++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

สารานุกรม ดนตรี 3 มิติ”ความสำเร็จของนศ.วิศวะมข.

นับว่าเป็นผลงานชิ้นยอดเยี่ยมของ 4 หนุ่ม นายทิวากร แฝงฤทธิ์ ,นายภาณุพงศ์ ศรีธนานันท์, นายกิตติพงษ์ อินทบุตร และนายชินภัทร อัษฎายุธ นักศึกษาปี 3 จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) ผู้คิดค้น "สารานุกรมดนตรี 3 มิติ (3d musical Encyclopedia)" ซึ่งเป็นสารานุกรมดนตรีที่มีเสียงดนตรี และสามารถใช้งานแบบสัมผัสได้จริง ครั้งแรกในประเทศไทยการันตีความสามารถด้วยรางวัล Popular Vote จากเวทีการแข่งขัน Microsoft Thailand Imagine Cup 2010

"หนุ่ย" นายทิวากร หนึ่งในผู้ริเริ่มพัฒนาสารานุกรม 3 มิติ เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนาซอฟต์แวร์ชิ้นนี้มาจากการที่ได้รับโจทย์จากไมโคร ซอฟต์ให้พัฒนาสารานุกรมสำหรับราชบัณฑิตยสถาน จึงได้เกิดความคิดที่จะพัฒนาสารานุกรมเกี่ยวกับดนตรีสากลที่มีภาพและเสียง ดนตรีเสมือนจริง ในรูปแบบ 3 มิติ โดยใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟต์เข้ามาช่วยในการเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความรู้และยังสนุกเพลิดเพลินด้วย

“สารานุกรม ดนตรี 3 มิติ ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 1 เดือน คือช่วงฝึกงานเดือนต.ค. ปีที่แล้ว โดยเริ่มในส่วนของแอพพลิเคชั่นที่เป็นเปียโน หลังจากฝึกเสร็จเมื่อกลับไปเรียน ที่มหาวิทยาลัยก็ได้พัฒนาในส่วนของกลองเพิ่มขึ้น โดยทั้งหมดใช้เทคโนโลยี Windows Presentation Foundation (WPF) และเทคโนโลยีมัลติทัชของวินโดว์ส 7 การเขียนโปรแกรมใช้ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) สำหรับภาพเครื่องดนตรี 3 มิติ ก็นำมาจากที่มีการเปิดให้ดาวน์โหลดใช้ฟรี ส่วนข้อมูลของเครื่องดนตรีก็ได้จากราชบัณฑิตยสถาน โดยเริ่มในส่วนของแอพพลิเคชั่นที่เป็นเปียโน หลังจากฝึกเสร็จเมื่อกลับไปเรียน ได้พัฒนาต่อยอดเพื่อให้สารานุกรม 3 มิติ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ภายในระยะเวลา3 เดือนได้เพิ่มเติมพัฒนาในส่วนของดนตรีไทยเข้าไป โดยตอนนี้ได้ทำแอพพลิเคชั่นที่เป็นระนาดเสร็จสิ้นแล้ว

สิ่ง ที่ยากในการพัฒนาก็คือการเขียนโปรแกรมเนื่องจากที่เรียนมาส่วนใหญ่จะใช้ภาษา จาวา แต่งานนี้ต้องใช้ภาษาซีชาร์ป ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะสามารถทำการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ ทำให้การเข้าร่วมฝึกงานในครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพิ่มมากขึ้นและยังนำไปใช้ในการเรียนที่มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย โดยผลงานที่ได้ทำกับ เพื่อน ๆ ครั้งนี้ถือเป็นงานใหญ่ที่สุดที่เคยทำมา อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างกำลังพัฒนาในส่วนแอพพลิเคชั่นที่เป็นกีตาร์ เพิ่มขึ้น และในอนาคตก็มีความแนวคิดที่จะทำในส่วนที่เป็นเครื่องดนตรีไทย อาทิ ระนาด ฆ้อง ฯลฯ ด้วย”

