++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ลมหายใจออก-ลมหายใจเข้า

ครูบาอาจารย์ก็ปฏิบัติอยู่กับลมหายใจทั้งวัน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ก็อยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
ออก-เข้า ออก-เข้า อยู่อย่างนั้น

ถึงแม้เราจะเห็นหลายอย่าง ได้ยินเสียงหลายอย่าง
เรา ก็สามารถอยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ในอิริยาบถทั้ง 4 ได้
ช่วงที่ไปบิณฑบาต หรือทำงาน ทำครัวหรือทำอะไรก็ตาม
ถ้าจิตอยู่กับลมหายใจได้ แสดงว่าความรู้สึกก็ไม่รุนแรง

เห็นอะไร ได้ยินอะไร บริกรรมภาวนาได้ อยู่กับลมหายใจได้
เราอยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ก็ดูลมออก ลมเข้า อยู่อย่างนั้น
หรือว่าอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราเลือกมา
ถ้าจิตสามารถอยู่กับอารมณ์นั้นได้อย่างต่อเนื่องกัน แสดงว่า

เราก็เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ มีประสบการณ์อะไรๆ อยู่
แต่ จิตก็สงบเป็นปกติได้ เรียกว่าอยู่ในศีลได้
จิตเป็นปกติ ความรู้สึกไม่รุนแรง
แม้แต่เราเห็นอะไรสวย หรือน่าเกลียด
หรือได้ยินเสียงไพเราะ หรือไม่ไพเราะก็ตาม
เกิดความรู้สึกนิดหน่อย ก็ไม่ต้องใส่ใจ
เราก็อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน

คือลมหายใจออก ลมหายใจเข้าของตนได้
เรียกว่า จิตอยู่ จิตก็ใช้ได้
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ จิตก็เชื่องแล้ว จิตเป็นศีล
พร้อมที่จะเจริญสมาธิ ปัญญาได้ จิตเริ่มเข้ามรรค
เริ่มปฏิบัติถูกแล้ว จิตก็ใช้งานได้
อันนี้ เราก็ต้องตั้งเป้าหมายไว้ เป้าหมายแรกก็จุดนี้
ตั้งแต่นี้ไปก็ค่อยๆ เจริญสมาธิ วิปัสสนา
ก็ทำงานละเอียดขึ้นประณีตขึ้น

เหมือนกับไปโรงเรียน เข้าเรียนประถม 1 แล้วขึ้นประถม 2, 3
และมัธยมต้น ปลาย ต่อไป
อันนี้เราก็ต้องพิจารณา..... โยนิโสมนสิการ
ปฏิบัติให้มันถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น