++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เอาใจ! คนชอบทานเต้าหู้ ด้วยเทคนิคยืดอายุ จากนักวิจัยมทร.ธัญบุรี

เอาใจ! คนชอบทานเต้าหู้ ด้วยเทคนิคยืดอายุ จากนักวิจัยมทร.ธัญบุรี

หน้าฝนในปีนี้ นักวิจัย มทร.ธัญบุรี มีเคล็ดลับยืดอายุเต้าหู้ มาฝากท่านที่ชื่นชอบรับประทานอาหารที่มีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ ด้วยงานวิจัยไคโตซาน จากเปลือกกุ้ง ปู ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเต้าหู้ให้นานขึ้นเท่าตัวเลยทีเดียว
โดยปกติเต้าหู้ทั่วไปจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3-4 วันหลังจากนั้นก็จะเริ่มเน่าเสีย เนื่องจากเต้าหู้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความชื้นสูง ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน แม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น ด้วยเหตุนี้ทำให้ ดร.อนันต์ บุญปาน, ผศ. ดร. สิริแข พงษ์สวัสดิ์, อ.ประภาพร พงษ์ไทย และ อ. ศกุนตลา สายใจ จากสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัย การนำไคโตซานมาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาเต้าหู้

ดร.อนันต์ และทีมวิจัยเปิดเผยว่า ไค โตซานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติ เป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งเตรียมได้จากกระบวนการดีอะซิติลเลชั่น(deacetylation) ของไคติน(chitin) ที่สามารถสกัดได้จากเปลือกของสัตว์น้ำ จำพวก กุ้ง และปู ซึ่งไคโตซานมีคุณสมบัติโดยทั่วไปในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ จุลินทรีย์ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ไม่มีพิษ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
"จากการทดลองเติมไคโตซานลงในเต้าหู้ ที่ความเข้มข้น 0, 0.101 ,0.02 และ 0.03 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) พบว่า คุณภาพทางด้านเคมี ด้านกายภาพ และประสาทสัมผัสของเต้าหู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุให้เต้าหู้เกิดการเสื่อมเสียมีจำนวนลดลง เมื่อเทียบกับเต้าหู้ที่ไม่ได้เติมไคโตซาน"

ทีมวิจัยกล่าวต่อไปว่า การใช้ไคโตซาน ที่ 0.01 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ร่วมกับ การผลิตเต้าหู้จะมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเต้าหู้ได้เป็นเวลาถึง 12 วัน ซึ่งมีความเป็นไปได้หากจะใช้ไคโตซานร่วมกับการผลิตเต้าหูในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

ทั้งนี้ช่วงเทศกาลกินเจ การบริโภคเต้าหู้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับผู้บริโภค พ่อค้า แม่ขาย รวมไปถึงบรรดาแม่บ้านก็จะสบายใจได้ว่า สามารถเก็บเต้าหู้ไว้ปรุงอาหารได้นานขึ้น ไม่ต้องกังวัลว่าจะเกิดการเน่าเสีย หรือนำมารับประทานไม่ทัน ด้วยไอเดียดีๆ เหล่านี้แล้วละค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น