++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีล้างพิษปอดจากบุหรี่


บุหรี่เป็น 1 ในมลพิษที่เราเป็นคนเลือกสูดเข้าไปเอง จากสถิติในอเมริการะบุว่า จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดเป็นสัดส่วนถึง 25% สารคาร์บอนจากควันบุหรี่จะทำให้เกิดการรวมตัวของอนุมูลอิสระที่คอยบ่อนทำลายเซลต่างๆ ในร่างกาย ไม่ต่างจากคาร์บอนในท้องถนน แต่บุหรี่เป็นสิ่งที่เราสูดเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ดังนั้นคาร์บอนที่เข้าไปจะเข้มข้นมาก จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและเซลปอดที่บอบบางจนเกิดอนุมูลอิสระสะสมจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะมีวิธีการล้างพิษจากบุหรี่แล้ว คุณก็ควรที่จะเลิกบุหรี่ด้วย ซึ่งหากทำตามโปรแกรมเหล่านี้แล้ว ควบคุมอาหารและเสริมอาหารที่จำเป็น คุณก็จะเริ่มเบื่อบุหรี่ไปได้เองด้วย เริ่มต้นกันเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 ล้างพิษ 3 วัน
วิธีนี้สามารถใช้เลิกบุหรี่แบบหักดิบได้ค่ะ

วันที่ 1
1. ดื่มน้ำแครอทคั้น 1 แก้ว (300มล.) สลับกับน้ำส้มคั้น 1 แก้ว ทุก 1 ชั่วโมง แต่ไม่ควรดื่มน้ำทั้ง 2 อย่างผสมกัน เพราะผลไม้ที่เป็นกรดเมื่ออยู่รวมกับผักแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาการย่อยได้
2. กินสลัดที่ทำจากผักกาดเขียวหรือร็อคเก็ต แครอท และบีทรูท (ขูดฝอยถ้ามีเวลา) และอโวคาโดครึ่งผล ส่วนน้ำสลัด ให้ผสมน้ำมันมะกอกครึ่งช้อนชากับน้ำมะนาวคั้นสดครึ่งผล หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์เล็กน้อย
3. ถ้าตอนเย็นรู้สึกหิว ให้ทำซุบผักต้านอนุมูลอิสระรับประทาน ประกอบด้วยแครอท ฟักทอง บร็อกโคลี ดอกกะหล่ำ หอมหัวใหญ่ และกระเทียม

วันที่ 2
1. เหมือนกับวันที่ 1 แต่อาจดื่มน้ำซุปผักต้านอนุมูลอิสระทุก 2 ชั่วโมงเพิ่มได้ แต่อย่าดื่มพร้อมน้ำผลไม้ หรืออาจลองทำผักบดรับประทานก็ได้ ใช้ผักที่แนะนำในข้างต้นโดยเพิ่มผักสีเขียวไปด้วย ถ้าท้องผูกให้เติมวิตามินซีผง ชงดื่มกับน้ำผลไม้ครั้งละ 1 ช้อนชาวันละ 3 ครั้ง
2. ถ้าไม่ชอบซุปฟักทองอาจเปลี่ยนเป็นซุปดอกกะหล่ำ ใส่บร็อกโคลี หอมใหญ่ เทอร์นิปและกระเทียมได้ โดยใส่ฟักทองเพิ่มอีกนิดหน่อย และพยายามกินสลัดผักสดให้มากที่สุด เพื่อช่วยกระตุ้นการล้างพิษของตับและการขับน้ำดีที่จะช่วยกำจัดพิษที่คั่งค้างออก

