++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สนธิ ลิ้มทองกุล กลับบ้าน : ร่วมปฏิรูปประเทศไทย

โดย วิทยา วชิระอังกูร 16 พฤษภาคม 2553 14:08 น.
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์)
อดีตประธานรัฐสภา ได้ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "ทางออกประเทศไทย
ใครรับผิดชอบ" ความตอนหนึ่งว่า

"สิ่งที่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาอยู่จนถึงวันนี้ ถือว่า
เป็นความล้มเหลวในทุกมิติอย่างสิ้นเชิง
ทางออกจากปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้ คือ
ประชาชนจะต้องช่วยกันออกมาเรียกร้อง ให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่
โดยอาจต้องงดเว้นการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่อให้มีความคล่องตัว
และ อาจต้องมีรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีในรูปแบบใหม่
เข้ามาปฏิรูปประเทศให้เข้าที่เข้าทาง..."

ข้อเสนอจากปาฐกถาดังกล่าว สอดคล้องกับข้อคิดความเห็นของนักวิชาการ
หลายท่าน และน่าจะตรงกับใจของประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เบื่อหน่าย
และทนทุกข์อยู่กับสภาพการณ์ความขัดแย้งที่นับวันจะบานปลายยืดเยื้อจนเหมือน
ไม่มีทางออก เพราะการบริหารจัดการภายใต้โครงสร้างระบบการเมืองเก่า ที่ไม่
สามารถใช้อำนาจรัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ในการจัดการกับ
นปช.และกลุ่มคนเสื้อแดง
ที่ชัดแจ้งว่าชุมนุมอย่างผิดกฎหมายเพราะมีกองกำลัง ติดอาวุธ
และมีพฤติกรรมก่อความรุนแรง ลิดรอนสิทธิของผู้อื่น
และสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติสังคมโดยรวมอย่างมากมาย โดยกลไกอำนาจรัฐ
ไม่สามารถระงับยับยั้งได้เลย

ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากความผิดปกติของกลไกรัฐ ตำรวจ ทหาร
หรือพรรคร่วมรัฐบาลด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม
ที่เป็นผลให้การจัดการกับม็อบก่อการร้ายล้มเหลว ย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ ว่า
เป็นความล้มเหลวในการบริหารจัดการอำนาจรัฐของ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรง

ผมเคยเขียนเตือนรัฐบาลและ ศอฉ.มาโดยตลอดว่า
ต้องเร่งระงับยับยั้งสลายการชุมนุมที่ผิดปกติโดยเร็ว หาก
ปล่อยให้ยืดเยื้อจะยิ่งบานปลายแก้ไขยาก
และอาจก่อให้เกิดความหายนะรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น

แต่โดยโครงสร้างและองคาพยพอันพิกลพิการที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐบาล
ขณะนี้ จึงทำให้กลไกฟันเฟืองต่างๆ
ที่จะขับเคลื่อนการใช้อำนาจรัฐตะกุกตะกัก ยืดยาดเป็นเรือเกลือ
จนส่งผลให้ม็อบถูกปลุกปั่นให้ฮึกเหิม
และขยายเครือข่ายเพิ่มจำนวนผู้มาร่วมชุมนุมหลากหลายมากยิ่งขึ้น
จนสามารถสร้างค่ายคูประตูรบ และสะสมอาวุธสงครามนานาชนิด
ซึ่งย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมากขึ้นเมื่อ
คิดจะเข้าสลายการชุมนุมเพราะไม่มีทางเลือก

และจะด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่อาจทราบได้ที่นายกฯ อภิสิทธิ์
ที่มีต้นทุนทางสังคมสูง มีกองเชียร์ประชาชนหนุนหลังมากมาย ที่ออก
มาช่วยชุมนุมเป็นปากเป็นเสียงสนับสนุนให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่ม
ผู้ชุมนุมกลับละล้าละลัง ไม่กล้าตัดสินใจ คิดแต่การจะเจรจา ทั้งๆ
ที่ประกาศเองว่าเป็นการชุมนุมก่อการร้าย และท้ายที่สุด
ถึงกลับยอมขัดใจกอง เชียร์ประชาชนที่ยืนยันไม่ให้ยุบสภา
โดยเฉไฉเลี่ยงเป็นการกำหนดวันเลือกตั้ง 14 พฤศจิกายน 53
ซึ่งตามนัยก็คือการยอมยุบสภาตามข้อเรียกร้องของม็อบผู้ก่อการร้ายนั่นเอง

และแล้ว "โรดแมป" แผนการปรองดอง 5 ข้อ
ที่หวังว่าจะหย่าศึกกันอย่างสันติวิธีง่ายๆนั้น ก็ล้มเหลวอีก
ด้วยเงื่อนไข การต่อรองแบบตีรวนของแกนนำ นปช.ที่ไม่ยอมยุติการชุมนุม
จนทำให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ประกาศล้มเลิกวันเลือกตั้ง 14 พ.ย.53
และตัดสินใจสั่งการให้ทหารตำรวจเข้ากดดันสลายการชุมนุมในวันที่ 13 พ.ค.53

ผมนั่งเขียนบทความนี้
สลับกับการฟังข่าวและดูภาพกองกำลังทหารตำรวจปิดล้อมกดดันเพื่อสลายการ
ชุมนุม มีเสียงปืน เสียงระเบิดเป็นระยะ เหมือนสงครามกลางเมืองขนาด ย่อมๆ
ซึ่งไม่เคยคิดว่า จะเกิดขึ้นกลางเมืองหลวงประเทศไทยในยุคนี้

