++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

หากเราดูภาพโดยรวม ก็จะเห็นอะไรที่ขัดเจนขึ้น

-ใน เรื่องกฎหมาย ต้องยอมรับว่า เวลา ทัศนคติ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ย่อมมีส่วนทำให้วิถีชิวิตเปลี่ยนไป รวมทั้งอาชญากรรมด้วย
(ตัวอย่างจากคดีที่ตัดสินเมื่อ 26 กพ.)
กฎหมายก็จำเป็นที่จะต้องปรับให้ก้าวทันด้วย เชื่อว่า
ผู้พิพากษาโดยทั่วไปก็เชื่อถือได้
เห็นตัวอย่างได้จากมีคนหวังดี(แต่ประสงค์ร้าย)นำเงิน 2ล้านบาทใส่ถุง
คุ๊กกี้ แต่ท่านไม่ยอมรับ นำมาเปิดเผยให้ ปชช.รับทราบ
-การอบรมให้เป็นคน ดี เห็นด้วยที่ควรเริ่มตั้งแต่เด็ก สงสัยว่า
รมว.ศึกษาฯ ท่านใดมิทราบที่สั่งให้ยกเลิกการสอนวิชา หน้าที่ศีลธรรม
การที่คนมีศีลธรรมมากขึ้น แม้จะไม่ได้ผล100 % มันจะดีกว่าไม่มีการสอนเลย
ใช่ไหม รัฐบาลควรจะพิจารณาใหม่ได้ครับ ท่าน ชินวรณ์
-สังคมปัจจุบันเป็น แบบวัตถุนิยมอย่างสมบูรณ์ แม้แต่อดีต
รมว.ท่านหนึ่งท่านอุตส่าห์เอารถสปอร์ตราคาหลายล้านบาทมาโชว์นักข่าว
และนำมาลงหน้าหนึ่งหรา แต่แล้วก็ถูกถอดจากตำแหน่งเพียงเพราะกู้เงินมา45
ล้าน (ทำบัญชีหลอก) แล้วไม่รายงานให้ถูกต้อง ดังนั้น หัวหน้ารัฐบาล และ
บรรดา รมว. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ (ที่สำคัญ คือ
หลังบ้านของแต่ละท่าน)ต้องหันมาปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง
ทำตัวอย่างที่ดีให้ปรากฏ เป็นรัฐบาลได้โดยไม่ซื้อเสียง(ต้องใช้เวลา
ไม่ใช่ว่าเรานึกผั๊บ มันจะเกิดได้ทันที) ในทางพระ แม้ถือเพียง ศีล 5
ก็อาจจะบรรลุ โสดาบันได้
-การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จำเป็นต้องใช้เวลา เราต้องยอมรับว่า
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500นั้น มันมีจุดอ่อน คือ
เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจกี่% แต่ไม่ได้มองว่า ในระยะยาว
มันกลับสร้างปัญหาให้แก่บ้านเมือง (มันได้ความดีความชอบไปแล้ว
และเกษียณไปแล้ว )บ้านเมืองจะไปได้ดี กทม
และต่างจังหวัดควรจะมีความเจริญไม่แตกต่างกันมาก เกิดช่องว่างทางรายได้
(Income Distribution Gap) ซึ่งรัฐบาลปัจจุบัน และอนาคต จำเป็นต้องแก้ไข
เพื่อไม่ให้เกิด Vicious Circle หรือหมดหวัง แม้จะต้องใช้เวลา
และเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรคไปก็ตาม
-เนื่องจากเราเป็นประเทศ กำลังพัฒนา จำเป็นต้องพึ่งพาระบบ หรือModel
จากประเทศอื่นที่ก้าวหน้ากว่าเรา
ต้องมีกึ๋นที่จะกลั่นกรองว่าอะไรที่เหมาะสมกับสถาพความเป็นอยู่จริงของเรา
การที่จะทำได้อย่างนี้ ต้องมี 2 องค์ประกอบ คือ
1. เข้าใจในเนื้อหานั้นอย่างลึกซื้ง
2. เข้าใจสภาพความจริงในบ้านเราอย่างถ่องแท้เช่นกัน
มิ ฉะนั้น มาตรการที่ออกมาจะทำร้ายระบบให้เลวร้ายลงไปอีก
มากกว่าที่จะมาเยียวยาให้ดีขึ้น
ซึ่งบางกรณีอาจจะทำให้ต้องรีบยกเลิกหรือผ่อนคลายไป
เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
สภาพสังคมบ้านเรามักจะเกรงใจกัน ยิ่งเป็นนักวิชาการ
ก็ยิ่งทำให้คนทั่วไปเชื่ออย่างงมงาย หรือบางครั้งรู้ว่ามันมีจุดอ่อน
แต่ไม่กล้าคัดค้าน เพราะเกรงใจกัน ซึ่งจุดนี้ต้องแก้ไขกัน
ปัจจุบัน สถาบันการเงินใหญ่ ๆ ในสหรัฐ เขามีเงื่อนไขว่าCEO
รับโบนัสไปแล้ว ต้องดูต่อไปอีก 1-2 ปีว่า นโยบายที่ใช้ไปแล้วนั้น
หากมีผลเสียเกิดขึ้นต่อองค์กร ก็จะมีผลกระทบต่อรายได้ของเขาในปีต่อไปด้วย
อันนี้ ไทยควรจะพิจารณาด้วย หากใช้อย่างเที่ยงธรรม
น่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะที่ผ่านมา ลองกลับไปดูอดีตที่ผ่านมาว่า
ความล้มเหลว เสียหาย แล้วต้องใช้เงินของรัฐ
เข้าไปอุ้มชู(ภาษีของพวกเราทุกคน) มีคนรับผลเสียที่ตนเองก่อขึ้นไหม
ส่วนมากลอยตัวทั้งนั้น ต้องบอกว่า เงินของแผ่นดินนั้นศักดิ์สิทธ์นะ
บาปกรรมมีจริง อย่าได้หลงมัวเมาในลาภยศ จนลืมบาปบุญว่ามีจริงเลย
ตื่นเถอะโยม
มิฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่ใช้กรรม เงินที่คุณได้มาโดยมิชอบ
(แม้คนอื่นจะไม่รู้เท่าทันก็ตาม) มันจะช่วยอะไรคุณไม่ได้เลย
ตายไปก็ต้องตกนรกแน่นอน แม้จะทำบุญหรือบริจาคเอาหน้าไปมากมายก็ตาม
บาปกับยุญ เหมือนน้ำกับน้ำมัน มันชะล้างกันไม่ได้หรอก ขณะเดียวกัน
ในแง่ความเป็นจริง
เราต้องมีกฎระเบียบที่เข้มงวดคอยดูแลมิให้พวกนี้ทำชั่วได้
ซึ่งก็ต้องเลือกคนดี ๆ เข้าไปดูแลบ้านเมือง
และมีการบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่ลูบหน้าปะจมูก
-ตัวอย่างของจริงในเรื่อง Good Governance ของ สหรัฐ
ผู้ บริหารมักจะยกตัวอย่างของ สหรัฐ เรามาดูของจริงกัน เช่น WorldCom ,
Enron ,etc. ล้วนเป็นบริษัทใหญ่ แต่มีการทุจริตกันจนเจ๊ง
ผู้บริหารบางคนต้องฆ่าตัวตาย หรืออดีตประธาน ตลาดNASDAQ ของสหรัฐ
เมื่อเกษียณแล้ว มาตั้งวงแชร์แบบแม่ชม้อยให้ผลตอบแทน 10 %
ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล สหรัฐให้ปีละ 3-4% ทุกคนโลภ
และเชื่อถือในอดีตของเขา ต่างพากันใส่เงินเข้าไปกันใหญ่
แม้แต่กองทุนการกุศล จนได้เงินประมาณ 50,000 หมื่นล้านเหรียญ
ระบบใช้ได้บ้าง แต่คนมันชั่ว ใช่ไหม ทำให้ต้องแก้ไขให้ระบบรัดกุมมากขึ้น
เนื่องจากคนไม่มีศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม
ดังนั้นในการดำเนินโยบายอย่าได้หลับหูหลับตาหยิบมาทั้งดุ้น โดยบอกว่า
ขี้ฝรั่งมันหอม แล้วมาหลอกคนไทยด้วยกัน สร้างภาพลักษณ์ให้คนหลงเชื่อ
ต้องอย่าลืมว่า ในการใช้นโยบายกับทั้งประเทศ ต้องพยายามอย่าให้ผิด
เพราะผลกระทบเกิดกับทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
ถ้าคุณไม่แน่ใจ เปิดประชาพิจารณ์ อย่าได้หลงตัวเอง หรือมีวาระซ่อนเร้น