ช่วง ระยะเวลาสั้นๆ ในการฝึกงาน ส่งผลให้น้องกลุ่มคณะวิศวะ ม.ขอนแก่นได้รับความรู้ และโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงาน หนุ่ย เล่าต่อว่าการฝึกงานมีประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย ทั้งการเรียนรู้โลกของการทำงาน รู้จักการทำงานเป็นทีม นำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน และที่สำคัญได้พัฒนาความคิดในการเขียนโปรแกรม "เนื่อง จากที่เรียนมา พวกเราจะเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาจาวา แต่งานนี้ต้องใช้ซีชาร์ป ซึ่งเป็นความรู้นอกบทเรียนที่เพิ่มเติมทักษะของพวกเราได้อย่างมาก รวมไปถึงยังได้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีมากขึ้นด้วย เพราะว่าสารานุกรมเกี่ยวกับดนตรี เป็นเสมือนแหล่งความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ"

4 หนุ่มที่ร่วมกันพัฒนาต่อยอดสารานุกรม 3 มิติ แต่ละคนมีหน้าที่ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเขียนโปรแกรม ดีไซต์รูปแบบสารานุกรม แต่ในการทำงานทุกคนต้องเชื่อมต่อกัน เพราะสารานุกรม 3 มิติ จะเกิดขึ้นจริงไม่ได้หากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกัน

ชิ ว นายธีเดช เล่าเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสารานุกรม 3 มิติขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับดนตรีมากขึ้น โดยความพิเศษของสารานุกรมดนตรี 3 มิติ ที่พวกผมช่วยกันพัฒนาต่อยอดสามารถสัมผัส มีเสียงดนตรี เพื่อสร้างความบันเทิง ความสนุกควบคู่ความรู้ "เรา มองว่า หากสารานุกรมดนตรีเป็นเล่มหนาๆ ใหญ่ๆ เชื่อว่าคงมีหลายคนที่ไม่อยากเปิดอ่าน แต่สารานุกรมดนตรี 3 มิติ ใช้ง่าย เพียงสัมผัสหน้าจอคอม ก็สามารถเรียนรู้ได้ และในส่วนของพวกผมเองยังได้พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม ได้ฝึกปฎิบัติ และได้มิติการเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะฉะนั้นหากน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากเขียนโปรแกรม ต้องมีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ และต้องฝึกปฎิบัติบ่อยๆ"

ด้าน ผศ.กานดา สายแก้ว อาจารย์ ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวะ มข. กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปฝึกปฎิบัติงานในสถาน ประกอบการ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ เพิ่มเติมประสบการณ์ และเรียนรู้โลกของการทำงาน รวมไปถึงการเรียนวิศวะคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม การได้ลงมือปฎิบัติจะทำให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งนักศึกษาทั้ง 4 คน ได้มีโอกาสไปฝึกงานที่บริษัทไมโคซอฟท์ ทำให้พวกเขาได้ทดลองการเขียนโปรแกรมใหม่ ได้ใช้เครื่องอุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในห้องเรียน

“สารานุกรม ดนตรี 3 มิติ ของนักศึกษากลุ่มนี้คว้ารางวัล Popular Vote จากงาน Thailand Imagine Cup 2010 ถือเป็นอีกหนึ่งรางวัลที่ทำให้พวกเขามีแรงจูงใจในการพัฒนาต่อยอดสารานุกรม ดนตรี 3 มิติ ให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน และสามารถใช้ง่ายได้จริง พร้อมทั้งยังทำให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หากใครอยากเข้าเรียนคณะวิศวะ คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ ประมวลผล ฝึกปฎิบัติ มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และต้องรู้จักใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี เพราะตอนนี้เทคโนโลยีค่อนข้างก้าวกระโดด คู่มือตำราต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ หากเด็กอ่าน ฟัง พูด เขียนภาษาอังกฤษได้ดี จะทำให้เข้าใจบทความ คู่มือภาษาอังกฤษได้อย่างดี และที่สำคัญต้องรักในการเรียนสาขานี้จริงๆ ”

หลาย ครั้งที่ได้ชม สัมผัสเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จากความคิด ทักษะฝีมือของเด็กไทยที่ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ สารานุกรมดนตรี 3 มิติ อีกหนึ่งผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรี โดยนำความทันสมัย เทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะเพียงสัมผัสปลายนิ้วลงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็จะได้ความรู้ และได้ยินเสียงของตัวโน้ตดนตรีบรรเลง เป็นความสนุกที่สอดแทรกความรู้ได้อย่างดีอยากเห็นสารานุกรมดนตรี 3 มิติ เสมือนจริง แวะชมได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. โทร.043-202222-42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น