เริ่มมีการบาดเจ็บล้มตายบ้างแล้ว
และยังมองไม่เห็นจุดที่จะยุติการต่อสู้แย่งชิงพื้นที่ระหว่างกองกำลังทหาร
ตำรวจกับผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงได้อย่างไร
และถึงหากจบลงด้วยการสลายการชุมนุมได้สำเร็จ ก็คงจะเป็นเพียงการจบตอนซึ่ง
ไม่ใช่ตอนจบอย่างแน่นอน และตอนต่อๆ ไปอาจยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ปัญหาความแตกต่างทางความคิดที่กลายเป็นความขัดแย้งร้าวลึกเกินกว่าจะ
เยียวยาได้อย่างง่ายดาย ผมจึงเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
ที่เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ในรูปแบบ ใหม่เฉพาะกาล
โดยงดเว้นการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อเข้ามาถืออำนาจรัฐ
และจะต้องระดมประชาชนทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ
ไทยอย่างจริงจัง

ซึ่งผมเชื่อว่า
การสังคายนาเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองการ
ปกครองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะมีความคิดดีๆ
หลากหลายแนวทางที่จะสอดคล้องกับพื้นฐานทางสังคมไทย
และเอื้อประโยชน์สุขแก่
ประชาชนส่วนใหญ่โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับพันธนาการของระบอบประชาธิปไตยตามแนว
คิดตะวันตก ซึ่งไม่สอดคล้องและทำให้ระบบการเมืองไทยกลายเป็นตัวปัญหาที่ฉุดรั้งและทำ
ร้ายทำลายประเทศชาติสังคมไทยมาตลอดระยะเวลา 78 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475
เป็นต้นมา

ถ้ายังจำกันได้
ผมเป็นผู้หนึ่งที่เคยเสนอแนวคิดการเปลี่ยนแปลงระบอบ การเมืองการปกครองไทย
โดยร่วมกับ ว.แหวนลงยา นำเสนอเป็นบทกวีตั้งแต่เมษายน 2552

เปลี่ยนระบอบ การเมือง กันดีไหม?
เอาระบอบอะไรก็ได้ ที่เหมาะเจาะ
บทเพลง ประชาธิปไตย ไม่ไพเราะ
ตะกุกตะกัก กัดเซาะ สังคมทรุด
ตัวบท กฎเกณฑ์ ล้วนเก้งก้าง
ชำระ สะสาง ไม่สิ้นสุด
ประชาธิปไตย ไร้ธรรม ช้ำชำรุด
ถูกยื้อยุด ยืดเยื้อ ยาวนานนัก
ยึดติดแต่ รูปแบบ แคบและตื้น
ฉุดกระชาก ลากฝืนจนจมปลัก
ปอกลอก ประชาธิปไตย โดยไร้รัก
มีแต่หาญ แต่หัก ให้หายนะ
รัฐสภา บ่าท่วม เพทุบาย
จมจ่อม ต่อมน้ำลาย กักขฬะ
ประชาธิปไตย โดยตั้งเป้า เอาชนะ
จึงโมหะ โลภะ กันสุดฤทธิ์
เล่นเล่ห์ จนเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน
ช่วงชิง เชือดเฉือน อำมหิต
ประชาธิปไตย อวลไอบาป อาบยาพิษ
จึงมืดมิด หมดทาง สร้างนิติรัฐ
เปลี่ยนระบอบ การเมือง กันดีไหม?
ให้เหมาะเจาะ เฉพาะไทย ไม่ข้องขัด
เสกสร้าง สังคมไทย ให้อภิวัฒน์
ในกรอบกฎ กระบวนทัศน์ แบบไทยไทย
เลิกยึดติด ทฤษฎี ตะวันตก
มาร่วมกัน สาธก ทฤษฎีใหม่
ออกแบบ ให้สอดคล้อง สังคมไทย
เปลี่ยนเป็น "ธรรมาธิปไตย" ดีไหมครับ?

ว.แหวนลงยา

(www.oknation.net/blog/wachira89 27 เมษายน 2552)


กำลังเขียนอยู่ก็ได้ฟังเสียงคุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ทางวิทยุที่ถ่ายทอด จาก ASTV ก็คงต้องบอกว่า
ในบรรยากาศความเครียดจากการติดตามการสลายม็อบ ทำให้ผมรู้สึก
หายเครียดเป็นปลิดทิ้ง เมื่อได้ยินกับหูว่า คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และสมาชิกการเมืองใหม่แล้ว เพื่อ
กลับมาเป็นสื่อมวลชน เป็นสนธิ ลิ้มทองกุล คนเดิม
ที่ครั้งหนึ่งผมเองเคยเขียนปรารภเสียดายคุณ สนธิ ลิ้มทองกุล
ไว้เป็นบทความเสียยืดยาว
เพราะรู้สึกสูญเสียสื่อมวลชนที่มีศักยภาพสูงให้แก่วงการการเมืองไทยที่ยังมี
โครงสร้างพิกลพิการ อย่างน่าเสียดาย

เสียงคุณสนธิประกาศอย่างหนักแน่นว่า
ที่จริงเมืองไทยเรายังไม่เคยมี การปฏิวัติเลย
ที่ผ่านมามีแต่การรัฐประหารเท่านั้น

นี่อาจจะเป็นนิมิตหมายอันดีนะครับ ที่เราจะได้มีมันสมองภาค
สื่อมวลชน และภาคประชาชนมาเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันปฏิรูประบอบการเมืองการ
ปกครอง และปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริง ขอบคุณ และขอต้อนรับคุณสนธิ
ลิ้มทองกุล ด้วยความยินดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น