++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สาเหตุที่คำไทยกลายเป็นคำมากพยางค์

        เดิมทีคำไทยมีลักษณะเป็นพยางค์เดียวโดดๆ เช่นเดียวกับภาษาจีน แต่ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าภาษาไทยมีคำมาก พยางเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีมูลเหตุหลายประการ เช่น
  1. ภาษาไทยรับคำภาษาอื่นซึ่งมีมากพยางค์มาเป็นคำไทย เช่น ได้คำเขมร บาลี และสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาคำมากพยางค์ เช่น สะพาน บิดา ไอศวรรย์
  2. ภาษาไทยได้รับคำภาษาอื่น ซึ่งแม้เดิมจะเป็นคำน้อยพยางค์มาก่อน แต่เมื่อไทยได้มาก็ประสมคำกับคำไทยแท้กลายเป็นคำใหม่ และมีพยางค์มากขึ้น เช่น
       เก่งกาจ ราชวัง เทพเจ้า  ลูกบอล
  3. นำวิธีการเพิ่มคำจากภาษาอื่นมาใช้ เช่น
      ก. การแผลงคำอย่างภาษาเขมร มอญ ชวา มลายู เช่น
           ตริ   เป็น ดำริ
           ปราศ เป็น บำราศ
           เกิด  เป็น  กำเนิด
           ชิด เป็น  ชนิด
           โลภ  เป็น ละโมบ
           บวช   เป็น  ผนวช
           ไคล  เป็น  คระไล, ครรไล
       ข.นำการเข้าสมาสและสนธิ มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต วิธีนี้ยังแยกออกเป็น ๒ ประการ คือ รับคำสมาสและสนธิในภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้โดยตรง และนำวิธีการเข้าสมาสและสนธิของบาลีสันสกฤตมาสร้างคำหลายพยางค์ขึ้นใหม่ โดยที่คำเหล่านั้นไม่เคยเป็นคำสมาส หรือ สนธิในภาษาบาลีสันสกฤตมาก่อน เช่น

           วัฒนธรรม, วรรณคดี, วิทยาศาสตร์, ธนานุเคราะห์, กระยาหาร

        ค. นำวิธีการเพิ่มพยางค์แบบลงอุปสรรคจากภาษาบาลี สันสกฤตและการเพิ่มคำข้างหน้าแบบเขมร เช่น
          ประจบ, ประจุ, ประทับ, ประลุ, บังเกิด, บังควร, บันลือ
  4. ภาษาไทยนิยิมใช้คำซ้ำ เช่น ต่างๆ เขียวๆ ดีๆ
  5. ภาษาไทยนิยมใช้คำคู่ เพือช่วยให้ความหมายเด่นชัด เช่น คัดค้าน  ซอกซอน แจกแจง ฉาดฉาน เชี่ยวชาญ
  6. เกิดจากการประสมคำเพื่อให้มีคำพอใช้ เช่น แม่น้ำ ลูกเสือ ไฟฟ้า น้ำแข็ง ตู้เย็น พัดลม
  7. เกิดจากภาษากร่อน เดิมเป็นคำประสม กร่อนเป็นคำเดียว แต่มากพยางค์ เช่น
         หมากม่วง    เป็น  มะม่วง
          ตาวัน        เป็น  ตะวัน
          เรื่อยๆ        เป็น  ระเรื่อย
          ท่านนาย  เป็น   ทนาย
          ทวยกล้า   เป็น  ทกล้า
  8. เกิดจากการเพิ่มพยางค์ในคำประสม เช่น
         นกจอก  เป็น  นกกะจอก, นกกระจอก
          ลูกเดือก  เป็น  ลูกกะเดือก, ลูกกระเดือก
         ลูกดุม เป็น  ลูกกะดุม, ลูกกระดุม
         ดุกดิก เป็น  ดุกกะดิก, กะดุกกะดิก, กระดุกกระดิก
  9. เกิดจากการเพิ่มพยางค์ในคำโดด เช่น
        กระโดด, กระโจน, กระทำ
  10. การเพิ่มพยางค์แบบกวี เช่น
      พิมพิลาไล (พิมพิไล), สุมามาลย์ (สุมาลย์) , ทิชาชงค์ (ทิชงค์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น