จากกรณีข้อพิพาท ปราสาทพระวิหาร ที่ประชาชนคนไทยให้ความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่วิตกทุกข์ร้อนกันทั่วไปว่า ไทยจะต้องเสียดินแดนรอบๆปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาอีกหรือ คนไทยเคยน้ำตาตกมาแล้ว เมื่อศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา เมื่อ 15 มิถุนายน 2505 แต่อย่างไรก็ตาม ไทยได้แจ้งไปยังสหประชาชาติทันทีว่า ไทยขอสงวนสิทธิในการต่อสู้เพื่อเอาปราสาทพระวิหารคืนในอนาคต จากเหตุการณ์ที่เกิดกรณีพิพาทนี้ขึ้นมา จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ไทยจะต้องใช้เหตุการณ์นี้ทบทวนและเอาอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านั้น ตามอนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสและพิธีสารโตเกียว พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) อย่างสมบูรณ์
คนไทยมีลักษณะประจำชาติอันสูงส่งสืบทอดมาต่บรรพกาล คือ รักอิสรภาพ (LOVE OF DEPENDENCE ) อหิงสา (NON VIOLENCE) และรู้จักประสานประโยชน์ (POWR OF ASSIMILATION) ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้ใช้อิทธิพลบีบบังคับไทยเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืนไปอีก แต่ด้วยลักษณะประจำชาติอันสูงส่งนี้ เมื่อฝรั่งเศสได้คืนอธิปไตยให้กับกัมพูชา คือ กัมพูชาได้รับเอกราชแล้ว ไทยก็ไม่ได้เรียกร้องเอาอธิปไตยเหนือดินดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับคืนมา ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความสงบสุขระหว่างไทยกับกัมพูชา แต่เมื่อเกิดกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารขึ้น จึงเป็นโอกาสดียิ่งที่ไทยจะได้ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน ให้เป็นไปตามหลักสากลที่ใช้สันเขาปันน้ำและร่องน้ำลึก ของแม่น้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดน เพื่อตัดปัญหาการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดนให้หมดไป
อาณาเขตของไทยในยุค สิทธิแผ่กฤษฎานุภาพ (EXPANSIONISM) ในประวัติศาสตร์สมัยกลาง (MIDDLE HISTORY) นับตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นรัฐในรูปของรัฐเจ้าครองนคร (FEODAL STATE) เรามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเรา ไม่ใช่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน แต่แผ่นดินของเราข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปอีกไกลแสนไกล จรดถึงเขตรัฐญวณติดต่อแดนจีน และทางตอนใต้คือแหลมมะลายูครอบคลุมเมืองแขกทั้งหมด
ประเทศราช (SUZERAINTY STATE) ของไทยมีมาก่อนการตั้งราชวงศ์จักรี หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย แคว้นลานนา แคว้นลานช้าง แคว้นเขมร และแคว้นมลายู โดยอาณาจักรล้านนาหรือลานนานั้น ไทยเราแย่งชิงกับพม่าซึ่งเป็นรัฐเจ้าครองนครแห่งกรุงอังวะ และมอญแห่งกรุงหงสาวดี ส่วนอาณาจักรล้านช้างหรือแคว้นศรีสัชนา คนหุต และแคว้นเขมร นอกนั้นไทยเราแย่งกับรัฐญวนมาตลอด ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ต้องเข้าใจว่าประเทศราชไม่ใช่รัฐเจ้าครองแคว้น หรือรัฐเจ้าครองนคร เพราะมีลักษณะเป็นมณฑลหรือจังหวัดในปัจจุบัน)
ในช่วงเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ในระหว่างที่ชาติสยามกำลังก่อตั้งเพื่อเปลี่ยนเป็นรัฐแห่งชาติ (NATIONAL STATE) นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ยึดเอาแหลมมลายูทางตอนใต้ของเราไปและจักรพรรดินิยมฝรั่งเศสก็เข้ามายึดลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศราชของเราไปอีกโดยลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ.๑๘๖๗) ยึดอาณาเขตกัมพูชาที่ติดต่อกับแหลมญวน คือ เมืองโพธิสัตว์ กำปงชะนัง กำปงจาม โปรเวง กัมโพช และพนมเปญ
พ.ศ. ๒๔๓๐ (ค.ศ.๑๘๘๗) ยึดเอาแคว้นสิบสองจุไทย คือ เมืองแถง เมืองไหโฮ เมืองสวย และยึดเอาแคว้นหัวพันทั้งหก คือ เมืองซ่อน และเมืองสาด