สรุป

-ผู้นำรัฐาล รมว. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่ใช่สร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นคนดี มีความรู้ ขอโทษ ในสังคมเรา
บางคนหน้าฉากดี น่าเลื่อมใส แต่ในความเป็นจริง bud sop ไม่แพ้
นายตักอุจจาระ ดังนั้น การเปิดเผยข้อเท็จจริงของ ASTV ไล่ตั้งแต่ คุณสนธิ
คุณชัชวาลย์ คุณปานเทพ แกนนำต่าง ๆ คุณโสภณ ฯลฯ
ล้วนเป็นประโยชน์และทำให้คนหูตาส่ว่างขึ้นมาก(แต่ต้องระวังเหมือนกันนะครับ
อย่าเอ่ยชื่อ สกุลเขาตรง ๆ เพราะอาจจะมีคดีเพิ่มขึ้นอีก) และศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาสำหรับนักการเมือง ก็มีคำวินิจฉัยออกมาตอกฝาโลงว่า
มันชั่วจริง ๆ และรัฐบาลต้องนำคนที่ทำผิดในกรณีต่าง ๆ
ที่ระบุไว้ในคำวินิจฉัยของศาลฎีกา มาดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไม่ปล่อยให้เกิดเกียร์ว่าง
1. การศึกษาเน้นเรื่องศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม หากขาดข้อนี้แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ก็เป็นเฉกเช่นสภาพปัจจุบัน
ซึ่งอาจจะทำให้บางคนเกิดความวังเวงในอนาคตของบ้านเมือง
2. เลือกคนดีเข้าไปบริหารบ้านเมือง เลือกตั้งต้องไม่ซื้อเสียง
3.ประชาชนทุกจังหวัดต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน
ไม่ใช่กรุงเทพ คือประเทศไทย
4. ประชาชนต้องสำนึกในหน้าที่ของตนเอง อย่านอนหลับทับสิทธิ แม้จะท้อแท้
แต่อย่าท้อถอยเป็นอันขาด แม้ต้องใช้เวลาก็ตาม
มีโอกาสต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูงที่สอนกันได้
ยกเว้นพวกปัทปรมะ(ดอกบัวประเภทสุดท้าย)
เพื่อขยายจำนวนคนที่รู้และเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง
5. ยืนยันการใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
6.รัฐบาลต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริง
(Enforcement)เพื่อกำราบมิให้คนคิดและทำชั่ว
และกล้าพูดความจริงให้ประชาชนรับทราบ
Nobody9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น