++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มัทนะพาธา - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติ - บทละครเรื่องนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
"ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ ๒๔๖๖ พิมพ์เป็นครั้งแรก
พุทธศักราช ๒๔๖๗ ต่อมาทรงแปลบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ
แต่ยังไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
ทำนองแต่ง - ใช้ฉันท์และกาพย์
เรื่องย่อ - เรื่องแบ่งออกเป็นสองภาค
ภาคสวรรค์กล่าวถึงสุเทษณ์ เทพบุตรหลงรักนางฟ้ามัทนา
แต่นางไม่รักตอบจึงสาปลงไปเป็นดอกกุพชกะ (กุหลาบ) ในป่าหิมวัน
มีเงื่อนไขว่า วันกลางเดือนให้กลับเป็นหญิง
เมื่อเกิดความรักชายใดจะได้เป็นหญิงตลอดไป ภาคพื้นดิน
กล่าวถึงฤษีกาละทรรศิน นำกุหลาบมัทนาไปปลูกไว้ใกล้อาศรม พอถึงวันขึ้น ๑๕
ค่ำ นางมัทนาได้รับใช้ฤษี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันหนึ่ง
ชัยเสนกษัตริย์หัสดินบุรี เสด็จยกพลมาล่าสัตว์ได้พบนางมัทนา
ต่างฝ่ายเกิดความรักต่อกัน ฤษีจัดการอภิเษกสมรสให้ ชัยเสนพานางกลับเมือง
นางจัณฑีมเหสีเดิมหึงหวง ออกอุบายให้พระบิดายกทัพมาประชิดเมืองหัสดินบุรี
และลวงชัยเสนให้เข้าใจผิดว่านางมัทนาเป็นชู้กับทหารเอก
ชัยเสนสั่งให้นำนางไปประหารในป่า เพชฌฆาตเกิดใจอ่อน ปล่อยนาง
นางกลับไปที่อาศรม วิงวอนให้สุเทษณ์ช่วย
สุเทษณ์ขอความรักนางอีกครั้งหนึ่ง นางปฏิเสธ
สุเทษณ์จึงสาปนางเป็นกุหลาบตลอดไป ตอนท้ายชัยเสนทราบความจริง
รีบตามไปที่อาศรม ได้พบแต่กุหลาบจึงขออนุญาตต่อฤษีนำไปปลูกไว้ในวัง
ข้อคิดเห็น - วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖
ลงมติว่าบทพระราชนิพนธ์นี้แต่งได้ดีเป็นพิเศษ
ทรงริเริ่มใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด
เค้าเรื่องชื่อตัวละครและสถานที่ก็ได้ทรงปรุงขึ้น
ตรงกับความเป็นไปสมัยภารตะของอินเดีย จึงทูลเกล้าฯ
ถวายประกาศนียบัตรแห่งวรรณคดีสโมสร สำหรับบทพระราชนิพนธ์เรื่องนี้
เป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณ เค้าเรื่องทั้งหมดทรงผูกขึ้นเอง
กระบวนพรรณนาไพเราะกินใจ
เป็นบทละครโศกนาฎกรรมที่สะเทือนใจที่สุดเรื่องหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น