++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

10 อันดับ "ผักรักษาโรค"


1. เห็ดหอม มีรสหวาน มีกลิ่นหอม มีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลในเลือด รับประทานเป็นยาบำรุงกำลังช่วยย่อย ลดอาการเบื่ออาหาร
2. งา มีกลิ่นหอม มีน้ำมันมาก สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ท้องผูก ผมหงอกก่อนวัย ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และเสริมภูมิต้านทานโรค ผู้มีท้องร่วงเรื้อรัง ไม่ควรรับประทาน
3. ถั่ว มีคุณค่าอาหารครบถ้วน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ
4. ขี้เหล็ก ใช้ใบรับประทาน ทำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูก และบำรุงร่างกาย
5. ตำลึง เป็นไม้เถา ใช้ใบรับประทาน เป็นพืชมีคุณค่าสูง เหมาะเป็นอาหารบำรุง นอกจากนี้ตำลึงยังมีคุณสมบัติแก้แพ้ได้ดี โดยนำใบมาพอกบริเวณโดนสัตว์กัดต่อย
6. มะระ เป็นผักจำพวกแตง มีรสขม เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย มีการทดลองกินมะระลดน้ำตาลในเลือดได้ (ส่วนเม็ดมะระจีนแก่จัดตากแห้งแกะเปลือกนอกออก นำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำร้อนกินวันละครั้งก่อนนอน จะแก้อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้)
7. ผักกาด มี 3 ชนิด ผักกาดขาว ผักกาดเขียว และผักกาดหอม ต่างมีสารอาหารเกลือแร่วิตามินครบบริบูรณ์ และมีเส้นใยอยู่จำนวนมาก รับประทานป้องกันอาการท้องผูก ลดการเป็นมะเร็งลำไส้ ส่วนผักกาดหอมสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค
8. มะเขือ มีอยู่ 3 ชนิด เปลือกสีเขียว สีม่วง และสีขาว พบว่าเปลือกสีม่วงและสีขาวมีคุณภาพดีกว่าสีเขียว ในมะเขือมีวิตามินบี 1 จำนวนมาก ช่วยเสริมการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดอาการอ่อนเปลี้ยของสมอง ในมะเขือยาวนี้มีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินมากกว่ามะเขือเทศ รับประทานช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด
9. ปวยเล้ง เป็นผักสีเขียวเข้ม มีเส้นใย เกลือแร่ วิตามินซี กรดออกซาลิกจำนวนมาก ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียมจะทำให้เกิดนิ่วได้ ก่อนบริโภค ควรลวกให้สุกก่อน จึงนำมาปรุงอาหาร รับประทานเพื่อยับยั้งการดำเนินของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
10. แค รับประทานดอกชนิดสีแดงและสีขาว มีสรรพคุณลดไข้ ส่วนใบแครับประทานเป็นยาระบายได้
11. หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย มีธาตุเหล็ก จึงบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง และยังคงลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ การนำมาปรุงอาหารได้แก่ ยำหัวปลี หรือรับประทานสดก็ได้

การปรุงอาหารผักให้ได้คุณค่า
- การรับประทานผักต้ม จะต้องรับประทานน้ำแกงด้วย การต้มควรจะต้มในน้ำน้อยๆ และใช้เวลาสั้นๆ
- การปรุงอาหารจำพวกผัก ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร และรักษาวิตามินซีไว้ด้วย
- เครื่องครัวที่ใช้ผัดหรือต้มผัก ควรเป็นพวกเหล็ก เพราะจะทำให้วิตามินสูญเสียน้อยกว่าพวกทองแดง
******* *******
เครดิต: เรื่อง ชีวอโรคยา นำมาจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/october45/know/vegetable.html

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772

1 ความคิดเห็น: