++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ตัณหา

ความรู้สึก ทำให้เกิดตัณหา
เมื่อเราสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รับอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เข้ามาทางอายตนะ 6
เกิดความรู้สึก ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา มันก็เกิดตัณหา

ตัณหานี่แหละ พระพุทธเจ้าก็ให้ระวัง
เพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ให้ละอันนี้ ละเหตุ ละตัณหา
เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรม ต้องติดตามความรู้สึกตลอด
แล้วก็ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น

ความรู้สึกเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เอาสติสัมปชัญญะมาระวัง
ถ้าไม่ยึด..... ก็จะ ดับๆ ๆ ๆ ๆ ไม่มีโอกาสที่กิเลสจะตั้งอยู่ได้
หรือว่า เมื่อเกิดความรู้สึกรุนแรงแล้ว
เราก็ต้องมีความพอใจที่จะต่อสู้ความรู้สึกอันนี้

ความรู้สึกไปทางราคะก็มี
ความรู้สึกไปทางโทสะก็มี
ความรู้สึกไปทางโมหะก็มี

เราก็ใช้ปัญญามาพิจารณาดู
การปฏิบัติธรรมก็เพื่อต่อสู้ความรู้สึกอันนี้ เพื่อระงับอันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น