เตือนวางมือถือเปิดเครื่องไว้หัวเตียงเสี่ยงรับคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้า 24 ชั่วโมง
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
เปิดเผยว่าเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา IARC หรือ International Agency for Research on Cancer
ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ให้เหตุผลของการจัดให้
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือ เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง
ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งแล้วยังพบข้อมูลที่
น่าสนใจว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใ
ช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง 100 เท่า และการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสาย หรือหูฟังจะช่วยลดการ
ได้รับพลังงานที่สมองลงประมาณร้อยละ 10 แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอดเวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน
และผลการรายงานยังพบว่า เครื่องโทรศัพท์ 3G ปล่อยพลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์ GSM เฉลี่ยประมาณ 100 เท่า
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า การถือโทรศัพท์แนบหูทำให้เกิดการดูดซับพลังงานที่สมอง ซึ่งปริมาณการดูดซับขึ้น
อยู่กับการออกแบบตัวเครื่อง
และเสาอากาศ ลักษณะการใช้ และระดับสัญญาณระหว่างตัวเครื่องและสถานีฐาน สมองเด็กจะไ
ด้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 2 เท่า และไขกระดูกของกระโหลกศีรษะเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 10 เท่า
นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า กลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1,640 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ต่อการเป็นมะเร็งสมองชนิด เนื้องอกในสมอง ข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับคลื่นสูงที่สุด
นายประวิทย์ เปิดเผยด้วยว่า จากรายงานดังกล่าวผนวกกับผลสำรวจของสบท.ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอัญสัมชัญ
หรือเอแบคโพล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นสัญญาณ
ที่นอกจากการใช้งานคือพบว่า ร้อยละ 64.5 นิยมวางโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ที่หัวเตียงพร้อมกับเปิดเครื่องไว้ใน
เวลานอน ร้อยละ 41.6 ใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋ากระโปรง และร้อยละ 23.7 นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าพกพา
ดังนั้นจากข้อมูลที่พบ หากไม่ใช้ก็ควรไว้ให้ห่างตัวโดยเฉพาะศีรษะ โดยไม่ควรวางไว้ที่หัวเตียงและเปิดเครื่องทิ้งไว้
เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น