พ.ศ.๒๔๓๖ (ค.ศ.๑๘๙๓) ยึดเอาอาณาเขตฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปทั้งหมด เหลือแต่แคว้นลานช้างฝั่งขวาแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแขวงไชยบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำการเปลี่ยนแปลง รัฐเจ้าครองนคร (FEUDAL STATE) มาเป็นรัฐแห่งชาติ (NATIONAL STATE) เรียกว่า รัฐแห่งชาติสยาม ทรงเริ่มก่อตั้งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยทรงรวบรวมแว่นแคว้น หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองชั้นในของไทย รวมทั้งอาณาเขตลาวที่ถัดจากแคว้นสิบสองจุไทย หัวพันทั้งห้า ทั้งหก และอาณาเขตเขมรใน มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกว่า ราชอาณาจักร ซึ่งถือได้ว่าอาณาจักรเขมรยังเป็นของไทย ก่อนที่ฝรั่งเศสจะยึดเอาไปในปี ๒๔๓๖ หรือ ร.ศ.๑๑๒
พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) ฝรั่งเศสได้ใช้กำลังบังคับให้ไทยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้อีก โดยสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ ยึดเอาดินแดนของเราที่ติดกับอุบลราชธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ โดยเฉพาะสนธิสัญญาของลัทธิล่าอาณานิคมฉบับนี้ ได้ฮุบเอาปราสาทพระวิหารซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาพนมดงรัก และอยู่ในเขตการปกครองของราชอาณาจักรไทยในบ้านภูมิชร็อล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไปด้วย เป็นอันว่า ฝรั่งเศสได้ยึดเอาอาณาจักรเขตลาวไปทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตามถ้ายึดถือตามข้อตกลงเรื่องการปักปันดินแดนในสนธิสัญญาว่า ให้ใช้สันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เป็นเส้นแบ่งเขตโดยเคร่งครัดแล้ว ปราสาทพระวิหารก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของไทย พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗) ฝรั่งเศสได้บังคับให้ไทยทำสนธิสัญญา สยาม- ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๗ โดยยึดเอาดินแดนของเราไป คือ ศรีโสภณ พระตะบองและเสียมราฐ เป็นอันว่าฝรั่งเศสยึดเอามณฑลบูรพา คือ กัมพูชาไปทั้งหมด
รวมอาณาเขตที่ฝรั่งเศสนักล่าอาณานิคม ยึดดินแดนของเราไปประมาณ ๔๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ถ้าเราไม่ถูกยึดดินแดนไป ชาติไทยปัจจุบันจะมีเนื้อที่ประมาณ ๙๙๔,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร
ตามสนธิสัญญา สยาม- ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.๑๙๐๔ และ ๑๙๐๘ นั้น เป็นกติกาสัญญาณรุกรานของลัทธิล่าอาณานิคม โดยเฉพาะประเทศไทยได้เปลี่ยนรัฐเป็น "รัฐแห่งชาติสยาม" โดยมีลาว กัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ที่รัฐแห่งชาติได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ดังนั้น ฝรั่งเศสจึงแย่งชิงลาว และกัมพูชาไปจากไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยฝรั่งเศสใช้กำลังบังคับให้ไทยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสอีก แต่ไทยไม่เคยสละสิทธิ์ในอาณาเขตเหล่านี้ให้ฝรั่งเศส เพียงแต่ไมยยอมรับความสูญเสียอันใหญ่หลวงนั้นด้วยความเจ็บปวดและจำยอม และก็เคยให้ฝรั่งเศสปรับเส้นเขตแดนให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และความยุติธรรม เช่นให้ถือร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงเป็นเขตแดน แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้ถือตามหลักการนี้ และยังรวมเอาเกาะแก่งของไทยไปอีกด้วย
