++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

“จุ๋ม-นรีกระจ่าง” เสี้ยวชีวิตที่คิดอยากตาย

โดย...กองทรัพย์ ชาตินาเสียว

“แขวน คอ ตัดหัว กรีดเส้นเลือดที่ข้อมือ หรือคอ กระโดดน้ำตาย รมควันด้วยก๊าซพิษ การช็อตด้วยไฟฟ้า ระเบิด กระโดดจากพาหนะขณะกำลังเคลื่อนที่ กระโดดสะพาน หรือตึกสูง การวางยา กินยาตาย การเผาตัวเอง เซ็บปุกุ (การกว้านของซามูไร) ยิงตัวตาย อดอาหารประท้วง การรบแบบพลีชีพ และการฆ่าตัวตายทางอ้อม เช่น อาสาไปรบโดยหวังจะถูกยิงตาย”

16 วิธีการฆ่าตัวตายที่กรมสุขภาพจิตรวบรวมไว้ ล้วนสยดสยองน่าหวาดเสียว ซึ่งจากสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่า ทุกๆ 40 วินาที จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน

เหนือสิ่งอื่นใด การฆ่าตัวตายไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ และเราสามารถป้องกันหยุดยั้งได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าในทุกวันที่ 10 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) เพื่อย้ำเตือนว่า การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องของสุขภาพจิตระดับสากล

“จุ๋ม-นรีกระจ่าง คันธมาส” ศิลปิน สาวผู้เคยคิดฆ่าตัวตาย เล่าประสบการณ์ว่า เมื่ออายุ 25 ได้เจอวิกฤตชีวิตอย่างหนัก จนไม่อยากมีชีวิตอยู่ เนื่องจากการเป็นคนเก็บกดอารมณ์จากคุณพ่อที่ผิดพลาดทางธุรกิจ แม่ที่ต้องเลี้ยงลูก 3 คน ประกอบกับต้องพบเห็นน้องอีกสองคนที่คนหนึ่งพิการทางกาย ส่วนอีกคนหนึ่งที่เป็นโรคจิตเวช ความรู้สึกขณะนั้น คิดว่า ตนเองทุกข์เหลือเกิน หมดหวัง และไม่เห็นทางออกสำหรับวันข้างหน้า จึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย

“ในเวลานั้นเราไม่อยากตื่นมา เพื่อมาเจอกับเหตุการณ์เศร้าๆ ที่เราเจอทุกวัน เลยกินยาตาย แต่ไม่ตาย เพราะคิดได้ขณะที่เริ่มกินยาเข้าไปมากแล้ว เราคิดว่า ถ้าเราตายไปใครจะดูแลพ่อแม่ ใครจะดูแลน้อง สติจึงกลับมา และคิดว่า ความสามารถทางการร้องเพลงของเราน่าจะทำอะไรได้ จึงเริ่มส่งเทปเพลงไปในที่ต่างๆ ให้พิจารณา”

จากนั้น นักร้องสาวก็เริ่มหาทางออกด้วยการอ่านหนังสือ และเธอก็ค้นพบว่าแท้จริงแล้ว เรามีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากมาย และมีหนังสือที่ทรงคุณค่าอีกหลายเล่มที่เราสมควรได้อ่านในชีวิตนี้

“การ ฝึกให้ตัวเองให้รักการอ่านหนังสือตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่หลากหลายทั้งด้านบวกและลบ จะช่วยให้ค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และพัฒนาทักษะชีวิตในด้านต่างๆ หรือแม้แต่การฝึกสมาธิก็จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้จิตใจ เป็นเกราะป้องกันการคิดฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งคนใกล้ตัวคือคนที่ต้องให้กำลังใจผู้ที่มีอาการซึมเศร้าให้มาก เพราะเมื่อใดก็ตามที่เขาเริ่มคิดว่าไม่เหลือใครในโลก เขาก็คิดจะจากโลกไปเช่นกัน”

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลเสริมว่า ปัจจุบันสาเหตุการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อนรุนแรงมากขึ้น ทั้งเรื่องความผิดหวังจากการเรียน ฆ่าตัวตายเลียนแบบดารา ความบีบคั้นทางจิตใจ และปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งคนวัยทำงานบ้านเราอายุระหว่าง 20-40 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายมากที่สุด โดยอาการก่อนจะทำอัตวิบากกรรม 2 สัปดาห์จะมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือมีความรู้สึกผิดอย่างรุนแรง

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกต่อว่า สำหรับประเทศไทยวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ส่งผลกระทบให้ 2 ปีต่อมาคนไทยฆ่าตัวตายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ ระดับ 8.6 คนต่อประชากร 1 แสนคน และลดลงเหลือระดับ 6 เรื่อยมาจนกระทั่งปี 2553 ที่มีความรุนแรงทางการเมือง ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจโลกบีบบังคับสาเหตุการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นในช่วง ครึ่งปีแรกจึงไม่อาจระบุได้ว่ามาจากเหตุการณ์การเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม

“ผู้ ที่คิดฆ่าตัวตายจะมีความรู้สึกอยู่ 3 อย่าง คือ รู้สึกหดหู่ใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า รู้สึกว่าไม่มีใครที่คอยช่วยเหลือ และโลกนี้ไม่น่าอยู่ ไม่มีความหวังในการใช้ชีวิต ดังนั้น หากมีคนช่วยให้คนที่อยู่ในภาวะนี้เปลี่ยนความคิดได้ก็จะทำให้ผู้คิดฆ่าตัว ตายมีความหวังในการใช้ชีวิตต่อไป” นพ.วชิระ ทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น