วันที่ 3
1. ให้กินอาหารเหมือนวันที่ 2 และเริ่มทำความสะอาดตับอย่างนุ่มนวลด้วยการดื่มชาแดนดิไลออนและชาเซนต์แมรี่ส์ธิสเทิล
2. สำหรับคนที่ล้างพิษใหม่ๆ น้ำผักล้างพิษอย่างน้ำแครอท บีทรูท และผักโขมอาจแรงไปซักนิดอาจต้องอาศัยน้ำผลไม้ที่น่าจะมีฤทธิ์อ่อนกว่า หรือทำซุปผักทานง่ายๆ ก็ได้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 2 เสริมสร้างสุขภาพ
ในขั้นตอนนี้ไม่มีอาหารที่ต้องงดเป็นพิเศษ แต่ต้องพิจารณาสิ่งที่กินแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารพิษออกไป
1. กินผักและผลไม้สีส้มให้ได้วันละ 2 มื้อ และควรดื่มน้ำคั้นเข้มข้นจากผักและผลไม้เหล่านี้ต่อไป ดื่มน้ำส้มหรือส้มสดทุกวัน
2. ดื่มน้ำแครอทคั้นหรือแครอทสดทุกวัน อาจเพิ่มบีทรูท ผักใบเขียวหรือขิงได้
3. กินอโวคาโด 1 ผล ทุก 2 วัน
4. ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันวีทเจิร์มหรือทั้ง 2 อย่างผสมกันทำน้ำสลัดหรือกับข้าวจากผัก
5. กินโปรตีนหลายๆ อย่าง แต่ไม่ควรกินโปรตีนจากสัตว์มากเกินไปพยายามเน้นปลาทะเลลึกเช่น ทูน่า แซลมอน ปลาค้อด ปลาซาร์ดีน
6. ควรเพิ่มส่วนผสมถั่วเมล็ดแข้งในอาหารประเภทซุปมเนสโตรเน่ด้วย ทานสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 3 เสริมอาหาร
รายการเสริมอาหารที่ควรจัดไว้ในแผนการกินเมื่อคุณเริ่มต้นขั้นตอนที่ 2
1. กินวิตามินต้านอนุมูลอิสระ 1 เม็ด วันละ 1-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย คนที่อาศัยในเขตอุตสาหกรรมควรกินอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระให้มากกว่านี้
2. ดื่มชาเขียววันละ 2-3 ถ้วย ถ้าเป็นแคปซูลให้กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครั้ง
3. ดื่มชาแดนดิไลออนทุกวัน
4. กินเซนต์แมรี่ส์ธิสเทิลชนิดเม็ดวันละ 1 ครั้ง จะลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีด้วย
5. วิตามินซีผง ชงดื่มวันละ 1 ช้อนชา
6. แมกยีเซียมผง 1 ช้อนชา วันละ 1-2 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 2 เสริมสุขภาพ
กุญแจสำคัญในขั้นตอนนี้คือรับประทานวิตามินซีมากๆ ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินจำนวนมากทุกครั้งที่เราอัดควันบุหรี่เข้าปอด วิตามินซีจะไปช่วยป้องกันเนื้อเยื่อปอดไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายๆ ชงวิตามินซีแบบผงดื่มอย่างน้อยวันละ 3-4 กรัม ใน 6 สัปดาห์แรก เพราะดูดซึมได้ง่ายถ้าท้องร่วงให้ลดปริมาณลง

อย่าลืม
1. ดื่มน้ำมะนาวคั้น 1 ผลผสมน้ำสะอาดและน้ำผึ้งเป็นประจำทุกวันเพื่อลดเสมหะหลังเลิกบุหรี่
2. กินอาหารต้านอนุมูลอิสระตามรายการในหัวข้อล้างพิษจากมลภาวะ ดื่มน้ำส้มคั้นมากๆ ทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จากนั้นลดลงเหลือ 2 วันครั้ง
3. ปลาสดที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ปลาแซลมอน ปลาค้อด และปลากซาร์ดีน เพื่อเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
4. อาหารรสเผ็ดและฉุนอย่างมัสตาร์ด จะช่วยขับเสมหะออกจากปอดและทำให้โพรงไซนัสโล่งขึ้น
5. เติมสะระแหน่ลงในสลัด เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจสดชื่นและความคิดปลอดโปร่ง
6. กินของว่างทีละน้อยแต่บ่อยๆ เพื่อชดเชยเวลาที่หยิบบุหรี่ขึนมาสูบ
7. แปรงฟันทุก 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อลดอาการอยากบุหรี่
8. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อชะล้างพิษออก

ขั้นตอนที่ 3 เสริมอาหาร
รายการเสริมอาหารที่ควรจัดไว้ในแผนการกินเมื่อเริ่มต้นขั้นตอนที่ 2
1. วิตามินซีผงที่เสริมไฟโอฟลาโวนอยด์ 1 ช้อนชา ชงดื่มกับน้ำสะอาดหรือน้ำผลไม้ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
2. วิตามินอีขนาด 500 หน่วยสากล วันละ 1-2 ครั้ง (คนที่กำลังกินยาแก้โรคหัวใจหรือยาละลายลิ่มเลือดควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
3. น้ำมันปลาแซลมอนชนิดแคปซูลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 กินครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง
4. วิตามินบีคอมเพลกซ์ (บี1 และ บี2) เพื่อป้องกันอารมณ์หงุดหงิดเมื่อจากนิโคติน โดยกิน1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ เมื่อรู้สึกดีขึ้นให้ลดเหลือวันละ 1 ครั้ง
5. ดื่มชามิ้นต์ชนิดใดก็ได้ เช่นชาเปปเปอร์มินต์ หรือชาขิงเพื่อขับเสมหะ
6. นักสมุนไพรบำบัดอาจช่วยจัดเครื่องดื่มบำรุงจาก อิเลคามเพน (ขับเสมหะ) เอคินาเซีย (ฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน) เฟนูกรีก (ลดเสมหะในทรวงอก) ขิง (ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ปอด) เปปเปอร์มินต์ (ช่วยให้ปอดโล่ง) ข้าวโอ๊ต (ลดความอยากนิโคติน) คาโมมายล์ (ลดอาการหงุดหงิดและฟื้นฟูเส้นประสาท) โรสแมรี่ (ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นสมองส่วนความจำ) ผสมสมุนไพรข้างต้นในปริมาณเท่าๆกัน ดื่มครั้งละ 1 ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง ตลอด 6 สัปดาห์และดื่มต่ออีกอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์
******* *******
เครดิต: เรื่อง ชีวอโรคยา นำมาจาก www.ladytip.com
ภาพ: ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น