พ.ศ. ๒๔๙๒ ในเดือนสิงหาคม ฝรั่งเศสได้ยื่นข้อเสนอขอทำกติกาข้อตกลงสัญญาไม่รุกรานไทย ทั้งนี้เพราะวิตกว่าจะถูกเยอรมันรุกราน แต่ไทยเสนอให้มีการปรับปรุงเขตแดนทางอินโดจีน ให้ถือเอาร่องน้ำลึกในลำแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนทางอีนโดจีน ให้ถือเอาร่องน้ำลึกในลำแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งฝรั่งเศสยอมตกลงด้วยดี แต่หลังจากฝรั่งเศสทำสงครามแพ้ต่อเยอรมันและได้ลงนามในสัญญาสงบศึกกับเยอรมันนีได้แล้ว กลับไม่ยอมพิจารณาเส้นแบ่งเขตแดนกับไทยอย่างเป็นทางการ และไม่ยอมให้มีการแลกเปลี่ยนเขตแดนกับไทยอย่างเป็นทางการ และไม่ยอมให้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน
วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ไทยจึงเสนอไปอีกว่า ไทยยินดีรับข้อตกลงไม่รุกรานกัน แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงดังนี้
๑. วางแนวเส้นเขตแดนตามลำแม่น้ำโขง ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยถือหลักร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์
๒. ปรับเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือ ให้ถือว่าแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ตั้งแต่ทิศเหนือจดใต้จนถึงเขตแดนกัมพูชา โดยให้ไทยได้รับดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับ หลวงพระบาง และตรงข้ามกับ ปากเซ คืนมา
๓. ขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่า ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาว และกัมพูชาให้แก่ไทย
ฝรั่งเศสปฏิเสธเงื่อนไขเหล่านี้ พร้อมทั้งเสริมกำลังชายแดนเป็นการใหญ่ บินล่วงล้ำดินแดนเข้ามาประมาณ ๓๐ ครั้ง และละเมิดอธิปไตยของไทยหลายครั้ง ยังผลให้เลือดรักชาติของคนไทยปะทุขึ้นมาอย่างกว้างขวาง และเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๓ ฝรั่งเศสได้บินมาทิ้งระเบิดจังหวัดนครพนม ความเหลืออดของประชาชนทั้งชาติก็ขาดสะบั้นลง ถึงขนาดพระสงฆ์องค์เจ้าลาสิขาเพศออกมาร่วมจับปืนด้วย สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงได้ระเบิดขึ้น ไทยสามารถยึดได้ แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวา ห้วยทรายตรงข้ามเชียงแสน แคว้นจำปาศักดิ์ สำโรงจังกัลป์ทางจังหวัดเสียมราฐ พื้นที่ตะวันตกศรีโสภณ ๑๗ กิโลเมตร ทางจังหวัดจันทบุรียึดได้ บ้านกุมเวียง บ้านห้วยเขมร ทิศตะวันตกยึดได้บ่อไพลิน
ฝรั่งเศสได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ส่วนใหญ่ไทยก็สูญเสียนักรบผู้กล้าหาญไปประมาณ ๘๐๐ คน รัฐบาลญี่ปุ่นโดย นายมัตสุโอกะ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ในที่สุด ตกลงกันได้ ตามข้อตกลงโตเกียว วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ฝรั่งเศสตกลงยอมคืนดินแดนที่ไทยเสียไปเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ.๑๙๐๗ คือ แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ และแคว้นเขมร ให้แก่ไทย เป็นไปตามข้อตกลงเปิดประชุมทำสัญญาสันติภาพและปรับปรุงเขตแดน ณ กรุงโตเกียว เมือวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งข้อตกลงนี้ ได้รับรองโดย "อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทย กับ ฝรั่งเศส และพิธีสารโตเกียว" ซึ่งมีสาระสำคัญ ๑๒ ข้อ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และแลกปลี่ยนสัตยาบันกัน ณ กรุงโตเกียว วันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
รัฐบาลนำมาขอสัตยาบันจากรัฐสภา เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ไปรับมอบดินแดนมลฑลบูรพา ซึ่งบิดาของท่าน คือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ปกครองอยู่ในระหว่างที่ฝรั่งเศสแย่งชิงเอาไป พ.ต.ควง ลดธงชาติฝรั่งเศสลง และเอาธงไตรรงค์ขึ้นแทน ผลจากสงครามอินโดจีนครั้งนี้ทำให้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ ระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาวตามที่ต้องการมายาวนาน
เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒ู๘๔ รัฐสภาอนุมัติ "พระราชบัญญัติจัดการปกครอง ๔ จังหวัด" ในดินแดนที่ได้คืนจากฝรั่งเศส คือ จังหวัดนครจำปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง ในแคว้นอาณาเขตลาว และในมลฑลบูรพาเดิม ตั้งเป็น ๒ จังหวัดคือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอำเภอในจังหวัดทั้ง ๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ดังนี้
จังหวัดนครจำปาศักดิ์
๑. อำเภอเมืองนครจำปาศักดิ์ ตามเขตอำเภอนครจำปาศักดิ์เดิม
๒. อำเภอวรรณไวทยากร ตามเขตอำเภอมูลป่าโมกข์เดิม
๓. อำเภอธาราบริวัตร ตามเขตอำเภอธาราบริวัตรเดิม
๔. อำเภอมะโนไพร ตามเขตอำเภอนะโมไพรเดิม
๕. กิ่งอำเภอโพนทอง ตามเขตอำเภอโพนทองเดิม
จังหวัดลานช้าง
๑. อำเภอสะมาบุรี ตามเขตอำเภอสะมาบุรีเดิม
๒. อำเภอดุลเดชจรัส ตามเขตอำเภอดุลเดชจรัสเดิม
๓. อำเภอเชียงอ่อน ตามเขตอำเภอเชียงอ่อนเดิม
๔. อำเภอหาญสงคราม ตามเขตอำเภอหาญสงครามเดิม
๕. อำเภอหงษา ตามเขตอำเภอหงษาเดิม
จังหวัดพระตะบอง
๑. อำเภอพระตะบอง ตามเขตอำเภอพระตะบองเดิม
๒. อำเภอพรหมโยธี ตามเขตอำเภอสังแกเดิม
๓. อำเภออรึกเทวเดช ตามเขตอำเภอระสือเดิม
๔. อำเภอมงคลบุรี ตามเขตอำเภอมงคลบุรีเดิม
๕. อำเภอศรีโสภณ ตามเขตอำเภอศรีโสภณเดิม
๖. อำเภอสินธุสงครามชัย ตามเขตอำเภอตึกโชเดิม
๗. อำเภอไพลิน ตามเขตอำเภอไพลินเดิม
จังหวัดพิบูลสงคราม
๑. อำเภอพีระย่อเดช ตามเขตอำเภอบ้านพวกเดิม
๒. อำเภอกลันทบุรี ตามเขตอำเภอกลันทบุรีเดิม
๓. อำเภอพรหมขันธ์ ตามเขตอำเภอพรหมขันธ์เดิม
๔. อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต ตามเขตอำเภอสำโรงเดิม
๕. อำเภอวารีแสน ตามเขตอำเภอวารีแสนเดิม
๖. อำเภอจอมกระสานติ์ ตามเขตอำเภอจอมกระสานติ์เดิม
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๙ เราได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตปกครองทั้ง ๔ จังหวัดนั้นด้วย โดยมี นายสังคม ริมทอง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดลานช้าง และนายสอน บุตโรบล ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดนครจำปาศักดิ์ นายชวลิต อภัยวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง นายประยูร อภัยวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม และในการเลือกตั้งเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๙ นายสวาสดิ์ อภัยวงศ์ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง เขต ๑ พระพิเศษพาณิชย์ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง เขต ๒ และนายญาติไหวดี ได้เป็น ส.ส. จังหวัดพิบูลสงคราม
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารผู้พลชีพใน "สงครามอินโดจีน" ที่สามารถชิงเอามลฑลบูรพากลับคืนมาได้ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้สร้าง "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" เป็นรูป "ดาบปลายปืน" ตั้งตระหง่านกลางสี่แยกขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ ในการเอาดินแดนของไทยฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับมาเป็นของไทย โดยเฉพาะที่สำคัญ เป็นการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทย กับลาว และกัมพูชา โดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ และยังมีผลเป็นการตัดปัญหาการกระทบกระทั่งชายแดนและปัญหายุ่งยากอื่นๆอีกด้วย
ต่อมาภายหลังสิ้นสุด "สงครามมหาเอเชียบูรพา" ญี่ปุ่นแพ้สงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร และโดยที่ไทยทำกติกาสัญญาพันธมิตรร่วมรุกร่วมรบกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ด้วย ทำให้ฝรั่งเศสถือโอกาสประกาศยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๔๑ ยึดเอาดินแดน ๔ จังหวัดของเรากลับคืนไปอีก โดยบังคับให้ฝ่ายไทยทำข้อตกลงปารีส ปี ค.ศ.