++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประสบการณ์ "ปรากฏการณ์โลกเปลี่ยน" จากผู้พิชิตขั้วโลกใต้

นักวิจัย จุฬาฯ เดินทางกลับไทย
หลังประสบความสำเร็จในการเดินทางสำรวจทวีปแอนตาร์กติก เจ้าตัวเผย
พบปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำแข็ง ตะกอนดิน
และสิ่งมีชีวิต เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นคนไทยหนึ่งเดียวของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่น
โดยทวีปแอนตาร์กติกเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ได้ร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่น คณะที่ 51 เดินทางเป็นระยะเวลา
4 เดือน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เดินทางกลับประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
หลังสำรวจพบความเปลี่ยนแปลงทางภมูิอากาศของโลก

"คณะผู้สำรวจได้พบว่า พื้นน้ำแข็งมีความหนา 4.5 เมตร
ซึ่งหนากว่าพื้นน้ำแข็งปกติที่ 1-3 เมตร สภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง
เกิดพายุหิมะกว่า 20 ครั้ง นอกจากนี้
ยังตรวจพบปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ
ซึ่งแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่อาจจะหนาวหรือร้อนขึ้น
อันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์และภาวะโลกร้อน
เพื่อหาวิธีแก้ไขและรับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ในการสำรวจได้เก็บตัวอย่างในการวิจัย เช่น แท่งน้ำแข็ง
ตะกอนดินจากทะเลสาบ อุกกาบาต และปลา
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบนิเวศที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
และค้นหานวัตกรรมที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
คาดว่าผลการวิจัยน่าจะเสร็จภายใน 1 ปี"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000041605

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น