ทำนองแต่ง - ใช้กาพย์ มีโคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพและร้อยแก้วแทรกอยู่ด้วย
เรื่องย่อ -
พรรณพฤกษากล่าวถึงชื่อไม้เรียงตามลำดับตั้งแต่แม่ ก.กา ถึงแม่เกย
ตอนท้ายเป็นชื่อมะม่วง และทุเรียน สัตวาภิธาน กล่าวถึงสัตว์มีเท้ามาก
เช่น ตะบองพลำ ตะขาบ กิ้งกือ สัตว์สี่เท้า จำแนกชื่อตั้งแต่ แม่ ก กา
ถึงแม่เกยและเต่าชนิดต่างๆ สัตว์สองเท้า เรียงชื่อตั้งแต่แม่ ก กา ถึง
แม่เกย สัตว์ไม่มีเท้า เช่น งูชนิดต่างๆ และปลา ซึ่งแยกชื่อไว้ตั้งแต่แม่
ก กา ถึง แม่เกย ตอนท้ายกล่าวถึงหอยทาก ลูกน้ำ และหนอน
ข้อคิดเห็น -
กรมศิลปากรได้กล่าวยกย่องหนังสือพรรณพฤกษากับสัตวาภิธานไว้ในคำนำฉบับพิมพ์
พุทธศักราช ๒๔๙๙ ว่า "หนังสือพรรณพฤกษากับสัตวาภิธานนี้เป็นหนังสือเก่า
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ต้นสกุลอาจารยางกูร
เป็นผู้แต่งเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๒๗
เนื้อเรื่องนี้พรรณนาถึงชื่อต้นไม้และชื่อสัตว์ต่างๆ
ความมุ่งหมายในการประพันธ์ขึ้นครั้งนี้ คงจะเพื่อให้กุลบุตรกุลธิดา
ในสมัยนั้นได้ไว้อ่านหาความรู้ประดับสติปัญญา
และคงจะใช้เป็นแบบเรียนสำหรับฝึกฝนการอ่านทำนองเดียวกับมูลบทบรรพกิจ
ท่านผู้แต่งได้อุตสาหะค้นคว้าชื่อต้นไม้และชื่อสัตว์เท่าที่ปรากฏในบ้านเมืองเรารวบรวมไว้
เมื่อตกมาถึงสมัยนี้พรรณไม้บางอย่างหรือสัตว์บางชนิด
ซึ่งนับวันจะไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลรุ่นหลัง ด้วยสมัยได้เปลี่ยนแปลงไป
ก็มีปรากฏอยู่ในหนังสือนี้อย่างพร้อมมูล
จึงหวังใจว่าการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น
คงจะเป็นการช่วยรักษาหลักฐานในทางพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ของชาติได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในการศึกษาวรรณคดีซึ่งมักจะมีการพรรณนาตอนชมนกชมไม้
ผู้ศึกษาก็มีโอกาสอ้างอิงหลักฐานจากหนังสือเล่มนี้ได้มาก"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น