๑๙๔๖ คือ "พิธีสารว่าด้วยการถอนตัวออกไป และการโอนเอาอาณาเขตต์" ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙ โดยฝรั่งเศสฉวยโอกาสบังคับให้ไทยคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้แก่ฝรั่งเศสโดยไม่ชอบด้วยหลักการของฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำหนดไว้ว่า "อาณาเขตของประเทศใดที่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างสงคราม ให้คืนกลับสู่สภาพเดิมเสมือนหนึ่งไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงฎ ดังนั้น อาณาเขตทั้ง ๔ จังหงัดของไทยได้คืนจากฝรั่งเศสก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงไม่อยู่ภายใต้หลักการนี้แต่อย่างใด และเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้นำข้อตกลงนี้ แจ้งต่อสภาทราบ โดยมิได้ขอสัตยาบรรณจากรัฐสภา ซึ่งเป็นการเปลียนแปลงอาณาเขตอย่างผิดรัฐธรรมนูญ และทำให้ข้อตกลงปารีสดังกล่าวเป็นโฆษะ และอนุสัญญาโตเกียวปี ค.ศ. ๑๙๔๑ จึงยังมีผลบังคับตลอดมา
ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักล่าอาณานิคมได้ปลดปล่อยประเทษอาณานิคมเป็นอิสระ และประเทศฝรั่งเศสก็ได้โอนอธิปไตยให้แก่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยสมบูรณ์ตาม "ข้อตกลงปารีสปี ค.ศ. ๑๙๔๕" ทำให้ทหารลาว และกัมพูชา ได้เข้ามายึดดินแดนในอาณาเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกด้วย ซึ่งไทยมีความคิดสละสิทธิ์ในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาแต่เดิมแล้ว ส่วนดินแดนฝั่งขวานั้น ไทยเคยยืนยันไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ว่า "ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนแปลงจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะต้องคืนอาณาจักรลาวให้แก่ไทยก็ตาม และทั้งๆที่ไทยสงวนสิทธิ์ไว้แต่เฉพาะลาวฝั่งขวาก็ตาม โดยสิทธิ์จึงยังคงเป็นของไทย" แต่ไทยเป็นชาติรักสงบ จึงไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการรุกล้ำของลาวและกัมพูชาในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะไทยได้เอา ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของไทยไว้ด้วยก่อนแล้ว
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเทศกัมพูชา โดยเจ้านโรดมสีหนุ ยื่นฟ้องต่อศาลโลกเรียกร้องอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร โดยอ้างหลักฐานที่เป็นแผนที่เก่า ซึ่งฝรั่งเศสทำไว้หยาบๆ ในสัดส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ในยุคล่าอาณานิคมเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว และไทยตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้นให้ยอมจำยอม และยังถูกฝรั่งเศสใช้กำลัง บังคับเอาเปรียบทุกวิถีทาง
แผนที่ซึ่งกัมพูชาใช้อ้างเป็นหลักฐาน ฝรั่งเศสทำขึ้นตามสนธิสัญญาการปักปันดินแดน ระหว่างกรุงสยามกับกรุงปารีสในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และปี ค.ศ. ๑๙๐๗ โดยรัฐบาลไทยมอบหมายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น เป็นทนายความต่อสู้คดีในศาลโลก และมีการเรี่ยไรเงินจากประชาชนคนละ ๑ บาท สู้คดี
เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ศาลโลกได้ตัดสินให้ อธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ ๙ ต่อ ๓ ด้วยเหตุผลตื้นๆ ๒ ประการ คือ
๑. เมื่อฝ่ายไทยเห็นว่า แผนที่ที่ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสนั้นไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา (ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ ให้ถือเอาสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ) ที่ตกลงกันไว้ เหตุใดไทยจึงไม่ทักท้วง
๒. เมื่อฝ่ายไทยเห็นฝรั่งเศสชักธงฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร เหตุใดไทยจึงไม่ทักท้วงห้ามปราม การที่ไทยไม่ทักท้วงห้ามปรามจึงถือว่าไทยสละสิทธิ์
คำตัดสินของศาลโลกนี้ ปรากฏว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกว่า เป็นกรณีตัดสินที่เป็นเรื่อง PECULIAR ผิดทำนองคลองธรรมไม่สมเหตุผลอย่างยิ่ง
