++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่เสื้อแดงไม่เข้าใจ

1. เหตุผลเดียวที่เสื้อแดงอ้างพอจะอ้างได้อย่างแท้จริงตลอดเวลา 5
ปีที่ผ่านมานี้ ก็คือ การไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน
2549 แต่จะอ้างเรื่องรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ชอบธรรมไม่ได้เลย เพราะ
ไม่ว่ารัฐบาลสมัคร หรือ สมชาย ก็มาจากการเลือกตั้งในครั้งเดียวกัน
แต่เรื่องการรัฐประหารนี้จะขออธิบายต่อไป

2. เสื้อแดงอ้างตลอดเวลาว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ชอบธรรม ทั้งที่
รัฐบาลสมัครและสมชาย ก็มาจากรัฐธรรมนูญนี้ อย่างนี้แล้วก็ถือว่า
เสื้อแดงเองยอมรับ และจะมาอ้างไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม

3. เสื้อแดงมักอ้างว่า
การเลือกตั้งคือการตัวตัดสินเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน
แต่เสื้อแดงไม่เข้าใจถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หรือ Unknown Factor
อันประกอบด้วย

3.1 การเลือกพรรคไม่ได้หลายถึงการเลือกนายก เหมือนรัฐธรรมนูญปี 40
แต่อาจมาจากการเสนอชื่อบุคคลของพรรคเสียงข้างมาก
ซึ่งที่สุดเป็นเรื่องของพรรคการเมืองจะตกลงกันเอง หมายความว่า
แม้ประชาชนจะเลือกตั้งไปแล้วแต่ก็กำหนดทุกอย่างไม่ได้

3.2 วิถีทางของพรรคการเมือง เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ถ้าเสื้อแดงโทษ
พรรคภูมใจไทย ที่มาเข้าด้วยกับประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นรัฐบาลแล้ว

ถามว่า ถ้าภูมิใจไทยยังเข้าอยู่กับเพื่อไทยและเป็นรัฐบาลในปัจจุบัน
เสื้อแดงจะมีปัญหาหรือไม่ -
คำตอบคือเสื้อแดงจะไม่มีปัญหาเลยเพราะมาเข้ากับพรรคเพื่อไทยของตัว
และในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่การเมืองไทยคือ การเมืองแบบพรรคผสม (Coalition
Government)

3.3 ถ้าเสื้อแดงยังอ้างว่า การเลือกฝ่ายรัฐบาลของภูมิใจไทย เป็นเรื่องผิด
ถามว่า ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ทักษิณได้เชิญใครมาตัดสินใจเรื่องคณะรัฐมนตรี
คำตอบคือ คนหลังบ้านจันทร์ส่องหล้า และ CEO ชินคอร์ป (ปลั่งศิริ)
ซึ่งเป็นข่าวว่าคนพวกนี้เดินเข้าออกทำเนียบราวกับว่า ตนก็คือ สส.
ที่ได้รับเลือกมาคนหนึ่ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นในการฟอร์มคณะรัฐมนตรี -
ซึ่งไม่ใช่

4. เสื้อแดงอ้างตลอดเวลาว่า รัฐประหารคือจุดเริ่มต้น ของปัญหาทั้งมวล
และไม่อาจยอมรับได้ด้วยประการทั้งปวง (นิธิ เอียวศรีวงศ์)
ในประเด็นนี้ ราวปี 50 มีนักวิชาการบางคน เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
(มธ.) พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (มธ.) บอกว่า การลงประชามติไม่ควรรับ รธน.
ปี 50 และควรกลับไปใช้ รธน. ปี 40
ถามว่า เมื่อวันเวลาล่วงเลยไปเรื่อย ๆ ถ้าคิดเอาเองว่า รธน.ปี 50 ไม่มีผล
การลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 50 ของพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ควรมีผลเช่นกัน
ในฐานะนักประวัติศาสตร์ต้องไม่ลืมว่า
การรัฐประหารในไทยมีความถี่เกิดขึ้นเกือบเท่าจำนวนครั้งในการเลือกตั้ง
หมายความว่ารัฐไทยก้เป็นโมฆะมาตั้งแต่มีรัฐประหารครั้งแรก
อย่างไรก็ตามเหตุผลนี้ไม่ได้บ่งบอกว่า ควรมีการยอมรับรัฐประหาร
แต่แสดงให้เห็นว่า เสื้อแดง หรือพวกที่เห็นดีเห็นงาม
ไม่เข้าใจความผันแปรแห่งกาลเวลา ซึ่งไม่มีใครแช่แข็งได้

5. เสื้อแดงไม่เข้าใจว่า
อุดมการณ์ของเสื้อแดงด้วยกันไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน กล่าวคือ
ประกอบไปด้วยหลายฝ่าย หลายผู้เล่น ทั้งเก่าและใหม่ อาทิ
- แดงสยาม ใจ อึ้งภากรณ์/ จักรภพ เพ็ญแข
- แดง พคท. สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
- แดงสามเกลอ
- คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ/นปช.เดิม
- แดงเสธ.
ฯลฯ

