++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548

ภูมิศาสตร์ในชนบท

จาก ภูมิศาสตร์ ชนบท
โดย สากล สถิตวิทยานันท์

คำนำ


ในชนบทที่ห่างไกล มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าศึกษาและหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สวยงามตาม ธรรมชาติ ท้องไร่ท้องนา ภารกิจประจำวันของชาวบ้านหรือวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ สิ่งต่างๆเหล่านี้บางอย่างแฝงไปด้วยความเร้นลับยากที่จะหาคำตอบ บางอย่างก็เต็มไปด้วยความสวยงามที่เกิดจากจินตนาการจากธรรมชาติ และบางอย่างเต็มไปด้วยความโหดร้ายทารุณจากธรรมชาติ ที่ไม่มีใครจะยับยั้งได้ ดังนั้น ชนบทจึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางของเหตุการณ์ทั้งหลายๆอย่างอันพึงจะเกิดขึ้น ได้ในชีวิต เอกสารนี้นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับชนบท เพื่อจะให้ผู้สนใจได้เข้าใจและรู้จักชนบทมากขึ้น

สภาพทั่วไปของชาวชนบท


ชาวชนบทโดยทั่วไปส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าฝน ความร้อนระอุ ความหนาวเย็น การงอกงามและเหี่ยวแห้งของพืช ชาวชนบทมีความยินดีกับความเจริญงอกงามของพืชในท้องไร่ท้องนา ชาวชนบทต้องการธรรมชาติที่เอื้ออำนวย ต้องการดิน น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การชลประทาน การป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ ตลอดจนราคาของผลผลิต

ทำไมต้องศึกษาภูมิศาสตร์ชนบท


เมื่อกล่าวถึงชนบท จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่หลายร้อยปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบชนบทมีอาชีพอยู่ด้วยการเกษตร สัมผัสอยู่กับท้องไร่ท้องนา ประสบการณ์ต่อกิจกรรมด้านการเกษตรยังยึดมั่นอยู่กับแบบเดิม แต่ถ้าหากเข่าเหล่านั้นได้รับการศึกษา ได้รับการช่วยเหลืออบรมหรือคำแนะนำจากหน่วยงานในด้านการเกษตรแล้ว เขาก็จะนำประสบการณ์เข้ามาผสมผสานกับความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของเขาเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีปัญหา โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ต้องเอื้ออำนวยด้วย อย่างไรก็ตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเกษตรกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทาง ภูมิศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของคนด้วย เพราะถ้าเป็นคนขยันขันแข็ง อดทน เอาจริงเอาจังแล้วอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไรก็อยู่ได้ ดังนั้นในการศึกษาภูมิศาสตร์ชนบทต้องมีการศึกษาด้วยเพื่อจะได้ทราบวิถีชีวิต (way of life) อันแท้จริงของชาวชนบท ตลอดจนได้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติหรือมนุษย์กับมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของชุมชนในชนบทและปัญหาต่างๆในชนบทตลอดจนแนวทาง แก้ไข

ข้อแตกต่างระหว่างชนบทกับเมือง


ก่อนที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมือง จำเป็นต้องทราบความหมายของทั้งสองคำนี้ก่อน

ชนบท (rural) หมายความว่าอย่างไร

คือบริเวณที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร (ทำไร่ ทำนา ประมง เลี้ยงสัตว์)

เชิดชาย เหล่าหล้า (2523) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ได้แก่ที่ซึ่งประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่นอกเมืองหลวงหรือเมื่องใหญ่ๆ เป็นชีวิตของชุมชนที่อยู่ตามสวน ตามป่า ตามไร่ และท้องนา

ราชบัณฑิตยสถาน (2523) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นชุมชนที่มีประชากรต่ำกว่า 2,500 คน และอาศัยอยู่นอกหน่วยการปกครองที่ไม่นับว่าเป็นเมืองหรือเป็นนคร

แสง สงวนเรือง (2522) ได้ให้ความหมายในลักษณะของอุตสาหกรรมในชนบทไว้ว่า หมายถึงอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเขตนครหลวง (Greater Bangkok) ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ

เมือง (Urban) หมายความว่าอย่างไร

ราชบัณฑิตยสถาน (2523) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นหัวใจของชุมชนย่อยที่อยู่รอบๆ โดยมีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความสะดวกสบายอยู่ในรูปของเมือง

เชิดชาย เหล่าหล้า (2523) ได้สรูปว่า เป็นที่ทีมีพลเมืองหนาแน่น มีความเจริญ มีศูนย์กลางต่างๆ ฯลฯ

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การประกอบอาชีพ สังคมและสภาพแวดล้อมแล้ว ชนบทกับเมืองมีข้อแตกต่างกันดังนี้

1. สภาพแวดล้อม ในชนบทมีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ท้องไร่ ท้องนา ส่วนในเมืองนั้นสภาพแวดล้อมจะเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ตึก อาคาร หรือบางครั้งเรียกว่า ป่าคอนกรีต

2. การประกอบอาชีพ ชาวชนบทส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรและในแต่ละชุมชนมีประเภท ของการเกษตรคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ระบบการเกษตรส่วนใหญ่ยังเป็นแบบยังชีพ (subsistence) ถ้าเป็นการปลูกพืชก็ปลูกเพียงครั้งเดียว พืชชนิดเดียว ครอบครัวเดียวกันจะประกอบอาชีพอย่างเดียวกัน มีเวลาว่างจากการทำงานมาก รายได้ที่เป็นตัวเงินของชาวชนบทมีน้อยและไม่แน่นอน และรายจ่ายก็น้อยด้วย ส่วนประชากรที่อยู่ในเมืองประกอบอาชีพขั้น 2 และ 3 เช่น รับราชการ ธนาคาร พ่อค้า อุตสาหกรรม เป็นต้น รายได้จะเป็นตัวเงินและแน่นอน ในครอบครัวเดียวกันแต่ละคนอาจจะประกอบอาชีพแตกต่างกันและขวนขวายหารายได้มา จุนเจือครอบครัวตลอดเวลา

3. ความหนาแน่นของประชากร ในชนบทถึงแม้จะมีพลเมืองมากแต่พื้นที่ก็มีมาก ทำให้ความหนาแน่นของประชากรน้อยไปด้วย ถนนหนทางมีน้อยและไม่ค่อยสะดวก แต่ในเมืองมีความหนาแน่นของประชากรมากเนื่องจากเป็นศูนย์กลางต่างๆ และที่อยู่อาศัย ถนนหนทางคับคั่งไปด้วยรถยนต์และประชาชน

