ซึ่งอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะใช้ในวงการแพทย์ ดังนั้น สุขภาพของประชาชนก็ต้องเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งการประชุมความร่วมมือในวันนี้จะต้องเร่งหารือเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน” ดร.มาร์กาเร็ต

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัว หน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า สำหรับเครื่อง ซีทีแสกนในประเทศไทย ขณะนี้มีอยู่ 5 เครื่อง เป็นของโรงพยาบาลในสังกัดรัฐ 3 เครื่อง และเป็นของโรงพยาบาลเอกชน 2 เครื่อง ซึ่งมีอญู่เฉพาะในโรงพยาบาลที่อยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีบางหน่วยงานเสนอให้มีการจัดซื้อเพิ่มเติม แต่ก็ไม่สามารถทำได้ในทันที เพราะมีราคาสูงถึงเครื่องละ 800 ล้านบาท ไม่รวมราคาห้องปฏิบัติการ

นพ.ยศ จากปัญหาที่เผชิญอยู่ขณะนี้ ทาง WHO และนานาประเทศที่เป็นสมาชิกจึงต้องเร่งหารือเพื่อนำเสนอนโยบายและแผนในการ จัดการเรื่องเครื่องมือแพทย์อย่างเหมาะสม โดยพยายามเปิดโอกาสให้นักวิชาการมีการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ชนิด ใหม่ๆ แล้วนำมาเสนอในที่ประชุม ซึ่งมีการคัดเลือกเพาะที่น่าสนใจจำนวน 10 รายการ เช่น เครื่องมือที่ใช้สำหรับทำความสะอาดห้องผ่าตัดโดยไม่ใช้ไฟฟ้าและน้ำ ซึ่งมีความสะดวกสบาย นอก จากนี้ ยังมีการหารือเพื่อกระตุ้นให้ประเทศที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องมือแพทย์ หันมาให้ความสนใจในการผลิตเครื่องมือเพื่อประเทศที่ยากจน โดยมีการกำหนดราคาที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น