อันที่จริงแล้ว ต้องถือเป็นความไร้เดียงสาทางการเมืองของนักการเมืองไทยด้วย ที่ทำให้ต้องพ่ายแพ้คดีในเรื่องนี้ กล่าวคือ
๑. ประเทศกัมพูชาไม่มีสิทธิ์อ้างแผนที่ และข้อตกลงในสนธิสัญญา ปี ค.ส. ๑๙๐๔ ถึงปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ที่ไทยทำไว้กับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทเขตแดน คู่สัญญาเป็นเรื่องของไทยกับฝรั่งเศสเท่านั้น ไม่ใช่ไทยกับกัมพูชา
๒. ในกรณีที่กัมพูชาอ้างว่า ตนสืบสิทธิ์อธิปไตยจากฝรั่งเศสแล้วตามข้อตกลงปารีส ปี ค.ศ. ๑๙๕๔ หรือเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ จึงมีสิทธิ์ในการอ้างแผนที่ (ฝรั่งเศสเขียนขึ้นเองฝ่ายเดียว) ตลอดจนมีสิทธิ์ในข้อตกลงทุกฉบับที่ฝรั่งเศสทำไว้กับไทยด้วย เหตุผลที่ไทยจะนำมาต่อสู้ในประเด็นนี้ คือ
๒.๑ ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ไทยได้เปลี่ยนรัฐเจ้าครองแคว้นมาเป็น รัฐแห่งชาติสยาม โดยได้รวบรวมหัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองขั้นในของไทย รวมทั้งอาณาเขตลาวที่ถัดจากแคว้นสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก และอาณาเขตเขมรใน ซึ่งเป็นดินแดนในส่วนที่ยังไม่ได้ถูกฝรั่งเศสยึดเอาไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีลาวละกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยแล้ว ซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ที่รัฐแห่งชาติ ย่อมได้รับความคุ้มครองจาก กฎหมายระหว่างประเทศ อย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น เมื่อฝรั่งเศสใช้กำลังแย่งลาวละกัมพูชาไปจากไทย ใน รศ.๑๑๒ หรือ ตั้งแต่ ปีค.ศ. ๑๘๙๓ จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศทั้งสิ้น ยังผลให้สนธิสัญญาต่างๆระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส ตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ ถึง ปี ค.ศ. ๑๙๐๘ นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นโมฆะตามไปด้วย กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิ์เอาสนธิสัญญาเหล่านี้มาอ้างได้ โดยเฉพาะเป็นเรื่องระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ไม่ใช่ไทยกับกัมพูชา
๒.๒ ไทยได้ยืนยันเจตนารมณ์มาโดยตลอด ในดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสยึดเอาไป ดังปรากฏตามข้อตกลงไม่รุกรานกันตามที่ฝรั่งเศสเสนอมาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งไทยเสนอไปเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๓ ความว่า "ข้อ ๓ ให้ฝรั่งเศสรับรองว่า ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย และการที่ไทยใช้กำลังขับไล่นักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสจากฝั่งขวาแม่น้ำโขงในกรณี "สงครามอินโดจีน" นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของไทยอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ไทยไม่ยอมเสียดินแดนฝั่งขาวแม่น้ำโขง
๒.๓ ตามหลักของปัยหาชาติในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ถ้าลาวและกัมพูชาไม่ถูกฝรั่งเศสฮุบเอาไป ฐานะของลาวก็จะเท่ากับเชียงใหม่ในชาติสยาม คือเท่ากับจังหวัดไม่ใช่รัฐ เพราะลานนากับลานช้างต่างก็เป็นอาณาจักรของชนเชื้อชาติไทยอันเดียวกัน ส่วนกัมพูชาก็มีฐานะเป็นชนส่วนน้อยแห่งชาติ (NATIONAL MINORITY) ในชาติสยาม เพราะเป็นอาณาจักรของชนเชื้อชาติเขมร ดังนั้น ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสจะต้องคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้แก่ไทยเท่านั้น เพราะระหว่างที่ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสนั้น ลาวและกัมพูชาเป็นรัฐแห่งชาติโดยตลอด คือ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐแห่งชาติสยามตั้งแต่ก่อนฝรั่งเศสมาฮุบเอาไป การกลับไปสู่รัฐแห่งชาติเดิม ก็คือ กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐแห่งชาติสยามตามเดิม ไม่อาจสืบสิทธิ์ฝรั่งเศสอย่างเวียดนามหรือพม่า มาเลเซีย ซึ่งสืบสิทธิ์อังกฤษได้ มิฉะนั้น มอญก็สามารถสืบสิทธิ์จากอังกฤษได้ เช่นเดียวกัน แต่กลับปรากฏว่า เมื่อพม่าซึ่งเปลี่ยนอธิปไตยจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ อังกฤษได้คืนมอญและอาณาเขตอื่นๆ ที่เคยเป็นประเทศราชของพม่าให้แก่พม่าด้วย ดังนั้น การที่กัมพูชาอ้างการสืบสิทธิ์ฝรั่งเศสได้ จึงผิดหลักของปัญหาชาติ
