++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เราควรโหลดหนังดูฟรีต่อไปหรือไม่?

เชื่อว่านิสิต-นักศึกษาคอไอ ทีหลายคนคงรู้จัก โปรแกรมบิททอเรนท์ ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์ในการโอนถ่ายข้อมูล แต่หากผู้ใดนั้นนำมาใช้เพื่อดาวน์โหลดหนังภาพยนตร์ก็นับว่าเป็นการกระทำที่ ผิดกฎหมาย พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537 ซึ่งยุคนี้สมัยนี้เมื่อความสะดวกสบายและเทคโนโลยีอยู่ในกำมือก็เป็นอันที่ ต้องยอมรับกันว่าการละเมิดกฏหมายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ยิ่งเมื่อโปรแกรมดังกล่าวมีความรวดเร็ว โอนถ่ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้ การดาวน์โหลดหนังก็ยิ่งเป็นที่แพร่หลายในหมู่นักท่องอินเตอร์เนตอย่างหยุด ไม่อยู่

นายอารีย์ จิวรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า โปรแกรมบิททอเรนท์ถือเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ มีความสามารถในการแชร์ไฟล์ได้รวดเร็ว และเป็นโปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี (freeware) จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักดาวน์โหลด ทั้งนี้จุดประสงค์ของโปรแกรมคือการใช้ไฟล์ร่วมกัน หรือแบ่งปันไฟล์ให้แก่ผู้ใช้อื่น ๆ ที่ไม่มีในโลกอินเตอร์เนต ทำให้เกิดเว็บไซต์ผู้ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์แบบบิททอเรนท์จำนวนมาก

ผอ.สำนักกำกับการฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้งานในประเทศไทย เว็บไซต์ที่ให้บริการส่วนใหญ่ มักให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ประเภทต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ออกใหม่ หนังชนโรง หรือหนังเก่า ซึ่งการเปิดให้ดาวน์โหลดถือว่าเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 28 ข้อการเผยแพร่สู่สาธารณะชนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ส่วนมาตรการดำเนินการเราต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเว็บไซต์นั้นมีความผิดจริง หรือไม่ หากไม่ขัดต่อกฎพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ก็สามารถดำเนินการปิดเว็บไซต์ได้ทันทีโดยอาศัยอำนาจศาล

นฤนาท ทองนุช นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปี 4 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้ใช้งานโปรแกรมดังกล่าว กล่าวว่า เห็นด้วยหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาควบคุมดูแล แต่ย่อมต้องเกิดผลกระทบต่อผู้ที่ใช้งานเป็นประจำแน่นอน แต่คิดว่าคงยากเพราะทางเว็บบิทส่วนใหญ่มักจะมีการพรางหน้าเว็บเอาไว้ ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเว็บไซต์อะไร หากไม่ใช่ผู้ที่ใช้บริการเป็นประจำ

อนึ่ง แม้บทลงโทษเกี่ยวกับพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 มาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 28 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทก็ตาม ขณะนี้ก็ยังนับว่าเป็นปัญหาที่ควบคุมได้ยาก

อธิป ออละอ่อน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับการดาวน์โหลดไฟล์บิททอเรนท์ ผู้ใช้งานอินเตอร์เนตน่าจะเคยได้ยินกันทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะเคยใช้งานหรือไม่ ซึ่งในการนี้หากจะดำเนินการ ปิดเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ คิดว่าคงไม่น่าจะทำได้จริง เพราะยังมีคนอีกจำนวนมากใช้บริการดาวน์โหลดอยู่เป็นประจำ ซึ่งมีหลายเว็บไซต์ที่ยังใช้งานอยู่ ส่วนสาเหตุมองว่าการบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจังเท่าที่ควร

สมนึก ปิตะกนกพัฒน์ นักวิชาการด้านไอทีให้มุมมองการแก้ไขปิดท้ายว่าต้องแก้ปัญหาร่วมกันทั้งผู้ ผลิตและผู้บริโภครวมทั้งผู้ที่อาจจะเกี่ยวข้องในการเปิดโอกาสให้เกิดการ ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นต้องให้ความเข้าใจในผู้บริโภคว่า ถ้าหากเรามีความสามารถและอุปกรณ์ในมือในการได้มาซึ่ง หนัง ภาพยนตร์ เพลง หรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขณะที่ราคาถูกกว่าด้วย ในมุมผู้บริโภคก็คงจะไม่พลาดที่จะดาวน์โหลดสิ่งนั้นๆมา

“ การโหลดจะผิดกฎหมายไม่ผิดกฎหมายขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะโหลดนั้นได้รับการ อนุญาตหรือเปล่า แต่หากมีลิขสิทธิ์ก็ผิดกฎหมายแน่นอนอยู่แล้ว ซึ่งหากเราจะมาหาทางออกก็จำเป็นจะต้องมาทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย"

ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่างเช่นการโหลดหนังที่ทุกคนรู้ดีว่าของจริงกับของปลอมจะมีลักษณะ คุณภาพที่แตกต่างกันฉะนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นถ้าเราเข้า ใจในผู้บริโภคที่อยากชมผลงานแต่ปัจจัยหนึ่งที่ต้องโหลดนั่นก็เพราะว่าสู้ ราคาไม่ไหว กรณีนี้ถ้าหากลดราคาลงมาให้อยู่ในเรทที่ซื้อหาได้ ไม่ค้ากำไรเกินควร ก็จะทำให้คนอยากซื้อเก็บและเกิดความคุ้มค่าต่อการตัดสินใจซื้องานที่มี คุณภาพ

"คง ต้องลดราคาให้สมเหตุสมผล ถ้าหากลดแล้วด้านผู้บริโภคก็ต้องมีจริยธรรมไม่ Copy ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วย ส่วนหน่วยการจัดการแก้ไขปิดเว็บไซต์เพื่อให้ดาวน์โหลดก็คงจะต้องทำงานต่อไป เพื่อปิดโอกาสไม่ให้คนอื่นๆมาเอารัดเอาเปรียบเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะการแชร์ไฟล์ไม่ใช่การสื่อสารวงแคบ เมื่อเข้าสู่โลกไซเบอร์ทุกคนก็อาจละเมิดลิขสิทธิ์ได้ทั้งนั้นหากเราตรวจจับ อย่างรู้เท่าทันขณะที่ทุกฝ่ายกำลังช่วยเหลือกันก็จะทำให้ลดปัญหานี้ได้” ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์สรุป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น