++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

สุรินทร์ชวนเที่ยวงานปราสาทภูมิโปน เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเชิญเที่ยวงาน (ททท.) สำนักงานสุรินทร์
"ประเพณีสืบสานตำนานปราสาทภูมิโปน" ซึ่งทางจังหวัดสุรินทร์โดยอำเภอสังขะ
ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสังขะ และองค์การบริหารส่วนตำบลดม
ร่วมกันจัดงานครั้งที่ 11 ขึ้นในวันที่ 9-10 เมษายน 2553 ณ
บริเวณปราสาทภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งโบราณสถาน "ปราสาทภูมิโปน"
ซึ่งเป็นปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

นางสาวบุณยานุช วรรณยิ่ง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์
กล่าวว่า ปราสาทภูมิโปน
เป็นปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยสร้างในราวพุทธศตวรรษที่
12-13 ศิลปะแบบไพรเกมร ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทอิฐหลังที่
1 อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม
เหลือเพียงฐานกรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน ปราสาทอิฐหลังที่ 2
อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้
ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูทราย

ปราสาทอิฐหลังที่ 3
หรือปรางค์ประธานเป็นปราสาทหลังใหญ่ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน
แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่ย่อมุม
มีบันไดและประตูทางเข้าทางทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก เสาประดับ
กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย
ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน
รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง
เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนครร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ 1
ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วย อักษรปัสสวะ
ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13
ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท
นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
และปราสาทอิฐหลังที่ 4 อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้
ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเท่านั้น

ณ ที่แห่งนี้มีตำนานการก่อสร้างกล่าวถึง
กษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่า ชื่อว่าปราสาทภูมิโปน
ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบมีข้าศึกมาประชิตเมือง
กษัตริย์ขอมจึงส่งพระราชธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิ
โปนพระราชธิดานั้นมีพระนามว่า พระนางศรีจันทร์ หรือ เนียง ด็อฮฺ ธม
แต่คนทั่วไปมักเรียกนางว่า พระนางนมใหญ่
แต่ด้วยกิตติศัพท์ความงามของนางเป็นที่โจษขานไปทั่ว
จึงเป็นที่หมายปองของพระราชาเมืองต่างๆ ที่ต้องการพระนางมาเป็นพระชายา
แต่แล้วก็มีชายหนุ่มเพียง 2 คน คือเจ้าชายโฮลมา แห่งเมืองโฮลมา
และนายบุญจันทร์ ทหารคนสนิท
ที่มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสร้างสายสัมพันธ์กับพระนาง
สุดท้ายแล้วพระนางศรีจันทร์ จะเลือกชายใดเป็นสามี
และปริศนาของต้นลำเจียกที่ไม่เคยออกดอก จนเกิดเป็นตำนานปราสาทภูมิโปน
"เนียง ด็อฮฺ ธม" ที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น