4. ด้านสังคม ในชนบทมีลักษณะของสังคมปิด (close society) คือรู้จักกันหมดทั้งหมู่บ้าน เรียกว่า หัวบ้านท้ายบ้าน ใครทำอะไรผิดแผกออกไปจะรู้และโจษขานกันทั้งหมู่บ้าน ลักษณะสังคมจะเป็นแบบเก่า มีกิจกรรมและพิธีกรรมพื้นบ้านเป็นอันมาก ยิ่งเป็นประเพณีแล้วจะรักษาและปฏิบัติกันมิได้ขาด ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้ชาวชนบทรักถิ่นที่อยู่ ไม่ชอบการเดินทางหรือโยกย้ายบ่อยๆ และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง สำหรับในเมืองเป็นลักษณะสังคมเปิด (open society) คือแต่ละคนไม่ค่อยสนใจกันมากนัก หรือต่างคนต่างอยู่ต่อสู้และแข่งขันกันตลอดเวลา ชอบมีการเปลี่ยนแปลงและรับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

5. ด้านการศึกษาและความเชื่อ ชาวชนบทส่วนมากได้รับการศึกษาต่ำ เพียงแต่จบการศึกษาภาคบังคับเท่านั้น จึงเป็นสังคมที่เชื่อมั่นและปลูกฝังในสิ่งเก่าๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เชื่อในสิงที่ไม่มีเหตุผล ส่วนสังคมในเมืองนั้นประชาชนมีการศึกษาสูงกว่า การรับรู้ข่าวสารบ้านเมืองมีมากกว่าและเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล

Clout (1976) ได้เขียนข้อแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองนอกเหนือจากที่กล่าวมา ได้แก่ บ้านในชนบท จะสร้างด้วยวัสดุที่อยู่รอบๆชุมชน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวชนบทจะมีมากกว่าในเมือง เพราะลักษณะของภาษา ความเชื่อ ความคิดเห็น และพฤติกรรมซึ่งเป็นแบบเดียวกันจึงเป็นผลทำให้ชนบททีความเป็นอยู่อย่างสงบ ความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในเมืองมีมากกว่าในชนบท การที่เส้นทางคมนาคมติดต่อกับภายนอกไม่ค่อยสะดวกก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำ ให้ชาวชนบทได้พบปะและใกล้ชิดกัน

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน (Settlements)


มนุษย์ในสมัยก่อน หรือในยุคหินไม่เคยตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง พวกมนุษย์หินจะอพยพไปเรื่อยๆ ตามการอพยพของสัตว์ซึ่งเป็นอาหาร เมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้ก็จะรีบกินหมด เพราะสมัยนั้นยังไม่รู้จักการเก็บถนอมอาหาร เมื่ออาหารหมดหากล่าสัตว์ยังไม่ได้มนุษย์ก็จะอดและหิว

ชีวิตของมนุษย์หินไม่แตกต่างอะไรไปจากสัตว์ การมีชีวิตอยู่คือการเลี่ยงโชค และทุกคนก็มรโอกาสล่าและถูกล่าตลอดเวลา อาหารการกินก็แล้วแต่จะหาได้ เช่น พืช ผัก ผลไม้ รากไม้ สัตว์เล็กใหญ่ แม้กระทั่งแมลง เมื่อไม่สามารถหาสัตว์ใหญ่ได้ในยุคก่อนมีการเพาะปลูก

มนุษย์เริ่มรู้จักกันพืชและเมล็ดพืช เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักข้าวและหยุดการเร่ร่อนล่าสัตว์เพื่อปลูกข้าวในบาง เวลา และรู้จักการเก็บข้าวไว้เป็นอาหาร นอกจากนี้ก็เริ่มใช้หนังสัตว์นุ่งห่มเสื้อผ้า และหาสิ่วของมาสร้างที่อยู่อาศัย บางกลุ่มก็ใช้ใบไม้ หนังสัตว์ กิ่งไม้ หิน ดิน แล้วแต่สิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่หาได้จากธรรมชาติบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ยังย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยต่อไป เมื่อในแถบนั้นไม่มีสัตว์ซึ่งเป็นอาหารสำคัญ อาวุธคู่มือในการล่าสัตว์มีความสำคัญมากกว่าที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น เมื่อย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยไปถึงที่อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ก็จะสร้างที่อยู่ชั่วคราวขึ้นมาอีก ในสมัยนั้นที่อยู่สร้างขึ้นเพื่ออาศัยนอนเท่านั้น เนื่องจากจะต้องมีการย้ายถิ่นเมื่อแถบนั้นอาหารหมด

มนุษย์บางกลุ่มชอบใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อหนีความหนาวเย็น โดยมากจะอยู่บริเวณปากถ้ำ เพราะต้องอาศัยแสงสว่างในเวลากลางวัน และรู้จักใช้ไฟในการดำรงชีวิต

การก่อกำเนิดของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน


ความต้องการในการตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน คือ อาหาร ความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นเหมือนกันในทางศาสนา ถิ่นฐานบ้านเรือนของแต่ละพวกแสดงถึงนิสัยใจคอ วัฒนธรรมและสังคมของคนกลุ่มนั้น อย่างเช่น ชุมชนอินเดียนแดงกระโจมทั้งหมดจะเรียงกันเป็นวงกลมรูปตัวซี (C) ถ้าหันปากกระโจมไปทางทิศตะวันออกแสดงว่าจะมีการโยกย้ายกระโจมของหัวหน้าจะ อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของปากกระโจม ถ้าจะออกล่าสัตว์หรือออกรบ ด้านเปิดหรือปากกระโจมจะหันสู่ทิศตะวันตก ตามความเชื่อว่าการมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตกจะประชัยชนะ สำหรับชุมชนของเผ่าต่างๆในแอฟริกาจะสร้างกระท่อมรายล้อมบ้านของหัวหน้าเผ่า รอบนอกออกไปจะเป็นกระท่อมของชาวบ้านธรรมดาและวงนอกสุดเป็นคอกสัตว์ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเครื่องกีดขวางของหมู่บ้าน

เมื่อเวลาผ่านไปมนุษย์เริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมและรู้จัก เลือกที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ อาคารบ้านเรือนสร้างอย่างมั่นคง และแข็งแรง เริ่มรู้จักรวมกันเป็นชุมชน

ชุมชนในยุคเริ่มแรก


บ้านเรือนของชุมชนในยุคเริ่มแรกมีสิ่งเหมือนกันหมด คือ แรงงานที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้จากแรงงานคนและสัตว์ วัสดุหาได้จากสิ่งรอบตัว แปลนและโครงสร้าง วิวัฒนาการมาจากประสบการณ์นานนับชั่วอายุคน

