++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสุขของชาวบ้านเป็นงานในหน้าที่ของรัฐ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ

เรียบเรียงโดย นพรัตน์ จิตรครบุรี


            มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย และความเจริญของประเทศ แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าทุกวันนี้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านห้วยทับทันยังต้องเดินทาง ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลห้วยทับทัน เพราะในตำบลไม่มีกระทั่งสถานีอนามัย

            นายเรืองเดช หาญสุทธิชัย นายก อบต. ห้วยทับทัน บุคคลที่ชาวห้วยทับทันให้ความเคารพ ศรัทธาและนับถือ ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนฯ ว่า ความสุขของชาวบ้านเป็นงานในหน้าที่ของรัฐ ซึ่งต้องประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพและองค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่ อบต.ไม่มีกรอบตำแหน่งเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
            ฉะนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพที่ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช. จึงเป็นการกระตุ้นให้มีการดำเนินการด้านสุขภาพเร็วขึ้นมากขึ้น สามารถดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบการสร้างเสริมสุขภาพ ของตนเอง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีสุขภาพดียิ่งๆขึ้นไป

            กองทุนฯ ของ อบต.ห้วยทับทัน เริ่มด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ โดยเน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. นักวิชาการสาธารณสุข สมาชิก อบต. อสม. และตัวแทนหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล
            ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ คือ การเตรียมตัวของตัวเองให้พร้อม โดยการทำความเข้าใจกันก่อนในทีม และได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนดังนี้
           
            ก่อนเริ่มโครงการหรือทำกิจกรรมใดๆ ทีมงานจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รู้ได้ทราบเพื่อทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การบอกข่าวผ่านหอกระจายข่าวผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และกรรมการกองทุนฯ ทำหนังสือเชิญ (จดหมายข่าว) ทำป้ายประชาสัมพันธ์
            และการทำประชาคม โดยคณะกรรมการทุกคนต้องเข้าร่วม ร่วมตอบคำถามและให้ข้อมูล เปิดโอกาสให้ชาวบ้านซักถามประเด็นต่างๆ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ คืออะไร ทำไมต้องมีกองทุน กลุ่มเป้าหมายคือใคร ใช้อย่างไร เป็นต้น
           
            หลังจากนั้น ตัวแทนคณะกรรมการกองทุนประจำหมู่บ้าน ได้แก่ อสม. สอบต. ผู้แทนหมู่บ้าน จะประสานงานผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชนด้วยการทำประชาคมในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม สะท้อนภาพปัญหาสุขภาพที่พบในชุมชนแล้วเสนอความต้องการมายังคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล เพื่อเขียนและจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มอายุ

            ด้านงบประมาณดำเนินการสนับสนุน กองทุนสุขภาพตำบลห้วยทับทัน ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักโดย สปสช. โอนเงินสมทบ 37.50 บาท/คน/ปี ประมาณเดือนธันวาคม 2549 ได้รับการจัดสรรจำนวน98,625 บาท ร่วมกับท้องถิ่นโอนเงินสมทบ 10 เปอร์เซ็นต์ของเงิน สปสช. จำนวน 10,000 บาท
            ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2550) พบว่า โครงการดีเด่นและเห็นเป็นรูปธรรมของ อบต. ห้วยทับทันที่ดำเนินการด้วยเงินกองทุนฯ คือ โครงการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยห่างไกลโรค โดยได้ตัดแว่นสายตาให้กับผู้สูงอายุและกระตุ้นให้มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ที่ได้รับการบริการมีความพึงพอใจมากประมาณร้อยละ 80 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ได้รับการดูแลสุขภาพและได้รับเงินเบี้ยยังชีพ

            ในเรื่องของเกณฑฺ์การวัดว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น คณะกรรมการจะพิจารณาจากความพอใจของผู้ที่ได้รับการบริการ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และการมีสุขภาพที่ดีและการรับบริการที่เหมาะสมในทุกกลุ่มอายุ

            การขับเคลื่อนที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการกองทุนฯของ อบต.ห้วยทับทัน จากการเรียนรู้ของทีมงาน การบริหารกองทุนฯ จะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับ
            ความเข้มแข็งของผู้นำในการตัดสินใจดำเนินการกองทุนฯ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นอันดับต้นๆ ในการพัฒนาชุมชน ทีมงานเข้มแข็ง และทำงานด้วยความเข้าใจ
            คณะกรรมการกองทุนฯ ต้องเป็นผู้เสียสละในการทำงานและมีจิตอาสา เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองและเพื่อต้องการให้คนในชุมชน มีสุขภาพแข็งแรง
            และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมตัดสินใจ  ร่วมเป็นเจ้าของและได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
            การสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของประชาชน โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ผู้นำชุมชน โรงพยาบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้เกิดการบูรณาการงานเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะการสร้างหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องใส่ใจและดูแล
   
        ข้อมูลพื้นฐานประกอบการเขียนโดย
    ดร.กฤษณา วุฒิสินธ์
    รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์
    นัจรินทร์ เนืองเฉลิม
    กิ่งแก้ว สุระแสน
    นิธิ ปรัสรา
    วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อุบลราชธานี       


ที่มา ถอดบทเรียน การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
(กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. และเทศบาล) ในพื้นที่ต้นแบบทั่วประเทศ กรณีศึกษา ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง
เลข  ISBN : 978-974-379-047-8
ธันวาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น