การข่มตาหลับยากเย็นไหมสำหรับคุณ แล้วต้องลำบากอีกหนตอนเปิดตาตื่นใช่หรือไม่ กลางวันเหน็ดเหนื่อย ท้อ ทุกข์ กลางคืนกังวล หวั่นไหว ไม่มีความสุข ตื่นก็ร้อน...นอนก็ทุกข์... เป็นเพราะอะไร
มองหาแต่ความสุข กลับเจอแต่ความทุกข์
คนเรานี้ ทุกข์เพราะ "ความคิด" ยิ่งกว่าอะไรอื่น บางคนมีชีวิตที่แสนมั่งคั่ง สะดวกสบาย แต่ในใจกลับเต็มไปด้วยความทุกข์ และอาจจะทุกข์มากกว่าคนหาเช้ากินค่ำ เสียด้วยซ้ำ ทุกข์เพราะกลัวทรัพย์พร่อง ทุกข์เพราะทรัพย์เพิ่มน้อย เพิ่มช้า น่าผิดหวัง มีทรัพย์แล้วก็อยากมียศ มีเกียรติ มีตำแหน่ง มีคนนับหน้าถือตา ซึ่งหลายอย่างที่ว่ามา บางทีทรัพย์ก็ช่วยไม่ได้
คนไม่มี...ก็ทุกข์ไปอีกแบบ ทุกข์ว่าพรุ่งนี้จะกินอะไร จะมีเงินเข้ากระเป๋าบ้างไหม จะต้องไป้เงินใคร ดิ้นรนแค่ให้ "พอมี" ซึ่งเพียงแค่ "มี" ก็ดีนักหนาแล้ว คนที่ไม่เคยมีจึงเป็นสุขเมื่อ "มี" คนที่มี...แต่ไม่เคยพอ จึงต้องทุกข์เพราะรอให้ "มีพอเท่าที่ใจอยากมี"
ให้ใจเดินตาม อย่าเดินตามใจ
ใจ...เป็นที่อยู่ของความอยาก ซึ่งหากไม่ได้รับการฝึกฝน ควบคุม ความอยากจะกลายเป็นใหญ่ แล้วใจจะกลายเป็นทาส อยากกิน จึงกินแบบไม่รู้อิ่มรู้พอ อยากสบาย จึงเลือกที่จะทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องแยกแยะถูก-ผิด ควร-ไม่ควร ดีหรือไม่ดี อยากดัง จึงทำทุกวิถีทางโดยไม่เลือกวิธี ฯลฯ
ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่า "ความอยาก" นี้ หากใจไม่รู้เท่าทันความอยาก ก็ยากที่จะควบคุมการกระทำ (แล้วความอยากจะควบคุมแทน) การกระทำที่ขาดความควบคุม ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำไปอย่างที่ใจมันอยาก โดยปราศจากการไตร่ตรอง ไม่มีใจคอยกรองหรือระงับยับยั้ง ย่อมเหมือนกับรถที่ห้อตะบึงไป โดยไม่มีพวงมาลัยและคนขับ จึงเพียงแต่พุ่งไปตามแรงดันของเครื่องเท่านั้น
ฝึกสติไว้ควบคุมใจ...ย่อมไม่ห่างไกลจากปีติสุข
ความคิดที่มีสติกำกับจะนำไปสู่การกระทำที่มีสติกำกับ เหมือนรถแม้แล่นเร็วรี่ แต่ก็ไปอย่างที่มีคนขับ มีพวงมาลัยที่สามารถหักเลี้ยวให้ไปตามเส้นทางที่ควรจ ะไป จะช้าหรือเร็วเพียงใดก็สามารถควบคุมให้อยู่บนทางที่ถ ูก ที่ควร
ความคิดที่มีสติกำกับ จะไม่พาใจกวัดแกว่งไปกับความชอบหรือไม่ชอบ หรือขึ้น-ลง ฟู-แฟบ ตามสิ่งที่มากระทบ แต่จะมั่นคงบนหนทางของความถูกต้อง หรือวิถีแห่งธรรมนั่นเอง วิถีแห่งธรรมมีอยู่แล้ว หากแต่เราเท่านั้น ที่ไม่สามารถคุมตนให้ดำเนินไปบนวิถีแห่งนี้ได้อย่างม ั่นคง เพราะกิเลส หรือความชอบความไม่ชอบ มักกวักมือเรียกให้วอกแวกจนเถลไถลไปนอกเส้นทาง
จับจิตมาฝึกใหม่...เพื่อให้ใจนั้นหมดจด
พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง แปลความได้ว่า "การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเป็นความดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"
"จิตที่ข่มยาก" หมายความว่า จิตเป็นสิ่งที่บังคับยาก ไม่อยู่ในอำนาจใครง่ายๆ เปรียบกับคนก็คือคนดื้อ ยากแก่การสั่งสอนอบรม เพราะไม่ยอมทำตาม ไม่เชื่อฟัง ค้าน และคอยแต่จะโต้เถียง
"จิตที่เบา" มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ หมายความว่า จิตนั้นอ่อนแอ พ่ายแพ้ง่ายต่ออารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา เมื่อพบเห็นสิ่งใดเป็นที่ต้องตาต้องใจ ก็อ่อนแอ ยอมตกอยู่ในอำนาจของสิ่งนั้น ไม่มีกำลังเข้มแข็งพอที่จะพิจารณาให้เห็นความควรไม่ค วร จึงถูกเรียกว่า "จิตเบา" หรือ "จิตอ่อน"
