++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

อนิรุทธ์คำฉันท์ - วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา



            ทำนองแต่ง  - แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ นอกจากนี้ยังมีร่ายสุภาพแทรกอยู่ด้วย
            เรื่องย่อ - พระอนิรุทธ์ หลานพระกฤษณะแห่งทวาราวดี ยกกองทัพออกไปล่าสัตว์ ได้ประทับแรมใต้ต้นไทรใหญ่ ก่อนบรรทมได้กล่าวสดุดี พระไทรเทพารักษ์ พระไทรเมตตาร่ายมนต์สะกดอุ้มไปสม นางอุษา ธิดาท้าว พานาสูร แห่ง โสนินคร  พอใกล้รุ่งพระไทรพาพระอนิรุทธ์ไปไว้ยังป่าดังเดิม พระอนิรุทธ์เศร้าโศกพระทัยแล้วยกทัพกลับเมือง นางอุษาให้ นางพิจิตรเลขา พระพี่เลี้ยงวาดภาพเทพกษัตริย์ทั่วสามภพ พอถึงรูปพระอนิรุทธ์นางก็จำได้ พระพี่เลี้ยงจึงเหาะมาสะกดพาพระอนิรุทธ์ไปยังโสนินคร ความทราบถึงท้าวพานาสูรผู้บิดาของนาง จึงสั่งให้ทหารมาล้อมจับพระอนิรุทธ์และแผลงศรมัดพระอนิรุทธ์ได้ ขณะนั้น  พระนารถฤษี พระสหายของพระกฤษณะเหาะผ่านมาพบจึงนำความไปแจ้งพระกฤษณะ พระกฤษณะยกกองทัพมาปราบ ท้าวพานาสูรเกือบถูกพระฤษณะประหาร พระศิวะขอชีวิตไว้ พระกฤษณะตัดแขนหนึ่งพันแขนของท้าวพานาสูรออกเหลือเพียงสองแขน และให้เป็นนายทวาร พระอนิรุทธ์และนางอุษาได้อยู่ร่วมกันเป็นสุขต่อมา

            ข้อคิดเห็น - ศรีปราชญ์ได้เค้าเรื่องในการแต่งอนิรุทธ์คำฉันท์มาจากมหากาพย์ ภารตะ ซึ่งเป็นคติฝ่ายพราหมณ์ แตกต่างกับสมุทโฆษคำฉันท์ ซึ่งเป็นเรื่องในชาดกทางพระพุทธศาสนา แต่ตอนต้นดำเนินเรื่องเลียนสมุทโฆษคำฉันท์ คือ ตอนลานาง ล่าสัตว์ เทวดาอุ้มสม และพระพี่เลี้ยงวาดรูปเทพและกษัตริย์ และมีบางตอนเลียนอย่างลิลิตพระลอ เช่น บทชมโฉมพระอนิรุทธ์ อนิรุทธ์คำฉันท์มีความดีเด่นถึงขั้นมาตรฐาน เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง กวีภายหลังมักเท้าความถึงและใช้เป็นแบบอย่าง สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมสมเด็จพระปรมานุชิโนรส ยังทรงใช้ท่วงทำนองแต่งของอนิรุทธ์คำฉันท์ ในการทรงนิพนธ์สมุทโฆษคำฉันท์ตอนจบ เช่น บทชมจตุรงคเสนา
            แต่อย่างไรก็ตาม อนิรุทธ์คำฉันท์มีข้อบกพร่องบางประการ ใช้ข้อความคล้ายคลึงกัยในที่ใกล้เคียงกัน และใช้ร่ายสุภาพแทรกไว้ในคำฉันท์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น