จะกินอิ่มแต่ไม่อร่อยหรือจะกินอร่อยแต่ไม่อิ่ม
เรื่องกินเรื่องใหญ่เรื่องตายเรื่องเล็ก ถ้าจะพิจารณากันให้ดีในสังคมไทยดูเหมือนจะจริง และมีอีกหลายๆประเทศก็เป็นเช่นนั้น ยกเว้นในประเทศที่อดอยากในทวีปแอฟริกาที่ขอให้มีกินเท่านั้นเป็นพอ เพราะที่มันเดือดร้อนถึงตายเนื่องจากไม่มีกิน
และที่มีผู้คนกล่าวว่าเมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกหรือครัวของโลกก็น่าจะจริงเพราะประ เทศไทยส่งออกข้าวและยางพารามากที่สุดในโลก รวมทั้งส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ไก่แช่งแข็งอีกเป็นจำนวนมากติดอันดับโลกเช่นกัน
ความั่งมีในภาคพื้นเกษตรกรรมและปศุสัตว์ทำให้มีผลต่อความอิ่มหนำสำราญของผู้คน ในประเทศนี้เป็นอย่างมาก จึงมีคนพูดว่าเมืองไทยในน้ำมีปลาในนามีข้าว แม้จะเปลี่ยนจากระบบธรรมชาติมาเป็นฟาร์มมิ่ง หรือที่เลี้ยงกันและทำกันเป็นอุตสาหกรรมก็ตาม
จากเหตุผลข้างต้นที่มีของเหลือกินเหลือใช้ในเมืองไทยสไมล์แลนด์ จึงพอจะกล่างอ้างได้ว่าคนไทยเห็นเรื่องกินเเป็นเรื่องใหญ่ แม้กระทั่งการดื่มสุราของคนไทย ก็ไม่น้อยหน้าคนบนโลกในประเทศไหนๆก็ตาม เพราะก็ติดอันดับโลกเช่นกัน แถมติดอยู่แถวหน้าๆด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะโศกเศร้า ดีใจ เฉลิมฉลองอะไร คนไทยมักหันหน้าไปทางดื่มกิน
แม้กระทั่งผู้คนที่คิดทำการค้าอะไรไม่ออก ก็หันมาลงที่การทำอาหารหรือการทำขนมขาย เกิดฝีมือไปติดปากติดใจชาวบ้าน ร่ำรวยทันตาเห็นก็มีไม่น้อย
ในเมืองไทยจึงมีรายการทีวีที่มีการชวนชิมเต็มหน้าจอทีวีไปหมด ดาราหลายคนแทบจะเป็นกูรูในการกิน รับรองว่าอร่อย แล้วผู้คนที่ดูรายการก็แห่กันไปอุดหนุนร้านอาหารที่ออกรายการจนแน่นร้าน ไม่ว่าจะอยูในซอกมุมไหนของประเทศนี้
การกินเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรษที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แม้กระทั่งในยุคสมัยนี้ที่วัฒนธรรมการกินของคนบนโลกถึงกันไปหมด จึงมีอาหารนานาชาติให้เลือกในทุกมุมของโลก ยกตัวอย่างอาหารญี่ปุ่น ถ้าเราอยากกินที่ไหนๆก็แทบจะมีให้กิน แม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อข้างถนน ก็ยังมีเมนูจากแดนปลาดิบให้อิ่มอร่อยสบายท้อง
การสรรหาอาหารเพื่อการกินทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่รู้จักหมดของผู้คน ทำให้เห็นว่าการกินเป็นส่วนหนึ่งที่แต่เดิมกินเมื่อจำเป็น แต่ในยุคปัจจุบันการกินเป็น การเสพติดอาหารอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะกินอาหารเพื่อดำรงชีวิตอยู่ เพื่อสร้างเลือดเนื้อและซ่อมแซมร่างกายแล้ว การกินยังพัฒนาเป็นศาสตร์และศิลป์ของกินด้วยในยุคปัจจุบัน
