++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดินดี คือ รากฐานการเกษตร

พจน์ วิจินตโสภณ เรียบเรียง
บทความเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดิน

ดินคือรากฐานการเกษตร
"ดิน" ที่เกษตรกรใช้เพาะปลูกพืชในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ถ้าสภาพดินดีมีโครงสร้างความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุต่างๆ
มีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่เพาะปลูก
มีน้ำและความชื้นพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
พืชที่ปลูกก็จะเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ ดอกโตใบหนามีสีเขียวเข้ม
มีศักยภาพในการเบ่งให้ผลผลิตออกดอกออกผลให้สมบูรณ์เต็มที่
ทำให้เกษตรกรที่ปลูกได้ชื่นใจ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตก็คุ้มค่าต่อการลงทุน
แต่ในความเป็นจริงสภาพดินหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะในปัจจุบันสภาพดินของประเทศไทยกำลังเสื่อมโทรมลง
ขาดความอุดมสมบูรณ์
เพาะปลูกไม่ได้ผมคุ้มกับที่ลงทุนไปเพราะโครงสร้างของดินเสีย ดินตาย
ดินไม่สมบูรณ์ และดินมีปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม
เป็นต้น และเกิดจากปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผิดหลักวิชาการของเกษตรกรเอง

กรมพัฒนาที่ดิน
เป้นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มีหน่วยงานต่างๆของกรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ
มีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้อินทรียวัตถุชนิดต่างๆ
ให้คืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ สามารถช่วยเหลือเกษตรกร
ในการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มผลผลิตพืชให้ดี เพราะที่นี่มีฐานข้อมูลดิน
แหล่งข้อมูลความรู้เรืองดิน กลุ่มชุดดินประเภทต่างๆ
ทั่วประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุด มีแผนที่ภาพทางอากาศถ่ายออร์โธสี 1 :
4,000 ที่ทันสมัยที่สุด
รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการเกษตรที่เกี่ยวกับดิน
เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินและหมอดินอาสาประเภทต่างๆ
กระจายอยู่ในท้องถิ่นหมู่บ้านของเกษตรกรทั่วประเทศ
ซึ่งนักพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสาเหล่านี้
สามารถตรวจวิเคราะห์สภาพดินให้เกษตรกรในท้องถิ่นนั้นๆ
และให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงบำรุงดิน
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใช้อินทรียวัตถุต่างๆ
และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆในการฟื้นฟูปรับปรุงดิน โดยใช้ 12
มหัศจรรย์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน เช่น สารเร่ง พด.1
ทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา, พด.2 ทำปุ๋ยอินทรียน้ำ จากเศษพืช
เศษผลไม้ เศษปลาสด หอยเชอรี่, พด.3
จุลินทรีย์ป้องกันเชื้อสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า, พด.4
สารเร่งปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากการผสมของวัสดุธรรมชาติ เช่น ยิปซั่ม
หินฟอสเฟต ปูนมารล์ , พด.5 จุลินทรีย์สำหรับผลิตสารกำจัดวัชพืช,
พด.6 จุลินทรีย์สำหรับผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นจากเศษอาหารเหลือทิ้ง
, พด.7 จุลินทรีย์สำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช, พด.8
สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดิน, พด.9
สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว,
พด.10 สารปรับปรุงดินทรายและดินเสื่อมโทรม รวมทั้งแจกจ่ายหญ้าแฝก
หญ้าพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ที่แนะนำให้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
เมล้ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเพื่อสับไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน


ดินแข็งแรง ผลผลิตเบ่งบาน
เมื่อสุขภาพดินดี ระบบโครงสร้าของดิน
มีความร่วนซุยโปร่งถ่ายเทน้ำ และอากาศดี
มีอินทีรยวัตถุที่เป็นประโยชน์เหมาะสมต่อพืชที่ปลูก
เกษตรกรเพาะปลูกพืชอะไรก็ได้ดอกผลงอกงาม สามารถเพิ่มผลผลิตให้เต็มที่
เวลาเก็บเกี่ยวไปขายได้ราคาดี
ลดต้นทุนได้มากเพราะเมื่อดินดีไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีใดๆเลย
และโดยปกติทั่วไปพืชจะต้องการธาตุอาหารมากบ้างน้อยบ้าง
แต่ต้องครบถ้วนในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์
ซึ่งโดยปกติธาตุอาหารหลายตัวพืชได้มาจากดินอยู่แล้ว
แต่ในกรณีดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะธาตุอาหารที่พืชต้องการ
จึงต้องเพิ่มเสริมในรูปของ "ปุ๋ย" จากธาตุอาหาร
ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช

กรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร
ได้ร่วมกันจัดทำโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและประหยัด
(ThaiFERTILIZER) ขึ้น ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
และจะแจกจ่ายไปยังสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตทั้ง 12 แห่ง
และสถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เพื่อเผยแพร่ให้เกษตรกรได้รับทราบและใช้ประโยชน์ต่อไป
โดยคำแนะนำนั้นจะแนะนำถึงการใช้ปุ๋ย ทั้งสูตรปุ๋ยเดี๋ยว สูตรปุ๋ยผสม รวม
13 สูตร โดยจัดทำเป็นตารางอัตราส่วนในการใช้ต่อไร่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่
และลงลึกถึงระดับตำบล จำนวน 7255 ตำบล โดยเน้นในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ 12 ชนิด
ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง
กาแฟ ส้ม สัปปะรด ลำไย และทุเรียน

เพราะที่ผ่านๆมา เกษตรกรมักจะไม่รู้ว่า
ดินในพื้นที่ของตนเองมีแร่ธาตุอะไรบ้าง? และมีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่?
เวลาจะใช้ปุ๋ยเคมีก๋แห่ซื้อตามกระแสที่กำลังนิยม
ทำให้เกิดการใช้ปุ๋ยที่ผิดพลาดและใช้ปุ๋ยในปริมาณมากเกินจำเป็นจึงมีผลเสียกับพื้นที่ของตนเอง
และใส่ปุ๋ยตามความเคยชินหรือได้รับคำแนะนำมาจากผู้ขาย
โดยไม่รู้ว่าพืชนั้นมีความต้องการมากน้อยเพียงใด
ทำให้สิ้นเปลืองทั้งเวลาและเพิ่มภาระต้นทุนค่าใช้จ่าย

ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องนำดินมาตรวจวิเคราะห์กันก่อน
แต่มักจะเกิดปัญหายุ่งยาก เพราะว่าต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์อย่างน้อย
3-7 วัน อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์
แต่โปรแกรมการใช้ปุ๋ยนี้จะช่วยเกษตรกรประหยัดเวลาในการนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์
เพราะว่ามีต้นแบบของดินในประเทศไทย ที่ได้จัดสำรวจจัดทำขึ้นกว่า 30,000
จุด ครอบคลุมทั่วประเทศ
พร้อมกับคำแนะนำการวิเคราะห์การใช้ปุ๋ยในรูปแบบตารางที่เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้
ตามความเหมาะสม โดยมีค่าความถูกต้องไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
และสามารถช่วยเกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยกว่า 10-30 เปอร์เซ็นต์
อีกทั้งยังทำให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรได้อย่างยั่งยืน

ที่มา วารสารพัฒนาที่ดิน
ปีที่ 43 ฉบับที่ 401 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น