ในยุคนั้นดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่ออาคารบ้านเรือน คนและสัตว์เลี้ยงอาศัยปะปนกัน มนุษย์ยังเชื่อในผีสางนางไม้ ก่อนที่จะฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารหรือตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างบ้านอยู่อาศัย คนจะต้องขออนุญาตต่อภูติผีวิญญาณก่อน

สถาปัตยกรรมของคนในสมัยนั้นหมายถึงที่ว่างที่ล้อมรอบด้วยต้นไม้และก้อนหิน กลุ่มอาคารจะจัดรวมกันตามสภาวะธรรมชาติแวดล้อม อาคารและชุมชนเกิดจากค่านิยมในชีวิต บ้านไม่เพียงแต่เป็นที่อยู่อาศัย หากแต่เป็นเครื่องบอกฐานะของเจ้าของในสังคมนั้น

ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กันจะปลูกบ้านอยู่ใกล้กัน แต่ละครอบครัวจะมีบ้านซึ่งประกอบด้วยกระท่อมห้องเดียว หรือหลายห้อง ปลูกอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ครอบครัวที่หัวหน้าบ้านมีภรรยาหลายคน ภรรยาแต่ละคนก็มีกระท่อมของตนรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภรรยาคนแรกจะเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจกรรมทั้งหมดในบ้าน บางครอบคัรวไม่มีแต่เพียงพ่อแม่ลูกเท่านั้น หากแต่มีญาติพี่น้องอยู่รวมกันอีกด้วย ในบางสังคมผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากเกินกว่าหนึ่งคน การมีภรรยามากเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะทางสังคมและความมั่งมี ดังนั้นจำนวนกระท่อมในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็น อยู่ของผู้เป็นเจ้าของ

ชุมชนเริ่มเป็นเมือง


ชุมชนในชนบทจะกลายสภาพเป็นเมืองได้ต้องมีสิ่งที่อำนวยและส่งเสริมหลายอย่าง ด้วยกัน เช่น ชุมชนที่เริ่มเกาะกลุ่มกันริมทางหลวง โดยเริ่มต้นจากบ้านเพียงไม่กี่หลัง ต่อมาอาจจะเพิ่มร้านค้าเล็กๆ เมื่อมีคนอพยพเข้ามามากขึ้นร้านค้าที่มีอยู่ขายสินค้าเพิ่มได้หลายชนิด บ้านถูกเปลี่ยนเป็นร้านค้า อาคารใหม่ๆถูกสร้างขึ้นริมทางหลวง มีถนนสายรองขนานหรือตัดกับทางหลวง บริเวณดั้งเดิมริมทางหลวงกลายสภาพเป็นย่านใจกลางเมือง ทุ่งนาโดยรอบกลายเป็นที่ปลูกบ้าน ชาวบ้านไม่ปลูกผักสวนครัวกันเองอีกต่อไปเพราะมีตลาดเป็นศูนย์กลางจับจ่าย ซื้อหา หมู่บ้านกลายสภาพเป็นเมืองเล็กๆ คนจำนวนมากประกอบอาชีพค้าขายและชุมชนมีคนอาศัยอยู่หนาแน่นขึ้น อาชีพของคนในเมืองไม่ได้ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ หรือโชคเหมือนการล่าสัตว์ ชาวเมืองร่วมกันตั้งกฏเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้สังคมของตนอยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อจำนวนประชากรในชุมชนมากขึ้น ขอบเขตของชุมชนขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ขนาดของเมืองก็ขยายตัวตามไปด้วย สภาพเศรษฐกิจบางอย่างภายในชุมชนเกิดขึ้นมาเพื่อสนองต่อมวลชน บางอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น มีโรงงานผลิตสินค้า มีการบริการหรือมีอาชีพขั้น 2 และ 3 มากขึ้น ถ้าชุมชนใดมีลักษณะดังที่กล่าวมา เราถือว่าชุมชนนั้นประสบผลสำเร็จ แต่ถ้าชุมชนใดมีผู้อพยพออกไปเรื่อยๆ ชุมชนนั้นก็จะร้างไปในที่สุด

รูปแบบการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในชนบท (Pattern of Settlements)


มนุษย์สร้างที่อยู่อาศัยรวมกันบนพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมแตกต่างกันแล้วแต่ ความพอใจของแต่ละชุมชน บางพวกชอบตั้งบ้านเรือนตามแนวถนน บางพวกชอบที่ลุ่ม บางพวกชอบที่เนิน ฯลฯ อย่างไรก็ตามทุกชุมชนก็มีเหตุผลในการเลือกสถานที่นั้นเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของ ตน

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนไทยในชนบท ถ้าพิจารณาในลักษณะทางกายภาพแล้ว สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบเรียงยาว (Linear pattern)

ประชากรจะตั้งบ้านเรือนกระจายเรียงยาวไปตามริมคลอง ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล หรือตามแนวถนน โดยประชากรเหล่านั้นจะได้อาศัยแม่น้ำลำคลอง ถนน เป็นการสัญจรไปมา แล้วยังจะได้อาศัยลำน้ำในการอุปโภคบริโภคอีกด้วย หมู่บ้านรูปแบบนี้มีมากในภาคกลางของประเทศไทย เพราะมีเส้นทางสัญจรทางน้ำมากพอๆกับถนน การตั้งถิ่นฐานแบบนี้พิจารณาเป็นแบบย่อยได้อีก

1.1 รูปแบบเรียงยาวเดี่ยว ส่วนมากพบในหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ๆ บ้านแต่ละหลังยังกระจายกันอยู่ห่างๆ แต่ก็มีลักษณะเป็นแบบเรียงยาวไปตามเส้นทางแม่น้ำหรือถนนทั้งสองฟาก

1.2 รูปแบบเรียงซ้อน บ้านที่อยู่ทั้งสองฟากจะมีลักษณะแบบจับคู่เนื่องจากได้มีการขยายครอบครัว หรือมีการอพยพเข้ามาในชุมชน เป็นชุมชนที่ตั้งมาเป็นเวลานาน ข้อสังเกตผู้มีฐานะดีจะอยู่ริมน้ำ ถัดเข้าไปฐานะจะด้อยลง ในฤดูฝนบริเวณใต้ถุนบ้านน้ำจะท่วม การติดต่อจะเรือขนาดเล็กซึ่งมีประจำกันทุกครอบครัว ถ้าตัดถนนผ่านเข้าไปในหมู่บ้านนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น เส้นทางขนส่ง รูปแบบของชุมชนและการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของบ้าน

ชุมชนรูปแบบนี้ถ้าตั้งอยู่ทำเลดีๆ เช่น มีคลองมาบรรจบ บ้านเรือนก็จะตั้งหนาแน่นโดยเรียงซ้อนกันหลายชั้น และถ้ามีคลองมาบรรจบเป็นช่วงๆ ก็จะมีรูปร่างโป่งตรงคลองที่มาบรรจบ บางครั้งเรียกชุมชนที่โป่งเป็นช่วงๆนี้ว่า รูปแบบเรียงยาวฝักถั่ว

