++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

"สุทธิ" ชี้ 11 กิจการรุนแรงเป็นประกาศอัปยศ ทำศาลถอนใบอนุญาตแค่ 2 โครงการ

วันนี้ (2 ก.ย.) รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน เวลา 20.30-22.00 น. มีนายเติมศักดิ์ จารุปราณ รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งได้เชิญนายวีระ ชมพันธุ์ รองประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาร่วมพูดคุยในรายการ

โดยนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกได้โทรศัพท์เข้ารายการ เพื่อแสดงความคิดเห็น ว่า คำพิพากษาของศาลวันนี้ไม่แปลกใจ เพราะพฤติการณ์รัฐบาลที่เร่งรีบออก 11 ประเภทกิจการรุนแรง และรีบประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาทันทีและส่งไปยังตุลาการศาลปกครองเพื่อ ประกอบคำวินิจฉัย

แต่ที่ผิดหวังผิดหวังคือ 11 ประเภทกิจการรุนแรงที่รัฐบาลออกมานั้น ยังไม่ได้ผ่านการเห็นชอบของประชาชนหลายๆฝ่าย ยังมีหลายกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย และไม่ได้เอาสิ่งที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปัญญารชุนเป็นประธาน เสนอแนะมาประกอบด้วยเลย

เราขอถือว่าประกาศ 11 กิจการนี้เป็นประกาศอัปยศ ตนอยากให้นักข่าวไปถามนายอานันท์ว่ารู้สึกอย่างไร ที่รัฐบาลไม่ได้ทำตามข้อเสนอของคณะกรรมการฝ่าย เพราะวันนี้ท่านเป็นประธานปฏิรูปประเทศด้วย แล้วท่านจะคาดหวังกับรัฐบาลได้หรือ เพราะเรื่องมาบตาพุดยังไม่ฟังที่คณะกรรมการเสนอเลย

นายสุทธิกล่าวอีกว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่าย โดยนายแพทย์ชูชัยได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อประเมินด้านสุขภาพ และวันนี้ศาลมีคำพิพากษาโดยยึดเอาประกาศ 11 โครงการอันตราย มาเป็นที่ตั้งและเทียบกับ 76 โครงการ โดยเหลือเพียง 2 โครงการที่ยังคุ้มครองอยู่ ที่เหลือหลุดไปหมด โดยเรื่อง 11 กิจการนี้ต้องช่วยกันดู เพราะอาจขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2

นายประสารกล่าวว่า จากการลงพื้นที่ศึกษาของกรรมการ 4 ฝ่าย ก็สรุปออกมาว่ามี 18 โครงการประเภทที่มีความรุนแรงจากนั้นส่งลูกให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่ง ชาติในวันที่ 23 ส.ค. โดยนายกฯเป็นประธาน จาก 18 ถูกเขี่ยออกไป 7 เหลือ 11 และวันที่ 31 สค.ครม.ก็ลงมติเห็นด้วย ในที่สุดกลายเป็นคำแถลงของตุลาการวันนี้ โดยเพิกถอนใบอนุญาต 2 กิจการหลุดไป 74 ซึ่งประชาชนต้องคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไร ทั้งๆที่ศาลเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าระยองเต็มไปด้วยมลพิษ คงต้องอุททธรณ์ศาลปกครองสูงสุดต่อไป

"ที่เขี่ยออกไป 7 โครงการ มีการตั้งข้อสังเกตุในที่ประชุมสว. ว่าเป็นการเปิดโอกาสปลดล็อกให้กับบรรดากลุ่มทุนในมาบตาพุดหรือเปล่า ใน 7 โครงการนี้มีเรื่องชลประทานอยู่ด้วย ก็เลยหยิบยกให้เป็นข้อสังเกตุคือมีรัฐมนตรีคนหนึ่ง เสนอโครงการมูลค่า 2 แสนล้านบาท เพื่อทำระบบชลประทานทั่วอีสาน ต้องมีการเปิดเวทีสาธารณะชี้แจงว่าทำไมต้อง 18 โครงการ และที่เขี่ยออกไป 7 คืออะไรมีอะไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะสะท้อนว่าอำนาจรัฐ อำนาจทุน มาแย่งยึดสิทธิชุมชน ทำชาวบ้านตายผ่อนส่ง" นายประสาร กล่าว

นายประสารกล่าวอีกว่า ตอนที่ศาลถอนกิจการคุ้มครอง 76 ให้เหลือ 65 ตอนนั้นโวยวายกันมหาศาลว่าจะทำลายทุน ทำลายเศรษฐกิจ ปรากฎว่าหลังจากนั้นนายกฯก็แถลงเองว่าการส่งออกช่วยให้จีดีพีช่วงนั้นพุ่ง กว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งปี53 โตไม่ต่ำว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็มีกำไรสุทธิ 6 เดือนแรกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 34 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าไม่ได้กระทบเศรษฐกิจเลย

นายวีระกล่าวว่า คดีนี้อัยการซึ่งเป็นทนายแผ่นดินมายื่นขอให้ปล่อยบางโครงการให้ดำเนินการไป ก่อน ความจริงแล้วทนายของแผ่นดินน่าจะทำให้แผ่นดินมากกว่า ไม่ใช่ไปทำให้บริษัท ทำให้เห็นว่ากลุ่มทุนมันมีอิทธิพลพอสมควร ประกอบกับรัฐหวังจะเอาเงินมาลงทุนโดยไม่คำนึงว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ กรณีนี้เข้าใจว่าศาลตัดสินไปตามพื้นฐานของกฎหมาย แต่ดันเป็นกฎหมายที่เพิ่งออกมา 31 ส.ค.นี้เอง ถือว่าครม. มีมติอย่างนั้นเป็นการออกมติที่ชอบหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น