++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทานข้าวเหนียวหมูปิ้งอย่างไรให้ไกลมะเร็ง(ลำไส้)

ทานข้าวเหนียวหมูปิ้งอย่างไรให้ไกลมะเร็ง(ลำไส้)
เวลาที่เราซื้อหมูปิ้ง เคยสังเกตหรือไม่ว่า เมื่อน้ำมันหมูหยดลงบนถ่าน ก็มักจะเกิดควันลอยขึ้นมาเกาะติดที่หมูปิ้งด้วย ควันเหล่านี้นี่แหละ คือสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมัน และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญในบ้านเราทุกวันนี้
(ถ้าหายใจเอาสารPAHเข้าไปจะเกิดมะเร็งปอด ถ้ากินจะเป็นมะเร็งลำไส้)
ถ้าเลี่ยงได้ก็จะดีแต่หากอยากทาน ห้ามใจไม่ไหว ก็ลองปฏิบัติตามคำแนะนำนี้นะครับ
1 เลือกซื้อหมูปิ้งที่ไม่ติดมัน และไม่ไหม้เกรียม หรือตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้มากที่สุดก่อนรับประทาน
2 เลือกรับประทานอาหารประเภทอื่นบ้าง เพื่อลดโอกาสในการสะสมสารก่อมะเร็งที่ได้จากอาหารปิ้ง ย่าง
3 นำเนื้อสัตว์เข้าเตาไมโครเวฟ 1 - 2 นาที จะพบว่ามีน้ำจากเนื้อสัตว์ออกมา ให้เทน้ำนั้นทิ้ง แล้วจึงนำไปปิ้ง หรือย่าง เนื่องจากครีอะตินีนจะออกมากับน้ำดังกล่าว เมื่อครีอะตินีนลดลง การเกิด Heterocyclic amine ก็จะน้อยลง
4 ควรใช้ไฟอ่อนๆ และใช้อะลูมินัมฟรอยด์ หรือใบตองห่อ ก่อนนำไปปิ้ง ย่าง
5 ผู้ที่มีอาชีพในการปิ้ง ย่างอาหารขาย ควรติดตั้งพัดลมในครัวเพื่อขจัดควัน เป็นการลดความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากการสูดดมสาร PAH และ Heterocyclic amine เข้าสู่ร่างกาย
6 หันมาใช้เตาไฟฟ้า (ไร้ควัน) ซึ่งสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน
7 เนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง หมูแห้ง ปลาเค็ม หมูเค็ม ปลาแห้ง กุนเชียง ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อช่วยรักษาสภาพของเนื้อสัตว์ และลดการเกิดสาร secondary amine
8 ควรบริโภคผัก และผลไม้เป็นประจำทุกวัน เพื่อทำให้ระบบการขับถ่าย และการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการศึกษาพบว่า ถ้ากินผลไม้ทันทีหลังมื้ออาหาร วิตามินซีในผลไม้จะช่วยลดการเกิดสารประกอบไนโตรซามีนขึ้นในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
• ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น