2. รูปแบบรวมกลุ่ม (Cluster pattern)

เป็นรูปแบบที่ปรากฏอยู่มากในชนบททุกภาคของประเทศไทย บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในบริเวณเช่นนี้มักจะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพเด่นทาง ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจหรือวัฒนธรรม ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ทางน้ำหรือถนนเสมอไป ในชนบทไทยอาจพิจารณาแบ่งรูปแบบรวมกลุ่มได้ 2 แบบ

2.1 รูปแบบรวมกลุ่มอย่างสุ่ม บ้านแต่ละหลังก่อสร้างบนพื้นที่ไม่เป็นระเบียบ จะสร้างที่ใดก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ ไม่มีแผนผังแน่นอน บางครั้งก็สร้างต่อๆกันออกไป เมือบุคคลในครอบครัวต้องแยกจากครอบครัวเดิม บริเวณบ้านต่อบ้านอาจมีรั้วต้นไม้แสดงเขตหรือไม่มีเลยก็ได้ ส่วนมากจะพบตามหมู่บ้านที่ตั้งมาเป็นเวลานาน

2.2 รูปแบบการรวมกลุ่มอย่างมีระเบียบ เป็นหมู่บ้านสมัยใหม่บ้านแต่ละหลังมีเส้นทางถนนตัดผ่าน มีความสะดวกในการติดต่อ เช่น นิคมสร้างตนเอง

รูปแบบโดดเดี่ยว (Isolate pattern)

เป็นการตั้งบ้านเรือนอยู่โดดเดี่ยว แต่ละบ้านอยู่ห่างกันพอประมาณ เห็นได้ชัดเจนบริเวณท้องทุ่งนาหรือป่า การติดต่อกับภายนอกมีน้อยแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ

3.1 รูปแบบโดดเดี่ยวอย่างสุ่มหรือแบบบ้านกระจาย พบในบริเวณที่มีการบุกเบิกใหม่ๆ เช่น บริเวณที่มีการทำไร่เลื่อนลอย (Shifting cultivation) หมู่บ้านเชิงเขา กลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเคลื่อนย้ายหรือปล่อยบ้านทิ้งได้ ถ้าการทำมาหากินไม่ประสบผลสำเร็จหรือดินและน้ำไม่อุดมสมบูรณ์

3.2 รูปแบบโดดเดี่ยวอยู่ในที่ทำกิน (Single farmstead) เป็นผู้ประกอบกิจการทางด้านเกษตรกรรมและมีบ้านอยู่ในที่นั้นด้วย บ้านเรือนแต่ละหลังตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และมักตั้งอยู่บนที่ดอน ในชนบทไทยมีหมู่บ้านแบบนี้ทุกภาค ส่วนใหญ่จะเป็นการเกษตรแบบผสม คือมีทั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน แต่ขนาดของพื้นที่และเครื่องมือประกอบกิจการจะแตกต่างไปจากในต่างประเทศมาก

ปัจจัยและเหตุผลในการเลือกทำเลที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน


การตั้งชุมชนในชนบทถ้าได้มีการศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่า ทุกแห่งมีประวัติความเป็นมาของตนเอง ประวัติความเป็นมานั้นจะมีปัจจัยและเหตุผลเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสม ดังนี้

1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเลือกเป็นที่ตั้งของชุมชน ได้แก่

1.1 แหล่งน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพ ดั นั้นการเลือกที่ตั้งชุมชนมักมีแหล่งน้ำปเนองค์ประกอบเสมอ เช่น ริมแม่น้ำ หนองน้ำ เป็นต้น น้ำนอกจากจะใช้เพื่อการบริโภคและเพาะปลูกแล้ว ยังใช้เป็นเส้นทางคมนาคมด้วย จะเห็นได้จากหมู่บ้านในชนบทภาคกลางเรียงรายไปตามลำน้ำ และหันหน้าบ้านออกสู่ลำน้ำ ถ้าทางน้ำมีน้ำไหลสม่ำเสมอ ชุมชนโดยทั่วไปจะอยู่กันหนาแน่นและยาวนาน

1.2 ที่ดอน บริเวณซึ่งอาจมีน้ำท่วมอยู่เสมอ หรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก การตั้งบ้านเรือนจำเป็นต้องเลือกทำเลที่สูงเพื่อความปลอดภัย บ้านเรือนของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวนมากที่ตั้งบ้านเรือนบน ที่ดอน มักจะเรียกชื่อเป็น "โนน" "เนิน" "โคก" เช่น โนนสูง สูงเนิน โคกสะแทน โนนสมบูรณ์ โนนแพง ฯลฯ ถ้าเป็นชุมชนทางภาคใต้ จะเรียก "ควน" เช่น ควนกาหลง ควนเนียง ฯลฯ

1.3 ดินอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่ราบระหว่างภูเขา บริเวณเชิงเขา ซึ่งมีดินตะกอน บริเวณเหล่านี้จะมีการตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่น เพราะมีผลผลิตทางการเกษตรสูง

1.4 แหล่งแร่ บริเวณที่มีแร่หรือทรัพยากรธรณีจะมีประชากรไปตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น บางชุมชนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขยายตัวเช่นนี้บ้านเรื่อนจะไม่เป็นระเบียบ แต่ละคนตั้งบ้านเรือนตามความพอใจ เช่น ชุมชนที่เกิดจากการตื่นพลอยในระยะแรกๆ ของตำบลบ่อไร่ (ปัจจุบันเป็นอำเภอ) จ.ตราด

2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตั้งชุมชน และถ้าองค์ประกอบทางเศรษฐกิจอำนวยให้แล้วชุมชนนั้นอาจขยายตัวเป็นเมืองต่อไป ปัจจัยทางเศรษฐกิจแบ่งได้เป็น

2.1 บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ การผลิตสินค้าหัตถกรรมส่วนใหญ่จะได้วัสดุจากธรรมชาติ เพื่อความสะดวกในการประกอบการจึงต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้น แม้แต่บ้านด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านเครื่องปั้นดินเผา ชุมชนก็เริ่มต้นจากที่บริเวณนั้นมีดินเหนียวเหมาะสำหรับปั้นถ้วยชาม หม้อ ตุ่มน้ำ ในปัจจุบันชุมชนนี้ได้ขยายตัวมากขึ้นและได้ดัดแปลงหรือปฏิรูปเครื่องปั้นดิน เผาใหม่ตามความต้องการของตลาด นอกจากนั้นชุมชนยังเกิดขึ้นในบริเวณที่พบแหล่งวัตถุดิบอื่นๆได้อีกเช่นกัน