๒.๔ หลังจากอินโดจีนได้เปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป แต่ฝรั่งเศสหาได้คืนลาวและกัมพูชาให้แก่ไทยตามที่ไทยแจ้งไว้ไม่ แต่กลับโอนอธิปไตยให้แก่ลาวและกัมพูชาโดยมิชอบด้วยหลักการ ซึ่งโดยหลักการแล้วทำให้ไทยยังคงมีกรรมสิทธิ์ในลาวและกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตาม ไทยมิได้ติดใจการสืบสิทธิ์อธิปไตยจากฝรั่งเศสของลาวและกัมพูชาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทั้งมีความคิดสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาแต่เดิมอยู่แล้ว แต่ไทยไม่เคยสละสิทธิ์ในอาณาเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพียงเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับอีนโดจีน รวมทั้งการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย เพราะการเอา ๔ จังหวัดกลับคืนมา ทำให้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดนะระหว่างไทยกับอินโดจีนตั้งแต่ลาวมาถึงกัมพูชา ซึ่งนอกจากจะมีผลเป็นการตัดปัญหาการกระทบกระทั่งชายแดนแล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมและปัญหาอื่นๆ ได้มากอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ไทยจึงให้การรับรองอธิปไตยของลาวและกัมพูชาในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เท่านั้น แต่กลับปรากฏว่า ลาวและกัมพูชาไม่มองไทยที่ให้การสนับสนุนแลหวังดั ที่อนุญาตให้รับช่วงอธิปไตยจากฝรั่งเศสอย่างไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทสเท่านั้น หากยังรับช่วงสิทธิ์ล่าอาณานิคม และลัทธิจักรพรรดิ์นิยมมาจากฝรั่งเศสอีกด้วย โดยเข้ามายุดเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงของไทย และยังมากำหนดเขตแดนเอาตามใจชอบอีกด้วย ทั้งๆที่ควรเป็นสิทธิ์ของไทยเพียงฝายเดียวเท่านั้น ที่จะเป็นผู้กำหนดเขตแดนให้
๓. การต่อสู้คดีในศาลโลก เป็นความผิดพลาดของนักการเมืองไทย ที่ไปต่อสู้กันในเรื่องของสนธิสัญญาสยาม- ฝรั่งเศส ปีค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ. ๑๙๐๗ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการต่อสู้ภายใต้กติกาสัญญารุกรานของลัทธิล่าอาณานิคม ไม่มีพยานรับรองความมถูกต้อง ไม่มีการให้สัตยาบันจากรัฐสภา โดยเฉพาะเป็นสนธิสัญญาที่ขัดต่อกฏหมายระหว่างประเทศอีกด้วย แต่เรากลับไปต่อสู้คดีภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ โดยไม่ต่อสู้ภายใต้อนุสัญญาโตเกียว ปี ค.ศ. ๑๙๔๑ ซึ่งเป็นกติกาสัญญาต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคม โดยมีคนกลางรับรองความถูกต้องคือ รัฐบาลญี่ปุ่น และมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบัน แม้ว่าต่อมาจะมีสนธิสัญญาปี ค.ศ. ๑๙๔๖ ซึ่งเป็นสัญญารุกรานของลัทธิล่าอาณานิคมขึ้นมาโดยยกเลิกอนุสัญญาโตเกียว ปี ค.ศ.๑๙๔๑ โดยฝรั่งเศสได้โกง ๔ จังหวัดกลับไปอีก ก็มิได้มีการให้สัตยาบันจากรัฐสภาของไทย ซึ่มีผลให้อนุสัญญาโตเกียว ปี ค.ศ.๑๙๔๑ ยังมีผลอยูตลอดไป แต่เรากลับไม่เอาไปต่อสู้คดีในศาลโลก
๔. หลังจากที่ไทยมีความเห้นชอบให้ลาว และกัมพูชา มีสิทธิ์แยกตัวไปตั้งเป็นรัฐใหม่ได้ด้วยการรับรองของไทยนั้น จึงยังไม่เคยมีการกำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชาอย่างเป็นทางการ แต่ถ้าถือเอาอาณาเขตของ ๔ จังหวัด คือ นครจำปาศักดิ์ ลานช้าง พระตะบอง และพิบูลสงคราม และเขตอำเภอในจังหวัดเหล่านั้น คือ เขตแดนไทยที่ถูกต้อง
