โดย...สุกัญญา แสงงาม
ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่มาใช้บริการห้องสมุดลดน้อยลง อาจเป็นเพราะมีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งต่ออินเทอร์เน็ตสมารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และนับวันเทคโนโลยีสมัยจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น จนหลายคนมองข้ามไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุด
ในการประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 เนื่องในโอกาสวันครูโลก และเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ภายใต้หัวข้อ การศึกษาเพื่อโลกอาชีพ : Education for the World of Work ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2553 มีเทคโนโลยีสุดไฮเทคที่จะช่วยให้ “ห้องสมุด” ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
นายสุรศักดิ์ ผลาชีวะ อาจารย์ประจำโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โชว์ผลงานสุดเจ๋ง “เครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ” โดย อธิบายถึงแนวคิดว่า จากการสอบถามผู้มาใช้ห้องสมุด ผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่ติดตามความเคลื่อนไหวด้านข่าวสารเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้น หนังสือพิมพ์จะถูกสัมผัสอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งเกิดการชำรุด ช้ำ จึงร่วมกันกับเพื่อนอาจารย์ พยายามคิดค้นวิธีให้หนังสือพิมพ์ชำรุดน้อยที่สุด หรือไม่ช้ำ ไม่ฉีกขาดเลย ที่สำคัญ เกิดความน่าสนใจและน่าอ่าน
อาจารย์สุรศักดิ์ บอกอีกว่า เครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ ช่วยสร้างแรงดึงดูดใจให้กับห้องสมุดน่าสนใจเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีปัญหาด้านสายตา (ผู้สูงอายุ) ผู้พิการทางแขน ขา (นั่งวิลแชร์) มาใช้บริการได้อย่างสะดวก
“ช่วง แรกผมกับเพื่อนอาจารย์ ระดมสมองคิดสิ่งประดิษฐ์ เครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ ขึ้น แล้วนำไปไว้ในห้องสมุด เพื่อให้ประชาชนมาทดลองใช้ พร้อมซักถามว่ายังมีจุดไหนที่ต้องการให้ปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาจนกระทั่งตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์ของเราจะสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก เหมาะกับห้องสมุด ให้ชาวบ้านมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น ขณะเดียวกันบรรณารักษ์สามารถดูแลซ่อมบำรุงได้เองอีกด้วย”
อาจารย์สุรศักดิ์ บอกอีกว่า สำหรับเครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ สามารถใช้งานได้ทั้งในคนปกติและคนพิการ โดยกดปุ่มด้านขวามือ จะเป็นคำสั่งให้เครื่องดูดลมเปิดหนังสือทีละหน้า นอกจากนี้จะติดเลนส์ขยาย สามารถเลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวาไปยังบริเวณที่ต้องการอ่าน เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาอ่านหนังสือพิมพ์โดยไม่ต้องเพ่งตัว หนังสือให้ปวดตา
อย่างไรก็ดี เครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัตินี้ ยังมีข้อจำกัด โดยอาจารย์สุรศักดิ์ บอกว่า จะ ใช้ได้เฉพาะหนังสือพิมพ์เท่านั้น เครื่องดูดลมที่ติดตั้งไว้นั้น จะเปิดหนังสือพิมพ์ได้ที่ละหน้า ซึ่งขณะนี้กำลังพัฒนาบางจุดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้อ่าน เช่น อ่านหนังสือหน้า 1 แล้วต้องการอ่านข่าวต่อหน้า 10 จะให้เครื่องพลิกไปยังหน้า 10 ทันที ส่วนนิตยสาร พ็อกเกตบุ๊ก หรือหนังสือที่มีความหนาหลายสิบหน้า ร้อยหน้า ขณะนี้สามารถเปิดได้เพียงบางส่วนเท่านั้น มีข้อจำกัดหลาย ประการ คุณภาพของเนื้อกระดาษ ขนาด และความหนาของหนังสือแต่ละเล่มแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ตนและเพื่อนอาจารย์จะพัฒนาใช้กับหนังสือเหล่านี้ด้วย
ขณะที่ สิทธิโชคชัย จานประดิษฐ์ วัย 62 ปี ที่ชื่นชอบอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมาก บอกว่า ชอบเจ้าเครื่องเปิดหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ เพราะสามารถปรับเลื่อนให้อยู่ระดับสายตา ทำให้อ่านได้สะดวกขึ้น เวลาจะผลิก ง่ายแค่ปลายนิ้วกดปุ่มเลื่อน ที่สำคัญมือไม่เปื้อนหมึก
“ส่วนตัวเป็นคนชอบติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มากกว่าอ่านจากอิน เทอร์เน็ต เพราะซื้อจากแผงแล้วนำติดตัวไปอ่านเวลาไหนก็ได้ แต่มักจะเจอปัญหามือเปอะหมึก พออ่านผ่านครื่องอัตโนมัติ สะดวกแค่กดปุ่มจะอ่านหน้าไหน ตรงส่วนไหนของหนังสือก็กดปุ่มเลื่อนเท่านั้น หนังสือพิมพ์จะยับยู่ยี่มากจนไม่อยากหยิบมาอ่าน เชื่อว่าถ้าพัฒนาให้ดีขึ้นและนำมาจำหน่ายในราคาไม่สูงจนเกินไป เชื่อว่ามีคนซื้อ โดยเฉพาะออฟฟิศ” สิทธิโชคชัย ทิ้งท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น