++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เคาะประตูสุขภาพที่...บ้านแก้ง กรณึศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี

เรียบเรียงโดย ฑีฆายุวัฒก์ สวัสดิ์ลออ

            ตำบลบ้านแก้ง อยู่ใน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง สาเหตุของการเจ็บป่วยของคนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์
            "กองทุนสุขภาพฯ ไม่ใช่เน้นที่การรักษา แต่เน้นที่การส่งเสริมป้องกัน" หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านแก้ง เน้นย้ำวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ไว้อย่างชัดเจน

            ทางด้านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง นายจำลอง นันทโสม ผู้ขานรับนโยบายได้กล่าวถึงแนวคิดที่มีต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ว่า " อยากให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้นและสนใจในการดูแลสุขภาพ... เมื่อมีแหล่งเงินทุนในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น สามารถนำปใช้ในการพัฒนาและดูแลประชาชนได้อย่างกว้างขวางครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มอายุ"

            .เมื่อมีแนวคิดดีๆจากผู้นำชุมชน ประกอบกับได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งการประสานงานระหว่างหน่วยงานในชุมชน ทั้ง อบต.บ้านแก้ง แบะสถานีอนามัย จึงทำให้เกิดโครงการ "เคาะประตูสุขภาพ" ขึ้น เพื่อให้อาสาสมัครที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งมาจากทั้งคณะกรรมการกองทุนฯ อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มจิตอาสา และกลุ่ม  To Be Number One  ออกไปเคาะประตูบ้านให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในระดับพื้นฐานแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ อบต.บ้านแก้ง

            การดำเนินงานขั้นต้น ได้จัดให้มีการทำประชาคมเพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อการดำเนินโครงการได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและตรงตามความต้องการของชุมชน จากนั้นจึงทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ชาวชุมชนรับทราบโดยทั่วกัน
            ก่อนที่อาสาสมัครจะออกไปเคาะประตูบ้าน ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อสามารถดูแลและให้คำแนะนำกับประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองในระดับพื้นฐานได้
            คณะกรรมการกองทุนบ้านแก้ง กล่าวว่า " ต้องไปสร้างความเข้าใจ สร้างความผ่อนคลาย จิตสำนึกตรงกันก่อนว่าเรามารณรงค์ในการป้องกันการรักษาเป็นที่ปลายเหตุ"

            ในการดำเนินโครงการ มีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ตามผลของการทำประชาคม คือ อุปกรณ์ตรวจวัดความดันโลหิต และอุปกรณ์ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
            คณะกรรมการกองทุนบ้านแก้งยังบอกอีกว่า "ประชานผ่านมาจะแวะเข้ามาวัดความดันโลหิต เจาะเบาหวาน สะดวกมากขึ้น ดูแลใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น "
            ในระยะเวลา 2 ปี ที่ดำเนินโครงการ มีผลตอบรับคือ ความตื่นตัวของคณะทำงาน มีแผนการทำงานชัดเจน โดยผ่านการทำประชาคมทุกหมู่บ้าน แผนงานที่นำไปปฏิบัติจึงตรงกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ประชาชนได้รับข้อมูลกิจกรรมงานกองทุนฯ เพียงพอ มีความสนใจในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น มีความตื่นตัวต่อประโยชน์ที่จะได้รับและได้รับเงินสมทบจากภาคประชาชนตั้งแต่ปีแรก

            แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ?
            คำตอบ สัน กระชับ แต่ได้ใจความจากคณะกรรมการกองทุนฯ คือ
            1. ผู้นำชุมชนให้ความใส่ใจในการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน
            2. คณะกรรมการกองทุนฯ และทีมงานมีความเสียสละอุทิศเวลา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชนอย่างทั่วถึง
            3. การจัดตั้งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค อุบัติเหตุ อุบัติภัย และยาเสพติด เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มองเห็นภาพการทำงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ข้อมูลพื้นฐานประกอบการเขียน โดย
ปิยะรัตน์ หยกสุริยันต์
ดร.กุลธิดา พานิชกุล
ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ วพบ.สระบุรี

ที่มา ถอดบทเรียน การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
(กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. และเทศบาล) ในพื้นที่ต้นแบบทั่วประเทศ กรณีศึกษา ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง
เลข  ISBN : 978-974-379-047-8
ธันวาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น