++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ชาใบเม่าแต่งรสต้านมะเร็ง เคล็ด(ไม่ลับ) มทร.อีสานสู่ชุมชน

“หมาก เม่าผลไม้ยืนต้นสูงใหญ่ของไทย ไม่ใช่เพียงแค่ผลเม่าเท่านั้นที่กินได้และมีประโยชน์ ใบเม่าเองสามารถนำมาบริโภคหรือผสมอาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ จากการวิเคราะห์คุณประโยชน์ของใบ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะแก่การแปรรูปเป็นชาเพื่อสร้างมูลค่าสินค้า โดยคิดใช้ทุกส่วนของเม่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มผลิตผล ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน”

และนี่ก็คือความมุ่งหวังของ ดร.พรประภา ชุนถนอม อาจารย์ประจำโครงการการพัฒนาชาใบเม่าแต่งรสเพื่อเพิ่มผลิตผลของชุมชน คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ด้วยความต้องการให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากเม่าอย่างคุ้มค่า จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาชาใบเม่าแต่งรสเพื่อเพิ่มผลิตผลของชุมชน ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความร่วมมือของมหาวิทยาลัย

จากการศึกษาทดลองตลอดระยะเวลา 1 ปี พบประโยชน์ของชาใบเม่ามีสารอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านมะเร็ง ฯลฯ โดยผ่านกระบวนการอบแห้งที่ใช้ความร้อนต่ำ รักษาคุณค่าของสารออกกฤทธิ์ เช่น โพลีฟีนอล วิตามินซี และคลอโรฟิลล์โดยในระยะแรกผลิตภัณฑ์ชาที่ได้มีกลิ่นเหม็นเขียว ไม่น่ารับประทานนัก จึงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ชาใบเม่าเพิ่ม ทั้งกลิ่น สีและรสชาติ ใช้ยอดเม่าตัวผู้ผสมรวมกับเปลือกผลเม่า(พันธ์ภูพานทอง)ใน อัตราส่วน1/1ทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีม่วงอ่อนสวยงามจากโมเลกุลให้สีแอนโทไซยานิน รสชาติฟาดอมเปรี้ยวดื่มง่ายและเป็นที่ยอมรับจากผู้ทดสอบมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยว่า การแยกเปลือกผลแล้วอบแห้งด้วยความร้อนต่ำกับการหมักหรือคั่วก่อนอบแห้ง กรรมวิธีใดจะให้รสชาติดีกว่ากัน

สำหรับชาใบเม่าแต่งรสดังกล่าว “อัญชลี หมู่มาก” ผู้ช่วยงานวิจัยโครงการการพัฒนาชาใบเม่าแต่งรส บอกว่า ชุมชนได้เข้ามามีส่วนพัฒนางานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยชมรมหมากเม่าสกลนครคัดเลือกสายพันธ์เม่าให้เหมาะสมในการผลิตชาใบเม่า กระทั้งผลงานวิจัยสำเร็จผลเป็นรูปธรรม ล่าสุดจัดแสดงผลงานนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนทั่วไป ในงาน“มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2553” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กทม. ซึ่งองค์ความรู้นี้จะถ่ายทอดสู่ชุมชนในลำดับต่อไป เช่นเดียวกับการเผยแพร่โครงงานวิจัยปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากเม่าต่างๆ อาทิ ไวนท์เม่า น้ำผลไม้เม่าเข้มข้น น้ำเม่าพร้อมดื่ม แยมเม่า ฯลฯ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ในชุมชนทุกภาคส่วน

สอดรับกับ “คนพ วรรณวงศ์” ประธานชมรมหมากเม่าสกลนคร สะท้อนถึงการพัฒนางานวิจัยเพื่อชุมชน ช่วยให้อาชีพเกษตรกรเพาะปลูกเม่าเจริญเติบโต เนื่องจากการเก็บผลเม่าเพื่อการค้า ถือเป็นอาชีพเสริมรายได้หลังวางเว้นจากการทำนาของชาวบ้านส่วนใหญ่ในท้องถิ่น อีสาน โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร พบเม่าอุดมอยู่แถบเทือกเขาภูพานเป็นจำนวนมาก
ปัญหาอยู่ที่ผลผลิตเม่าในแต่ละปีออกดอกผลมากน้อยต่างกัน ราย ได้ของเกษตรจึงถูกลดทอน การคิดเพิ่มผลิตผลของชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูก ขยายพันธ์เม่า จนกระทั้งกระบวนการผลิตสินค้าแปรรูปเพื่อการจัดจำหน่าย ที่ได้รับการสนับสนุนความรู้จากงานวิจัยของมทร.อีสานทำให้ธุรกิจทุกด้านที่ เกี่ยวกับเม่ามีเงินหมุนเวียนในชุมชน 100 ล้านบาท

“ที่ ผ่านมาเมื่อผู้ประกอบการหรือสมาชิกกลุ่มใดประสบปัญหา จะได้รับการช่วยเหลือจากคลินิกเทคโนโลยีอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงเตรียมอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการผลิตมาด้วยเท่านั้น เช่นเดียวกับชาใบเม่าแต่งรสที่จะได้รับการถ่ายทอดกระบวนการทำ เพื่อเพิ่มผลิตผลของชุมชน เน้นใช้ต้นหมากเม่าทั้งใบและผล ลดต้นทุนการผลิตด้วยวิธีอบแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ชาสุขภาพอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค” นายคนพทิ้งท้ายความรู้สึกทั้งนี้หากใครสนใจ สามารถติดต่อคลินิกเทคโนโลยี ชมรมหมากเม่าสกลนคร โทร.042-772-393 เพื่อเป็นองค์ความรู้ได้ทุกเมื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น