++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิเลศ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง

กิเลศ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง เป็นอุปสรรคต่อการเจริญกรรมฐาน

ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็น

๑.โลภะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- ความโลภ อย่างแรง จนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)

- ความเพ่ง เล็ง จะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่น แต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)

-ความอยากได้ ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)

- ความมักมาก เห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคน อื่น (มหิจฉา)

- ความยินดี ในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น

มีความพอใจใน เรื่องเพศ (กามระคะ)

- ความยินดี ในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพ

เมื่อทำสมาธิ ขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)

- ความยินดี ในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณ เมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)

๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร

- โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาท แล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย

- โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง

- ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด

๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- ความเห็น ผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)

- ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)

- การเห็นว่า มีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)

- ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)

- การยึดถือ อย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสี ที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพ พตปรามาส)

- ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิด ว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)

- ความ ฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิหรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)

- ความไม่รู้ จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

ในส่วนของกิ เลศที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ นั้น

ตัวที่มี กำลังมาก และเป็นอุปสรรค เป็นเครื่องกั้นใหญ่

ตัดได้ยาก มีผลต่อการบรรลุมรรคผล

คือตัวโมหะ นั่นเอง



วันนี้ขอนำ เสนออีกอย่างที่ควรกำจัดให้หมดครับ

อุปกิเลส 16 คือ โทษเครื่องเศร้าหมอง 16 อย่าง

๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

๒. พยาบาทคือ ความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจ พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๓. โกธะคือ ความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๔. อุปนาหะ คือ การผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดี กับเราขนาด ไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

๖. ปลาสะ คือ การตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

๗. อิสสาคือ ความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่า เรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขา อยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

๙. มายา คือ เจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

๑๑. ถัมภะคือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

๑๒. สารัมภะคือ การแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

๑๓. มานะคือความถือตัว ทะนงตน

๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

๑๕. มทะคือ ความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา

***************************************************
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น