2.2 บริเวณที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ชนบทที่ว่างเปล่าหลายแห่งเป็๋นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมด้านการ เกษตร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่รองรับแรงงานในชนบทได้เป็นอย่างมาก ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เมื่อมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สภาพเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป คือมีรายได้เป็นตัวเงินทุกเดือน การจับจ่ายใช้สอยก็คล่องมือยิ่งขึ้น ร้านค้าประเภทต่างๆก็ค่อยๆเพิ่มมากขึ้น คนงานที่อาศัยอยู่ไกลๆก็อาจจะมาสร้างบ้านใหม่ใกล้บริเวณโรงงาน ชุมชนก็จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ปัญหาที่พบในชุมชนในลักษณะนี้คือ ความไม่เป็นระเบียบของอาคารสถานที่ ความสะอาดของชุมชน

2.3 บริเวณเส้นทางคมนาคมตัดกัน อาจเป็นทางเกวียน ทางเท้า ทางเรือ ทางรถยนต์ ซึ่งเป็นทำเลที่มีการสัญจรผ่านไปมาอยู่เสมอ เหมาะที่จะตั้งบ้านเรือนร้านค้า เพราะสะดวกด้านการติดต่อและยังเป็นโอกาสให้สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย

2.4 บริเวณสุดทางคมนาคมสองแบบ เช่น พอสุดเส้นทางรถยนต์และเดินทางต่อไปด้วยทางเท้า ทางเรือ หรือทางเกวียน บริเวณเช่นนี้มีอิทธิพลต่อการตั้งชุมชนมากเช่นกัน เพราะจะเป็นแหล่งที่พัก ที่แลกเปลียนซื้อขายสินค้า

ในบางครั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ก็มีส่วนช่วยในการเลือก ทำเลที่ตั้งบ้านเรือนเช่นกัน ดังจะเห็นจากรายงานของผู้เขียนเองซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนของประชากรในแต่ละอาชีพในพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะรูปร่างของอ่างเก็บน้ำนี้คล้ายกับกะทะ มีน้ำขังอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ดังนั้นจึงมีพื้นที่ว่างเปล่าให้ชาวบ้านเข้าไปจับจองทำมาหากินโดยผิดกฏหมาย จากการศึกษาพบว่าอาชีพประมงจะตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ใกล้กับระดับน้ำใน อ่างฯ บ้านจะก่อสร้างไม่ถาวรสามารถเคลื่อนย้ายได้ในกรณีทีระดับน้ำในอ่างสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว ถัดสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเป็นบ้างของผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดและปลูกผัก โดยที่ลุ่มน้ำขังจะใช้ในการเลี้ยงเป็ด พื้นที่ราบจะใช้ในการปลูกผักซึ่งเป็นแหล่งผลิตผักใหญ่แห่งหนึ่งที่ส่งไป จำหน่ายในกรุงเทพฯ บ้านส่วนใหญ่จะถาวรและแข็งแรงกว่าอาชีพประมงมาก และในระดับสูงขึ้นไปอีก จะเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกินของชาวไร่ ทุ่งหญ้าและเป็นคอกปศุสัตว์ เนื่องจากพืชไร่ไม่ต้องการน้ำบ่อยครั้งและเป็นปริมาณมากเหมือนพืชผัก จึงปลูกในระดับสูงได้ และกลุ่มนี้สภาพบ้านเรือนมั่นคงถาวรมาก

3. ปัจจัยทางวัฒนธรรม สถานที่เคารพบูชาทางศาสนาหรือที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับระเบียบประเพณีต่างๆ เป็นต้น ปัจจัยทางด้านนี้ได้แก่

3.1 สถานที่เคารพบูชา เช่น สถูป เจดีย์ เทวสถาน ศาลเจ้าใกล้เคียงกับสถานที่เหล่านั้นมักมีชุมชนและหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้านเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับสถานที่เคารพบูชาดังกล่าวไม่มากก็น้อย

3.2 สถานที่ทางประวัติศาสตร์บางแห่งจะมีชุมชนหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ๆ บริเวณเช่นนี้อาจเป็นที่ตั้งหมู่บ้านมาช้านานหรือมิฉะนั้นเป็นทำเลที่เหมาะ สมเก่าแก่และมีการค้นพบกันขึ้นใหม่ สถานที่เช่นนี้จะพบมากตามบริเวณเมืองเก่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3.3 ประเพณีนิยม คนบางกลุ่มบางพวกจะเลืกที่ตั้งถิ่นฐานตามความเชื่อที่เคยยึดถือกันมา เช่น บริเวณกอไม้ใหญ่ บริเวณซึ่งมีลักษณะทางธรรมชาติแปลกๆ เช่น มีก้อนหินโผล่ ลานหิน หน้าผา เป็นต้น

รูปแบบการตั้งถิ่นฐานใกล้ตัวเมือง


ในบริเวณรอบๆเมืองใหญ่จะมีการตั้งถิ่นฐานของประชาชนหลายลักษณะ ได้แก่

1. Aggromeration เป็นลักษณะของชุมชนตั้งรวมกลุ่มกันอยู่นอกเมือง ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่เป็นสวน กลุ่มนี้อาจจะเป็นชุมชนที่เกิดจากการอยู่รวมกันของชาวบ้านหรือเป็นกลุ่มที่ มีรายได้สูงและต้องการพื้นที่กว้างๆไว้ทำการเกษตรเล็กๆน้อยๆ เพือพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด ราคาของที่ดินในบริเวณนี้จะถูกกว่าบริเวณที่เป็นชานเมือง (suburban) ประชากรที่อยู่ในชุมชนถึงแม้จะอยู่ในที่ทำการเกษตรแต่อาชีพหลักเกี่ยวข้อง หรือทำในเมืองจึงถือว่าไม่ใช่ประชากรชนบท

2. Rural Urban Fringe เป็นชุมชนที่ขยายตัวไปตามเส้นทางคมนาคมที่สะดวกจากเมืองใหญ่ จะอยู่กันเป็นกลุ่มโดยชาวเมืองจะไปตั้งบ้านเรือนปะปนอยู่กับชาวชนบท ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่อยู่เดิม สภาพบ้านเรือนของชาวเมืองที่ไปปลูกสร้างจะดีกว่าของชาวบ้านมาก และสภาพความเป็นอยู่ก็แตกต่างกันในหลายๆด้าน เช่น

2.1 การทำงาน ชาวเมืองจะถือเรื่องเวลาเป็นเรื่องใหญ่ มีการทำงานเป็นเวลา สถานที่ทำงานอยู่ในเมืองส่วนชาวบ้านจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม

2.2 ประเพณี ชาวเมืองจะทำแบบในเมือง เพื่อนฝูง จะอยู่ที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน

2.3 เศรษฐกิจ เมื่อคนในเมืองเข้ามาอยู่ราคาสินค้าในแถบนั้นจะเริ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้ร่วมกัน ทำให้ชาวบ้านเริ่มไม่พอใจ

ในระยะแรกนั้นทั้งสองพวกจะเป็นมิตรกัน พอนานเข้าต่างก็รู้สึกอึดอัด มีความรู้สึกขัดแย้งและเริ่มเป็นศัตรูกัน เมื่อชุมชนนี้มีประชากรมากขึ้น บ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้น จะเกิดปัญหาด้านสาธารณูปโภค ได้แก่ การชำรุดของถนน การระบายน้ำ ปัญหาเหล่านี้ต่างคนต่างก็นิ่งดูดาย จนในที่สุดต้องมีผู้เสียสละขันอาสาเป็นผู้นำเข้าแก้ไข

ชาวบ้านบางส่วนที่ปรับตัวเข้ากับสภาพชุมชนแบบนี้ไม่ได้ก็จะถอยหรืออพยพออกไป ชาวบ้านที่ปรับตัวได้ก็จะอยู่ต่อไป เหตุที่ปรับตัวได้เพราะได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น หรือมีการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่กระจายออกไป ทำให้ตนเองสูงขึ้น รู้ระเบียบวิธีการแบบในเมืองมากขึ้น

3. Suburban (ชานเมือง) เป็นบริเวณหรือชุมชนที่อยู่โดยรอบเมืองซึ่งเป้นส่วนหนึ่งของเมืองที่ขยายตัว ออกไป ชานเมือง มี 2 ลักษณะ

3.1 Housing เป็นชุมชนที่คนส่วนใหญ่มีบ้านเป็นของตนเองและใช้บ้านเป็นเพียงที่หลับนอนและ พักผ่อนในวันหยุด สถานที่ทำงานอยู่ในเมือง ทำงานโดยไปเช้าเย็นกลับ (commuter) ร้านค้า สินค้าและบริการในชุมชนมีน้อย สถานที่พักผ่อน สถานที่ราชการ เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านค้าในระดับใหญ่ ไปรษณีย์ภายในชุมชนมีน้อย ทั้งนี้เพราะว่าคนไม่นิยมใช้บริการ ส่วนใหญ่จะใช้บริการใกล้ที่ทำงานของตนหรือบริเวณที่เดินทางผ่าน อย่างไรก็ตามในชุมชนนี้จะมีร้านค้าเล็กๆ (ร้านชำ) ให้บริการสินค้าที่จำเป็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เป็นหย่อมๆ

3.2 Employing suburban เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้ ในสิ่งที่จำเป็นเช่นมีสถานที่ทำงานของหน่วยราชการ สถานศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ร้านค้าในระดับใหญ่ ประชากรในชุมชนนี้จะเข้าไปในเมืองบางครั้งเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องเปรียบ เทียบคุณภาพหรือสิ่งของอันดับสูง ความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในชุมชนถือว่าตนเองอยู่ในเมืองใหญ่หรือเป็นส่วน หนึ่งของเมืองใหญ่

4. Rural-Urban Continuum (ความติดต่อสืบเนื่องกันของลักษณาการชนบท- เมือง ) ชุมชนนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ตัวเมือง

เป็นกระบวนการที่ปรากฏขึ้นตามลักษณาการชนบท- เมือง เหลื่อมล้ำติดต่อสืบเนื่องในชุมชนหนึ่ง ไม่แยกเป็นชนบทหรือเมืองโดยเด็ดขาด กิจกรรมต่างๆที่กระทำในชุมชนจะกระทำร่วมกันระหว่างความเป็นเมืองและชนบท เกณฑ์ในการพิจารณาว่าชุมชนใดจะอยู่ในลักษณะนี้พิจารณาได้จาก

4.1 จำนวนประชากร มีจำนวนประชากรมาก ซึ่งอาจเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว โดยการอพยพเข้ามาเพราะบริเวณนั้นมีสิ่งดึงดูดใจ ทำให้ท้องถิ่นนั้นแออัดมากขึ้น นอกจากนี้ยังพิจารณาจากความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่สูงมาก มีอัตราการเกิดสูง มีการใช้แรงงานสตรีเพิ่มมากขึ้น

4.2 ด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ประชากรในชุมชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิม ทั้งๆที่มิได้ประกอบอาชีพเหมือนเดิม พฤติกรรมบางอย่างคล้ายแบบเมืองเนื่องจากการแพร่กระจายสิ่งใหม่ๆเข้ามา เช่นใช้เครื่องผ่อนแรง มีเครื่องอำนวยความสะดวกและบันเทิงกันโดยทั่วไป และมีปัญหาสังคมคล้ายคลึงกับเมืองด้วย เช่น ปัญหาอาชญากรรม โรคระบาด ฯลฯ

ลักษณะบ้านและวัสดุก่อสร้าง


ลักษณะบ้านเรือนในชนบทของไทยเราจะปลูกเป็นหลังโดดๆ มีใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับลักษะบ้านของประเทศใกล้เคียง สาเหตุที่ใต้ถุนสูงอาจเป็นเพราะประเพณี รับลมระบายและถ่ายเทความร้อนได้สะดวก ป้องกันสัตว์ร้าย เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วม เป็นคอกสัตว์เลี้ยง เป็นที่พักผ่อนตอนกลางวัน ที่เก็บพันธุ์พืช เครื่องมือการเกษตรหรือเป็นที่ประกอบอาชีพรองของครอบครัว

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง


ส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่หาได้ในชนบท เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ดิน หิน ฯลฯ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวัสดุบางอย่างมีปริมาณลดลงเนื่องจากการนำไปใช้ของชาว ชนบทหรือเพื่อการค้า ดังนั้นส่วนประกอบของตัวบ้านบางอย่างต้องซื้อที่ผลิตจากโรงงาน

หลังคา

ในชนบททั่วๆไปบ้านที่มุงด้วยหญ้าคาหรือจากยังมีให้เห็นในชุมชนที่ห่างไกลจาก ความเจริญ หรือชุมชนที่ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจน ชาวบ้านคนใดที่พอจะมีจะกินบ้างจะเปลี่ยนมาใช้สังกะสีหรือกระเบื้องแทน เพราะไม่ต้องไปกังวลหลังคาจะรั่วหรือเปลี่ยนหลังคาบ่อยครั้ง ถ้าเปรียบเทียบหลังคาที่มุงด้วยหญ้าคากับสังกะสีแล้ว ความเย็นภายในตัวบ้านจะต่างกัน ชุมชนใกล้ทะเลนิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคาและกระเบื้องมากกว่าสังกะสี เพราะวัสดุทั้งสองชนิดนั้นไม่ผุกร่อนและเป็นสนิมเมื่อถูกกับไอทะเล