๕. ภายหลังไทยแพ้คดีในศาลโลกแล้ว รัฐบาลขณะนั้นโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้แจ้งไปยังสหประชาชาติว่า ไทยขอสงวนสิทธิ์ในการต่อสู้เพื่อเอาปราสาทพระวิหารคืนในอนาคต จึงเป็นการแสดงเจตนายืนยันอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ไทยเราไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก คือ ไม่ยอมเสีย ๔ จังหวัดที่แลกมาด้วยเลือดของคนไทยที่รักชาติยิ่งชีวิต และหวังกันว่าสักวันหนึ่ง เมื่อบ้านเมืองของเราเป็นประชาธิปไตยแล้ว มีอธิปไตยเป็นของชาติและประชาชาโดยสมบูรณ์แล้ว เรื่องนี้จะถุกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อย่างแน่นอน
๖. ตามที่บรรพบุรษไทย ยินยอมสละชีวิตต่อสู้กับนักล่าอาณานิคมฝรังเศส ชิงเอาดินแดน 4 จังหวัดของแม่น้ำโขงฝั่งขวากลับคืนมาได้ และได้สร้างอนุสาวรีย์ "ชัยสมรภูมิ" ไว้เป็นอนุสรณ์ ถ้าคนไทยรุ่นหลังไม่ถือเอา ๔ จังหวัดนั้นเป็นเขตแดนของไทยแล้ว เราจะดูอนุสาวรีย์ที่ยืนตระหง่านฟ้องร้องเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างไร ?
จากเหตุผลข้อเท็จจริง และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทหารประชาธิปไตยขอแถลงการณ์ให้ทราบว่า เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาที่ถูกต้อง คือ อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส และพิธีสารระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยหลักประกันความเข้าใจกันทางการเมือง ซึ่งลงนามกัน ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ มิใช่หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ที่ทำกันเมือวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๗) ที่ทางกัมพูชาเอาไปอ้างต่อศาลโลก ฉะนั้น เส้นแบ่งเขตแดนจึงมิใช่สันปันน้ำภูเขาพนมดงรัก หรือพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่หลายฝ่ายถกเถียงกันแต่ประการใด
ในสถานการณ์ปัญหาเฉพาะหน้า ทหารประชาธิปไตยจึงขอให้รัฐบาลยื่นหนังสือปฏิเสธการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชา และไม่อนุญาติให้คณะกรรมการมรดกโลก เข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ในเขตแดนของประเทศไทย เพราะการกระทำดังกล่าว ถือเป็นพฤติการณ์รุกรานของนักล่าอาณานิคมที่สืบทอดมาจากจักรพรรดิ์นิยมฝรั่งเศสด้วยการร่วมมือกับกัมพูชา ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับกรณีปัญหาปราสาทพระวิหารนั้น ทหารประชาธิปไตยขอยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหานี้ได้ บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตยและสันติวิธีด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญาโตเกียว พ.ศ. ๒๔๘๔ ให้ปรากฏเป็นจริง เพราะเป็นมาตรการสำคัญที่สามารถขจัดพฤติกรรมรุกรานของกัมพูชาต่อประเทศไทยได้ แต่การที่ประเทศไทยจะปฎิบัติตามหลักการ และนโยบายประชาธิปไตยนี้ได้ มีเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศไทย จากระบอบเผด็จการ ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน ประเทศไทยก็จะสามารถแก้ปัญหาปราสาทพระวิหารได้ โดยเฉพาะที่สำคัญยังสามารถขจัดเงื่อนไขของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตามที่ระบุไว้ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๖ / ๒๕๒๓ ตอนหนึ่งว่า "การสร้างสถานการณ์สงครามประชาชาติ จะอาศัยแนวร่วมซึ่งแทรกอยู่ทุกระดับเพื่อสร้างประชามติ และนำชาติไปสู่การสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน อันจะสนับสนุนให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสามารถปฎิวัติได้ สำเร็จ" ได้อีกด้วย
ทหารประชาธิปไตย
พล.ท.ประสิทธิ์ นวารัตน์
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
พล.ท.ประสิทธิ์ นวารัตน์
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น