แต่ไม่ว่าจิต (หรือใจ) จะเป็นสิ่งที่บังคับยากหรืออ่อนแอเพียงไรก็ตาม ผู้มีปัญญาย่อมสามารถแก้ไขได้ สามารถบังคับจิตตนเองได้ สามารถแก้จิตที่อ่อนให้เป็นจิตที่ เข้มแข็งได้ สำคัญที่ว่าต้องมีปัญญาเพียงพอ จึงจะมีความเข้มแข็งเพียงพอ ที่จะเอาชนะจิตที่ดื้อ ที่ข่มยาก ที่เบาได้ ปัญญาต้องเพียงพอ ความเข้มแข็งต้องเพียงพอ ต้องทันกับจิต ไม่เช่นนั้นก็จะเอาชนะจิตไม่ได้ จิตก็จะเป็นฝ่ายชนะ
จิตที่ว่าอ่อนแอนั้น มีความอ่อนที่เป็นภัยอยู่ เพราะอ่อนให้กับความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ไม่อ่อนให้แก่ความดีงาม ตรงกันข้าม จิตที่อ่อนจะแข็งกับความดีงามอย่าง ยิ่ง มักดื้อดึงไม่ยอมทำตาม เพราะความดีงามทำยาก ลำบาก และขัดกับความต้องการอย่างหยาบๆ ของจิตอยู่เสมอ ต้องให้ความดีงามที่ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยความเชื่อมั่น และความศรัทธาอย่างจริงจังมาช่วยข่ม เพื่อเข้าสู่การตระหนักรู้และปีติว่า การข่มจิตให้ลงอยู่ใต้อำนาจของความดีของความถูกต้องน ั้น เป็นการดี เป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
ฝึกจิต-ครองใจ...ความดีง่ายๆ ที่ต้องลงมือทำ
การฝึกจิตหรือการข่มจิต นับเป็นความดีประการหนึ่งที่พึงกระทำ เพราะถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะมีความสุข สมดั่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า "จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้" ฉะนั้น ยิ่งฝึกจิตข่มจิตได้ดีเพียงใด ก็จะยิ่งมีความสุขเพียงนั้น
มองความสุขให้ถูกจุด
ความจริงมีอยู่ว่า ความสุขของทุกคนไม่ได้เกิดแต่สิ่งอื่น หรือเกิดในที่อื่นๆ แต่เกิดแต่จิต (หรือเกิดที่ใจ) ของตนเท่านั้น ที่เข้าใจว่าความสุขอยู่ที่นั่นอยู่ที่นี่ ความสุขอยู่ที่คนนั้นอยู่ที่คนนี้ หรือความสุขขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นสิ่ง นี้ นั่นเป็นความเข้าใจผิด ที่จริงความสุขเกิดแต่จิต ความสุขอยู่ที่จิต ถ้าจิตไม่เป็นสุขแล้ว ผู้อื่นผู้ใด สิ่งอื่นสิ่งใด ก็หาทำให้จิต (หรือใจ) เกิดสุขได้ไม่
เงินทองแม้มากมายมหาศาล ยศถาบรรดาศักดิ์แม้ ยิ่งใหญ่ บ้านเรือนตึกรามแม้มโหฬาร วงศ์สกุลแม้สูงส่ง ก็ไม่อาจทำให้เป็นสุขได้ ถ้าใจไม่เป็นสุข ถ้าจิตรุ่มร้อน เป็นทุกข์ ก็ย่อมไม่มีความสุขอย่างแท้จริงได้
จิต (หรือใจ) ที่ถูกเร้าให้ร้อนอยู่ด้วยเปลว เพลิงแห่งกิเลส อยู่ในอาณัติของรัก โลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ ดิ้นหลุดไปเป็นอิสระไม่ได้ ย่อมอยู่ห่างไกลจากสุขที่แท้ มีสุขแบบวูบๆ วาบๆ เป็นสุขแค่ชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็กลับมากระสับกระส่าย ดิ้นรนหาความสุขอื่นๆ ต่อไป
หนีสุขวูบวาบ-ซึมซาบสุขแท้
สุขวูบวาบที่เกิดเพียงวูบแล้วหายวาบอย่าไปเสพ ติด อย่าไปมัวเมากับมัน เพราะไม่อยู่กับเรานาน ทำให้เย็นชั่วครู่ แต่ร้อนรนยาวนาน จงหนีความสุขเช่นนี้ให้ไกล สิ่งที่น่ารักกับอารมณ์ที่น่าใคร่ทั้งหลาย ที่มักจะมีอำนาจเหนือ จิตใจที่เบา ที่อ่อนนั่นเอง เป็นเหตุสำคัญแห่งความทุกข์ความร้อนของจิต เมื่อเห็นความจริงนี้แล้ว ควรจะโอนอ่อนสู่การยินดีที่จะ "อบรมจิต-ฝึกใจ" ของตนให้พ้นจากอำนาจของกิเลส ให้เป็นจิตที่อ่อนต่ออำนาจของความดีงาม แต่ให้หนักให้แข็งต่ออำนาจของความไม่ดีไม่งามทั้งหลา ย ที่มักปลุกเร้าเย้ายวน
เมื่อใดสามารถอบรมจิตได้ ข่มจิตได้ แม้เพียงแค่พอสมควร จูงจิตให้พ้นจากการอ่อนข้อ (หรือโอนอ่อนผ่อนคล้อย) ต่อความชั่วร้าย คือสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย แม้เพียงแค่พอสมควร ก็จะได้รู้รสความสุขที่แตกต่างจาก ความสุขที่เป็นความ ร้อน เช่นที่พากันเสพเสวยอยู่นี้ ที่พากันหลงติดคิดว่า เป็นความสุขที่น่าพอใจแล้วนี้ จนได้พบความสุขที่น่าปลื้มเปรม ปีติ และน่ายินดีคลอเคลีย...ได้อย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น