ผู้แต่ง - รัชกาลที่ ๒ แต่งตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ขุนแผนพานางวันทองหนี
รัชกาลที่ ๓ แต่งตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทอง
สุนทนภู่ แต่งตอนกำเนิดพลายงาม
ครูแจ้ง แต่งตอน กำเนิดกุมารทองขุนแผนพลายงามแก้พระท้ายน้ำ สะกดพระเจ้าเชียงใหม่และยกทัพกลับ จระเข้เถรกวาด
ทำนองแต่ง - ใช้กลอนสุภาพ
ข้อคิดเห็น - วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ตัดสินให้เสภาขุนช้างขุนแผนเป็นยอดแห่งกลอนสุภาพ เพราะเสภาเรื่องนี้มีลักษณะดีเด่นหลายประการ ในด้านเนื้อเรื่องนับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องแรกที่นำชีวิตของสามัญชนมาบรรยาย แสดงชีวิตไว้หลายแง่หลายมุม เช่น ความซื่อสัตย์ ความรัก ความผิดหวัง ความพยาบาท ความคดโกง ความให้อภัย ฯลฯ ตัวละครทุกตัวมีบทบาทเข้มข้นสามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก กระบวนกลอนก็มีรสคมคายดูดดื่มใจไม่รู้เบื่อ ใช้ถ้อยคำสำนวนเหมาะสมแก่ลีลาของเรื่อง เสภาเรื่องนี้ยังเป็นกระจกส่องสภาพสังคมไทยโบราณ แสดงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น การเกิด การรับขวัญ การบวช การแต่งงาน การตาย และแม้สภาพความเป็นไปของดวงวิญญาณก็นำมาพรรณนาไว้ เช่น เปรตนางวันทองห้ามทัพพระไวย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น