++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระนลคำหลวง - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ทำนองแต่ง - ใช้ โคลง ฉันท์ กลอน กาพย์ และร่าย
เรื่องย่อ - ดำเนินความตามนโลปาขยานัม
ในคัมภีร์มหาภารตะของกฤษณไทวปายนมุณี ของอินเดีย ว่า
ฤษีพฤหัสวะเล่าเรื่องพระนลให้กษัตริย์ปาณฑพทั้ง ๕ ฟัง
พระนลเป็นกษัตริย์แห่งนครนิษัท ปล่อยหงส์ไปสื่อความรักกับนางทมยันตี
ในพิธีสยุมพรของนางมีกษัตริย์และเทวดาไปชุมนุมมาก แต่นางเลือกพระนล
ผีร้ายชื่อกลีกับทวาบรริษยาพระนล เข้าสิงพระนลคลั่งไคล้สกา
แพ้สกลจนเสียบ้านเมือง ออกเดินป่าจนได้รับความลำบาก
นางทมยันตีติดตามไปด้วย
ทั้งๆที่พระนลขอร้องให้นางกลับบ้านเมืองของนางเสีย
พระนลจึงตัดสินใจหนีนางไป แต่นางไม่ยอม พยายามดั้นด้นติดตามพระนลไป
ต้องผจญภัยจากพรานป่า และหัวหน้าพ่อค้าเกวียน
ในที่สุดนางจำต้องกลับบ้านเมือง
และให้พราหมณ์เที่ยวขับเพลงเล่าเรื่องของพระนลกับนางตามบ้านเมืองต่างๆ
เพื่อสืบหาพระนล ต่อมาพราหมณ์กลับมาทูลว่า
สงสัยหุกสารถของท้าวฤตุบรรณจะเป็นพระนล
นางทมยันตีจึงออกอุบายให้ท้าวฤตุบรรณทราบว่า นางจะเข้าพิธีสยุมพรใหม่
ท้าวฤตุบรรณดีใจให้วาหุก (พระนลปลอม) รีบขับรถไปหานางทมยันตี ระหว่างทาง
พระนลแลกวิชาม้ากับวิชาสกากับท้าวฤตุบรรณ พระนลจึงพ้นอำนาจกาลี
เมื่อท้าวฤตุบรรณมาถึงไม่เห็นมีพิธีสยุมพรเลยไถลทำเป็นมาเยี่ยม
นางทมยันตีจำวาหุกได้ว่าเป็นพระนล
และไม่รังเกียจที่พระนลมีรูปชั่วเพราะถูกนาคพ่นพิษไว้
พระนลไปท้าพนันสกาได้บ้านเมืองกลับคืนมา ทั้งสองมีความสุขดังเดิม
ตอนท้ายเป็นภาคผนวก กล่าวถึงลักษณะคำประพันธ์
และมีอภิธานอธิบายศัพท์สำคัญๆ ที่ทรงใช้ในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้
ข้อคิดเห็น -
วรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวงเรื่องสุดท้ายในจำนวน ๔ เรื่อง
มีลักษณะแปลกกว่าหนังสือคำหลวงเรื่องอื่นๆ คือ
ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและใช้คำประพันธ์มากประเภทกว่าเรื่องอื่น
การที่ทรงเลือกเรืองพระนล ซึ่งเป็นคติพราหมณ์
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือคำหลวง
ใช่ว่าจะหย่อนคุณสมบัติในด้านความศักดิ์สิทธิ์
พระราชนิพนธ์คำหลวงเรื่องนี้แฝงไว้ด้วยคติธรรมเป็นอันมาก
ในด้านความรักและซื่อสัตย์อย่างลึกซึ้ง
กระบวนคำประพันธ์มีหลายประเภทหลายรส
เป็นแบบอย่างแห่งการแต่งคำประพันธ์ได้พอเพียง
นอกจากนี้ยังทรงทำอภิธานอธิบายศัพท์ในเรื่องนี้ไว้
นับว่าพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในวรรณคดีสมดังพระราชประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น