หลายครั้งที่เคยได้ยินการรายงานข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วม หลายคราวมักจะได้ยินผู้บรรยายข่าวระบุว่า เป็นเหตุน้ำท่วมในรอบหลายสิบปี หรือ บริเวณที่เกิดอุทกภัยเหล่านั้นไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อนเลยก็มี สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำ
แน่นอนว่าสำหรับคนที่ไม่เคยประสบพบเจอกับปัญหาอาจจะเตรียมตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อน้ำท่วม แต่สำหรับอีกหลายคนที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ เขามีการเตรียมตัวอย่างไรลองไปดูวิธีเหล่านั้นกัน
พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น
หากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสกปรกลงไปในน้ำ
จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้สำหรับบริโภค ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือจัดหาเครื่องกรองน้ำมาติดตั้ง เพราะเมื่อน้ำท่วมเราไม่ควรใช้น้ำประปามาบริโภค เนื่องจากอาจจะมีสิ่งสกปรกปะปนมากับน้ำปะปา
จัดเตรียมเวชภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูปที่สามารถรจัดเตรียมได้ง่าย เช่น อาหารกระป๋อง เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม อาจจำเป็นต้องมีการตัดกระแสไฟ และไม่สามารถหุงหาอาหารได้
ถ้าหากไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเมื่อ เกิดน้ำท่วมแล้วจะทำอย่างไร เมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วเราจะแก้ไขได้ลำบากเพราะระบบอุปโภค และสาธารณูประโภค จะใช้งานไม่ได้ สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะมีราคาสูงขึ้น จนถึงขาดตลาด ดังนั้นการเตรียมตัวป้องกันจึงเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด
ที่มา : บ้านและสวน
การรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม
มีคำแนะนำสำหรับผู้ประสบอุทกภัย และผู้ที่อยู่ในพื้นที่สุมเสี่ยง ว่าควรปฏิบัติตัวและเตรียมการ ดังนี้
หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นเพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โทร 1784
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา
โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ
โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา
โทร.044214334-5 หรือ CallCenter 1129
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่
โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200,
037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24
ข้อมูล : จากสำนักงานบรรเทาทุกข์ และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น