ที่ว่าเป็นศาสตร์ เพราะเกิดจาการเรียนรู้และปรุงแต่งว่าจะกินอะไรกับอะไร แล้วดื่มอะไร เช่นไวน์ขาวกินกับปลา ในส่วนของเศิลปะ มีการแต่งหน้าอาหารให้เกิดความสวยงาม จรรโลงใจในการกิน จึงมีศิลปะตกแต่งอาหารเกิดขึ้น ไม่ว่าอาหารชาติไหนๆ
การกินทุกวันนี้จึงเลยเถิดจากคำว่าอิ่มไปมาก เพราะมีการปรุงแต่งสี กลิ่น รสอาหารให้วิจิตรพิศดารเหลือจะกล่าว เพิ่มความเอร็ดอร่อยทางปาก ไปทางตาและทางใจ
มีนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดหลายต่อหลายท่าน ฟังผู้เขียนคุยกับหมอในเรื่องของความอร่อย แล้วนิ่งฟังอย่างสนใจ
ผู้เขียนพูดว่าอร่อยมันมีสองชั้นคืออร่อยปากและอร่อยใจ อร่อยปากเป็นการอร่อยครั้งแรกเมื่อได้ลิ้มรสอาหารจนเพลิดเพลิน จนเก็บรสชาติเช่นนั้นไว้ในใจ ในทางพุทธศาสนาอธิบายว่า เมื่อลิ้นลิ้มรสแล้วเกิดเวทนาคือชอบหรือไม่ชอบ ชอบก็คืออร่อย ไม่ชอบก็คือไม่อร่อย พอชอบอันนั้นก็เกิดการจำรสชาติแอาหารนั้นได้อีกทีหนึ่งอย่างรุนแรง สัญญาที่แสดงความอร่อยในอาหารนั้นกระทบกับใจ จนติดในใจเป็นครั้งที่สอง กลายเป็นของโปรด เกิดความยึดถือว่าอร่อยสุด แล้วก็พาใจดิ้นรนขวนขวายที่จะแสวงหามันมากินอีกทีแล้วทีเล่า นี่คือฤทธิ์และพิษสงของกิเลส ที่มีความอร่อยเป็นสิ่งตอบแทนให้เกิดตัณหาหรือความอยาก
ความอร่อยในชั้นที่สองยังตามติดตาติดใจเป็นสัญญาหรือความจำได้หมายรู้ว่า อาหารร้านนี้อร่อย ทั้งๆที่ยังไม่ได้กินเลย แค่นึกถึงน้ำลายก็เริ่มสอหรือน้ำลายเริ่มจะหกออกจากปากแล้วเพราะความอยาก
กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าผู้คนสมัยนี้หรือสมัยไหนก็ตาม ถ้ายังแสวงหาอาหารเพื่อความอร่อย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริโภคที่เกินพอดี หรือกินเกินอิ่ม
สิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากินเกินอิ่มก็คือเส้นรอบเอวที่เกินมาตราฐานและพุงที่ปลิ้นออกมาเป็นหลักฐาน แต่มักมีคำกล่าวแก้เก้อว่ากินดีอยู่ดี แต่หากใช้ศัพท์ชาวบ้านน่าจะใช้คำว่าตะกละจะลงตัวและชัดเจนที่สุด
ครูบาอาจารย์สายวัดป่าท่านจึงนำภุัตตาหารที่ผู้คนเขาถวายเทลงใส่ในบาตร ทั้งของ คาวและหวาน บ้างก็คลุกปนกัน แล้วก็ฉันในบาตรนั้น เพราะท่านมีความประสงค์จะกำราบกิเลสหรือความอยากได้อยากมีอยากเป็นและการหลงในรสชาติของภัตตาหารนั้น เพราะท่านกินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน ท่านไม่ว่าว้าวุ่นหรือวุ่นวายกับการแสวงหาอาหารเลิศรสแต่อย่างใด ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้เราชาวพุทธบริษัทได้เป็นเยี่ยงอย่าง
การปฎิบัติหากไม่เริ่มแต่สิ่งเล็กน้อยไหนเลยจะไปถึงสิ่งที่ยากลำบาก เพื่อที่จะหลุดพ้นจากทางรกหรืออบายอันหมายถึงที่หาความเจริญไม่ได้ ตั้งแต่ภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกายและนรก
การกินเพื่ออยู่ มีความหมายมากกว่าที่พูดอีกมากมาย นับตั้งแต่รักษาร่างกายเพื่อให้เกิดความสมดุลและพอดีที่จะประพฤติปฎิบัติให้ล่วงไปจากทุกข์ โดยใช้สติคอยกำกับ ไม่ใช่เพราะอยากกินและดิ้นรนแสวงหาเหยื่อล่อของกิเลสที่มีเบ็ดซ่อนอยู่ หากงับหยื่อเมื่อไรเ็บ็ดหรือความทุกข์ที่ซ่อนอยู่ มันก็ทิ่มตำเหงื่อหรือปากทันที
มีผู้ฝึกใจในการกินเล่าให้ฟังว่า ในหนึ่งอิ่มของท่าน ใช้อาหารเพียงสิบเก้าคำเท่านั้นเป็นพอ ไม่รวมน้ำดื่มอีกอึกหรือสองอึก
การกินหรือเสพติดอาหารใช่ว่าจะสุขเสมอไป เพราะมันต้งอแสวงหา หากได้กินใจก็ฟูที่เรียกว่าความสุข หากไม่ได้กินใจก็แฟ่บที่เรียกกันว่าความทุกข์ เพราะมันไม่ได้ดังใจ
พระท่านจึงว่าความอยากที่มีความหลงมันเป็นกิเลส หากความอยากที่ปราศจากความหลงหรือมีปัญญา ท่านเรีกว่าบารมี
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดอโศกการามว่ามีโยมท่านหนึ่งเอาโสมชั้นดีไปถวายให้ท่านบำรุงร่างกาย แต่ท่านกลับนำมาแจกจ่ายให้ญาติโยม แบ่งปันกันไป พอหมดแล้วท่านก็พูดว่าหมดห่วงเสียที ของดีๆไม่ต้องมีไว้ห่วงและไม่ต้องคอยเก็บไว้ฉัน นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งเกิ่ยว กับการกิน สำหรับครูบาอาจารย์ที่ท่านเห็นว่าสักแต่ว่ากิน
ครูบาอาจารย์ท่านจึงให้ท่านทั้งหลายสังวร สำรวมในอินทรีย์ศีลคือารสำรวมระวังในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจจนธรรมเป็นใหญ่เกิดกำลังทางใจทั้งห้าที่เรียกว่าพละห้า อันมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ( ความเชื่อมั่นและเลื่อมใส ความเพียร ความระลึกได้ ความตั้งมั่นของจิต และความรู้ตามความเป็นจริง ) หากพละห้าสูงสามารถส่งผลให้บรรลุธรรมได้ทีเดียว
การเป็นคนที่แสวงหาแต่การกิน ชีวิตก็หมดเปลืองไปเปล่าๆในการแสวงหานั้น อย่ากร ะนั้นเลยแม้กระทั่งคำถามพาดหัวแก่นธรรมตอนนี้ หลายๆคนยังตอบไม่ได้ว่าจะกินอิ่มแต่ไม่อร่อย หรือจะกินอร่อยแต่ไม่อิ่ม แต่คนที่ได้กินทั้งอิ่มและอร่อยอย่านึกว่าท่านเลิศกว่าคนอื่นนะครับ พญามัจจุราชยังหายใจจ่อรดคอท่านอยู่เสมอ ธรรมะสวัสดีครับ
หนึ่ง
อะไรที่มันพอดีมันก็จะดีพอ การกินมากเกินไปเพราะขาดสติทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามติดตัวมามากมาย ตั้งแต่เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจฯ การกินให้พอดีก็ไม่ทำให้ทุกข์กายทุกข์ใจมากนัก คำว่าพอดีจึงเป็นธรรมะที่ถูกต้องเสมอ ใจที่พอดีเป็นใจที่เห็นธรรม พร้อมแล้วในสมมุติและน่าที่จะยกไปสู่วิมุตติหรือการหลุดพ้นได้ หากมีคำว่าพอในทุกหย่อมหญ้า โลกจะเกิดสัันติสุขอย่างน่าอัศจรรย์ใจราวกับโลกของพระศรีอารย์ทีเดียว อย่างน้อยใจก็แน่นปั๋งควรแก่การงานมากหลายแล้ว ขออนุโมทนากับบทความนี้ ว่างๆส่งมาใหม่นะครับ
สะมะชัยโย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น