5.1 เสื้อแดงที่มักจะปลุกระดมเสื้อแดงด้วยกันว่า รักประชาธิปไตย
เที่ยงธรรมที่สุด ถามว่า เสื้อแดงกล้ายอมรับตรง ๆ ไหมว่า
มีแดงที่ไม่เอาสถาบัน ไม่เอาประชาธิปไตยแบบมีสถาบัน
ซึ่งอาจเป็นสาธารณรัฐก็ได้
ซึ่งมีการผสมโรงปลุกปั่นทุกรูปแบบ

5.2 เสื้อแดงที่อ้างว่าตัวเที่ยงตรงที่สุด
เคยพูดถึงคำตัดสินของทักษิณหรือไม่ ว่า ผิดจริงอย่างไร
แทนการละเลี่ยงไม่พูดถึง หรือ บิดเบือนข้อมูลเพื่อเรียกระดมมวลชน

5.3 เสื้อแดงกล้าพูดอย่างเที่ยงตรงกับประเทสนี้ไหมว่า
ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญที่แท้จริงคือใคร อำมาตย์ที่แท้จริงคือใคร -
ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่องคมนตรีอย่างแน่นอน

6. ที่สุดแล้วมวลชนเสื้อแดงไม่เข้าใจว่า ตนสู้เพื่อทักษิณ
(ผู้มาจากการเลือกตั้ง) แต่ไม่ได้สู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะทักษิณ
ไม่เท่ากับ ประชาธิปไตย และไม่เคยพูดถึงว่า
อุปสรรคประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ การคอรัปชั่น
เสื้อแดงไม่เคยปลูกฝังหรือพยายามสร้างความเข้าใจ
และวิธีการเคลื่อนไหวก็ใช้เงินซึ่งซ้ำเติมปัญหาเข้าไปอีก -
คนอินเดียยากจนกว่ามากแต่ปัญหาการใช้เงินในการเมือง
การเลือกตั้งมีน้อยกว่าอย่างแน่นอน

7. นักวิชาการที่สนับสนุนเสื้อแดง ค่อย ๆ หายไป
ไม่ใช่เพราะต้องการลดบทบาท
แต่การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงเองได้ชี้ให้เห็นว่า
ไม่ได้มีอุดมการณ์บริสุทธิ์
ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อความก้าวหน้าแท้จริง ในระยะแรกของการปฏิวัติ
นักวิชาการกลุ่มนี้ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์/ปิยบุตร แสงกนกกุล / สมชาย
ปรีชาศิลปกุล) มักยกสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นตัวอย่าง
ว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ทั้งที่กว่าจะเป็นอย่างนั้นได้
ฝรั่งเศสก็มีการนองเลือดและโค่นล้มสถาบัน -
ก็ไหนว่าไม่เห็นด้วยกับความรุนแรง นักวิชาการกลุ่มนี้จึงไม่เข้าใจ
ความเป็นคู่กันของธรรมชาติ

แม้แต่มหาตมะ คานธี ตัวจริงแห่งการอหิงสา ก็ยังถูก
คนที่เคยสนับสนุนตัวเองฆ่าตาย
เพราะไม่เห็นด้วยที่โอนอ่อนให้แก่มุสลิมในปากีสถาน
และยังชี้ให้เห็นว่า การรวบตัวเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษใช้หลักอหิงสา
แต่การเมืองภายในกลับแตกแยกรุนแรง จนมุสลิมแยกตัวไปเป็นปากีสถาน

7.1 นักวิชาการพวกนี้ อาจถูกต้องในบางประเด็น เช่น นิติวิธีของศาลปกครอง
หรือเข้าใจการปกครองในแง่ของกฎหมายมหาชน
แต่ไม่เข้าใจระบบโครงสร้างการเมืองไทย
โดยยกประเด็นเรื่องเสียงส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้ง เพียงประเด็นเดียว
จริงอยู่เสียงในการเลือกตั้งนั้นสำคัญ
ดังที่อังกฤษเพิ่งให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้หญิงเมื่อ 1928
และอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่โครงสร้างของการปกครองแบบประชาธิปไตยคือ การปกครองท้องถิ่น
หากท้องถิ่นมีเวทีเล่น และแก้ปัญหาได้
ทุกปัญหาก้ไม่ต้องไปกระจุกที่การเมืองระดับชาติ เพราะไม่ว่าทรัพยากร สื่อ
อำนาจ เล่นที่ตลาดใหญ่คือ ระดับชาติเพียงอย่างเดียว ความขัดแย้งจึงสูง

8. เสื้อแดงไม่เข้าใจว่า อำมาตย์คืออะไร
ในสมัยก่อน ที่ปกครองระบบกษัตริย์ ผู้ที่ดูแลราชการเมืองก็คืออำมาตย์
ถามว่า ในปัจจุบันที่ประเทศถูกบริหารด้วยคณะรัฐบาล
ใครคือผู้ดูแลราชการเมือง - คำตอบคือ ข้าราชการ และรวมถึงนักการเมืองด้วย
ทุกคนคืออำมาตย์ (Aristocracy) ดังนั้น คนบนเวทีเสื้อแดง
ไม่ว่าจะมีอดีตเป็นศาล ปลัดกระทรวง นายกรัฐมนตรี หรือ ท่านผู้หญิง ฯลฯ
ก็ล้วนคืออำมาตย์ทั้งสิ้น
*-*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น