รูปทรงหลังคาบ้านในเขตร้อนชื้นรวมทั้งในประเทศไทยจะมีความลาดชันค่อนข้างมาก ลักษณะเช่นนี้จะมีผลดี 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก แสงอาทิตย์ทำมุมเฉียงกับหลังคาทำให้หลังคามีพื้นที่รับแสงอาทิตย์น้อยลง ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านก็จะลดลงด้วย ประกอบกับในเขตร้อนชื้นดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวันจะอยู่ในแนวตรงกับศรีษะเกือบ ตลอดปี ซึ่งจะเป็นผลกระทบอย่างมากต่อความร้อนที่ได้รับในเขตนี้ และประการที่สองในเขตนี้อีกเช่นกันมีช่วงของฤดูฝนที่ตกหนักเนื่องจากมรสุม หรืออิทธิพลของพายุหมุน ความลาดชันของหลังคาจะทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงสร้างส่วนอื่นๆที่รองรับหลังคารับน้ำหนักจากน้ำฝนที่ไหลบนหลังคา น้อยลง

ฝา
จะเป็นวัสดุชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับฐานะของแต่ละครอบครัว วัสดุที่ใช้มีตั้งแต่ทำด้วยใบไม้โดยนำมาวางซ้อนๆกันแล้วใช้ไม้ประกบแล้วมัด ด้วยตอกไม้ไผ่ หรืออาจจะเป็นไม้ไผ่ทั้งลำตีแผ่ให้แบน ต้นไม้ที่ตัดจากป่าแล้วมาแปรรูปเอง ไม้ที่แปรรูปากโรงงานหรืออาจจะใช้ดินก็ได้

พื้นบ้าน

บ้านที่มีฐานะไม่ค่อยดีนักจะปูด้วยไม้ที่แปรรูปเอง ซึ่งได้จากการตัดต้นไม้ในท้องไร่ท้องนาของตนเองแปรรูปที่นั่นโดยใช้เลื่อย มือขนาดใหญ่แล้วจึงขนมาก่อสร้าง ถ้าเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนจะปูด้วยไม้ไผ่ที่ตีแผ่ให้แบนซึ่งพบมากในบ้าน ของชาวเขาทางภาคเหนือ

ส่วนประกอบอื่นๆของตัวบ้านจะใช้วัสดุอะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวนั้นๆเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงในชนบท


การคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว ประกอบกับการศึกษาและสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โฉนหน้าของชนบทเปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งในทางบวกและทางลบ

การเปลี่ยนแปลงในทางบวก คือ การที่ชนบทได้เจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะทางวัตถุ เช่น มีถนนหนทาง มีไฟฟ้าใช้ ความบันเทิงก็มีโอกาสเข้ามาถึงบ้าน เช่น โทรทัศน์และวิทยุ ความเงียบเหงาในชนบทได้เริ่มเปลี่ยนไป การเปลียนแปลงเช่นนี้ทำให้สภาพในชนบทเป็นสภาพทีน่าอยู่ยิ่งขึ้น โรคภัยไข้เจ็บซึ่งเคยเบียดเบียนคนในชนบทมามากในสมัยก่อนก็บรรเทาเบาบางลงโดย ยาแผนใหม่ซึ่งถูกนำเข้าสู่ชนบท วิธีการเกษตรกรรมแผนใหม่ตลอดจนเครื่องมือและเครื่องจักรทำให้การทำงานในชนบท ซึ่งเคยใช้แรงงานและความยากลำบากกลายเป็นสะดวกสบายและงานเสร็จสิ้นลงด้วย เวลาอันรวดเร็ว

ส่วนการเปลี่ยนแปลงในทางลบนั้นก็มีมาก สิ่งใหม่ๆทำให้ความต้องการของคนในชนบทเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจ การใช้จ่ายในชนบทสูงขึ้นแต่ผลผลิตในหลายกรณีไม่ได้เพิ่มขึ้นไปด้วย ความบันเทิงซึ่งเข้าไปถึงบ้านทำให้การทำงานเริ่มน้อยลง ขณะเดียวกันเครื่องทุ่นแรงทำให้เวลาว่างเพิ่มากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลงทำให้ประชากรในชนบทเพิ่มขึ้นโดยรวดเร็วและยังผลกระทบ กระเทือนต่อพื้นที่ซึ่งใช้ทำการเพาะปลูกซึ่งมีอยู่จำกัด ความกดดันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในชนบทเริ่มมีมากขึ้น

สิ่งเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมีดังนี้

1. การคมนาคม

1.1 ถนน ถนนเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ให้บริการที่สะดวกรวดเร็วมาก โครงข่ายของถนนทำให้การเดินทางติดต่อถึงกันและกันง่ายขึ้น การคมนาคมที่ขยายตัวจะส่งผลให้กิจการต่างๆในชุมชนซับซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นชุมชนก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ชุมชนใดที่ปล่อยให้ความเจริญทางเทคโนโลยีการขนส่งเป็นตัวกำหนดการขยายตัว อย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของบุคคลในชุมชนโดยส่วนรวม ชุมชนนั้นจะขาดระเบียบและอาจจะกลายเป็นชุมชนแออัดไป

1.2 เครื่องยนต์ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กช่วยให้การติดต่อในชนบทเป็นไปอย่างรวด เร็ว เริ่มแต่เครื่องเรือหางยาวมาช่วยให้การติดต่อทางน้ำ ซึ่งต้องใช้เวลานานโดยเรือพายเรือแจว มาใช้เวลาสั้นเข้า น้ำหนักบรรทุกมากขึ้น เครื่องยนต์นี้จะมีทั่วไปทุกลำน้ำ เส้นทางบกก็มีรถจักรยานยนต์ รถโดยสารขนาดเล็กในปัจจุบันรถโดยสารขนาดเล็กแพร่เข้าไปทั่วถึงเกือบทุกตำบล ถ้ามีเส้นทางพอที่จะไปได้ รถขนาดเล็กนี้นอกจากนำเอาตัวบุคคลไปยังที่ต่างๆแล้ว ยังนำผลผลิตต่างๆในชนบทออกสู่ท้องตลาดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ในขณะนี้การสร้างทางในชนบทได้ทำกันมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็๋ตามจำนวนที่สร้างก็ยังไม่เพียงพอเพราะตำบลต่างๆทั้งประเทศมี อยู่ถึง 5000 ตำบล และเป็นจำนวนหมู่บ้านอีกไม่น้อยกว่า 30,000 หมู่บ้าน คงต้องใช้เวลาอีกนานซึงสามารถทำเส้นทางในชนบทให้สามรถเชื่อมทุกหมู่บ้านได้ กับทางสายหลัก นอกจากนั้นยังต้องเร่งติดตามปรับปรุงเส้นทางที่ใช้มากๆ ให้เป็นถนนชั้นดีใช้ได้ตลอดทุกฤดูกาล การสร้างทางในชนบทส่วนมากเป็นหน้าที่ของหน่วยเร่งรัดพัฒนาชนบท

