++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อาการถูกมอมยา...และการป้องกันไม่ให้ถูกมอมยา

ภัยสังคมมีเยอะ..บทความนี้คงมีประโยชน์สำหรับสาวๆทุกวัย...ไม่มากก็น้อยค่ะ




ปัจจุบัน มักมีข่าวเกี่ยวกับยานอนหลับซึ่งใช้ในการก่ออาชญากรรมปรากฏเป็นข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์อยู่เป็นระยะๆ จากอดีตที่เคยใช้เพียงเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์หรือเหล้าสำหรับมอมเหยื่อ เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ แต่ระยะหลังได้หันมาใช้ยานอนหลับเป็นเครื่องมือสำหรับการมอมเหยื่ออย่างง่าย ดายและรวดเร็ว เพียงอาศัยการพูดคุย ทำท่าทางให้สนิทสนม เมื่อเหยื่อเผลอจึงแอบใส่ยาลงไปในเครื่องดื่มหรืออาหาร



ยานอนหลับ (Hypnotic) ที่ถูกนำไปใช้นั้น เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีฤทธิ์ทำให้หลับ คลายกล้ามเนื้อ จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งผู้ที่มีสิทธิสั่งจ่ายได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ และผู้ที่จะใช้ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ผู้ได้รับ



ยากลุ่ม นี้ (กลุ่มเบนโซไดอาเซปีนส์ที่มีการออกฤทธิ์เร็ว) จะมีอาการง่วงซึม มึนงง เดินเซ ปวดศีรษะ และสูญเสียความทรงจำ ความจำในระหว่างที่ได้รับยาลดลง การตัดสินใจไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสั่นและฝันร้าย หากได้รับมากเกินไป หรือได้รับร่วมกับแอลกอฮอล์ อาจกดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้



การ ถูกมอมยามักเกิดจากการจงใจวางแผนของมิจฉาชีพ ดังนั้นจึงต้องระวังตนเองอยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสการถูกมอมยา โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้



1. กรณีที่ไปงานเลี้ยงหรืองานสังสรรค์ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
2. หากต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ให้ดื่มพอประมาณ เพื่อให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
3. รับเครื่องดื่มจากบุคคลหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ อย่ารับเครื่องดื่มจากผู้ที่เราไม่รู้จักดี หรือไม่สามารถเชื่อ
ใจได้ และเครื่องดื่มนั้นต้องไม่ได้ผ่านการเปิดฝามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม
สำรวจภาชนะบรรจุว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีร่องรอยถูกเจาะหรือรอยปิดด้วยเทป หากเป็นเครื่องดื่มที่ต้อง
ผสมควรไปดูการเตรียมเครื่องดื่มที่เคาน์เตอร์และรับมาด้วยตนเอง
4. ต้องมีเพื่อนไปด้วยเสมอ และเป็นเพื่อนที่แน่ใจว่าสามารถดูแลซึ่งกันและกันได้
5. ดื่มและกลืนอย่างช้า ๆ เพราะหากเครื่องดื่มถูกใส่ยาลงไป จะทำให้มีเวลาพอที่จะระวังตัวได้ทัน
6. อย่าแบ่งหรือแลกเปลี่ยนเครื่องดื่มและอาหารกับผู้อื่น
7. อย่าดื่มเครื่องดื่มที่อยู่ในจากภาชนะส่วนรวม หรือภาชนะเปิด เช่น อ่างใส่พั้นซ์ เพราะง่ายต่อการ
ถูกใส่ยา หรืออาจถูกใส่ยาไปแล้ว
8. หากรู้สึกว่ารสหรือกลิ่นของเครื่องดื่มเปลี่ยนไปจากเดิม ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มนั้นต่อ
ยามอมบางชนิดมีรสเค็ม
9. ไม่ควรละสายตาจากเครื่องดื่มของตน หากเป็นไปได้ควรใช้มือปิดที่ปากแก้วหรือภาชนะ ก่อนที่จะต้องหันไปทางอื่นหรือสนทนากับบุคคลอื่น
10. เมื่อต้องเข้าห้องน้ำหรือออกไปเต้นรำ กลับมาแล้วอย่าลืมที่จะเปลี่ยนแก้วใหม่
11.หาก เริ่มรู้สึกว่ามีอาการแปลก ๆ หรือรู้สึกเมาหลังจากดื่มไปได้เพียงเล็กน้อย ให้รีบขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ใจได้ พึงปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า เพราะอาจจะเป็นคนที่ลอบวางยาเรา



อาการที่บ่งบอกกว่าเราถูกมอมยา

* รู้สึกเมาโดยไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มเพียงเล็กน้อย
* รู้สึกมึนงงและง่วงนอนโดยไม่ทราบสาเหตุ

นอก จากนี้เราควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับยาต่างๆ ที่ใช้ในการมอมเหยื่อ ให้ทราบถึงรูปแบบการใช้และผลที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเองหรือสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้


ที่มา : ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกมอมยา โดย เภสัชกรหญิงธีรธร มโนธรรม กองควบคุมวัตถุเสพติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น