2. ไฟฟ้า บริเวณชนบทส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่การดำเนินงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้พยายามนำไฟฟ้าเข้าไปสู่ตำบลต่างๆ ในชนบท ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคทีสำคัญในด้านให้แสงสว่างและพลังงาน แต่ที่น่าเสียดายคือ การนำไฟฟ้าไปสู่ชนบทเป็นการนำการบริโภคไปให้แก่ชาวชนบทเพิ่มมากขึ้น ทางที่ถูกน่าจะได้มีการวางแผนให้ชาวชนบทที่ได้รับไฟฟ้าไปใช้ด้านการผลิต เพราะไฟฟ้ายังเป็นพลังงานที่ราคาถูก เช่น การนำไปสูบน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูก การนำไฟฟ้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตด้านหัตถกรรมในท้องถิ่น เช่น การกลึงไม้ ไสไม้ การทอผ้าและกิจกรรมการเกษตรต่างๆ แต่เท่าที่ผ่านมาชาวบ้านชนบทต้อนรับไฟฟ้าโดยซื้อของเพื่อการบริโภค เช่น โทรทัศน์ พัดลม และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งเป็นของฟุ่มเฟือยโดยที่รายได้ของชาวชนบทไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่การใช้จ่ายมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามไฟฟ้าเข้าไปถึงชนบทเพียงส่วนน้อย การที่จะเพิ่มไฟฟ้าให้มีเพียงพอทุกแห่งในชนบทยังต้องใช้เวลาอีกนานและยัง เกี่ยวข้องกับกำลังผลิตไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เงินอีกเป็นจำนวนมาก ในชนบทที่ไฟฟ้าได้เข้าถึงแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าไปเป็นอันมาก และเป็นข้อยืนยันได้อย่างดีว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชนบท

3. เกษตรกรรม ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการคมนาคม ไฟฟ้า การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมก็มีการเปลียนแปลงเช่นกัน ได้แก่

3.1 ด้านแรงงาน พืชพันธุ์ใหม่ เครืองทุ่นแรง ในชนบทของเราแรงงานที่ใช้ในกาารเกษตรยังเป็นแรงงานคนและแรงงานสัตว์อยู่มาก การใช้แรงานคนมักนิยมใช้วิธีลงแขกเพื่อความรวดเร็วและทันฤดูกาล ประเพณีลงแขกมี 2 วิธี

แขกขอแรง คนอื่นสมัครใจมาช่วยตามขอร้อง เมื่อช่วยเสร็จแล้วก็แล้วกันไป ไม่ต้องมีอะไรตอบแทนกัน เป็นแต่เพียงเจ้าของงานมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูแขกในด้านอาหารเท่านั้น

แขกลงแรง เมื่อถึงคราวงานของคนที่มาช่วย ตนก็ต้องไปช่วยเขาบ้างเป็นการตอบแทนไปในตัว

สำหรับประเพณีนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เป็นการว่าจ้างเป็นรายวันหรือเหมาทั้งหมด

ในด้านแรงงานสัตว์ที่ใช้ในการเกษตร จะเป็นวัว ควาย แล้วแต่สภาพท้องถิ่นนิยม เครืองไม้เครื่องมือในการประกอบการเป็นแบบง่ายๆ ซึ่งทำกันเองในหมู่บ้าน ปัจจุบันได้นำเอาเครื่องจักรขนาดเล็กมาเป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำนา เช่น ควายเหล็ก เครื่องสูบน้ำ เครื่องนวดข้าว และเครื่องยนต์ ซึ่งใช้ประโยชน์อเนกประสงค์มาใช้ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้เกษตรกรรมเบาแรงขึ้น และแรงงานเสร็จสิ้นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นเทคนิคใหม่ๆ ยังช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความจำเป็นในด้านการใช้แรงงานเพื่อการเกษตรลดลง ความจำเป็นที่จะต้องมีลูกหลานเพื่อช่วยเหลือในด้านการเกษตรจึงลดน้อยลงด้วย

ส่วนพืชพันธุ์ใหม่ๆนั้นก็ได้มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ทดลองค้นคว้าวิจัย เป็นจำนวนมาก เพื่อจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ให้พืชทนทานต่อโรค ทนต่อสภาพภูมิอากาศของแต่ละภาค ซึ่งชาวไร่ชาวนาในชนบทก็เริ่มสนใจที่จะนำวิทยาการสมัยใหม่เหล่านี้ไปใช้หรือ ไปทดลองเพื่อทดแทนพันธุ์พืชเก่าที่ใช้เพาะปลูกกันมานาน แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ (การยอมรับ) จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเอง และสภาพแวดล้อม

3.2 รูปแบบการเพาะปลูก เกษตรกรเคยปลูกพืชปีละครั้ง โดยอาศัยธรรมชาติ เมื่อมีระบบชลประทานผ่านเข้ามาในพื้นที่ทำกินของตน เกษตรกรจะหันมาปลูกพืชมากกว่าหนึ่งครั้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งเราเรียกว่าหารปฏิวัติเขียว นับว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของเกษตรกรและประเทศพัฒนาโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามการปฏิวัติเขียวก็มีผลทางด้านลบต่อเกษตรกร เช่น

แมลงรบกวนในการปลูกพืชครั้งที่สอง ตามปกติแมลงมีในเฉพาะฤดูกาลเพาะปลูกถึงแม้แมลงจะมากแต่ก็กระจายออกไปทุกๆ แห่ง พอปลูกฤดูที่ 2 ซึ่งปลูกได้ในบางแห่งบางพื้นที่จึงเป็นจุดสนใจของแมลง ทำให้ดูเหมือนว่ามีแมลงมากกว่าปกติ ซึ่งจะทำความเสียหายให้กับพืชมาก

การบุกรุกป่าเพื่อเพิ่มผลผลิตและขยายพื้นที่ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปแมลงที่อยู่ในป่าจะปรับตัวเองได้ และถือว่าเกษตรกรเอาอาหารมาส่งให้ถึงที่

จำนวนยาที่ใช้ปราบศัตรูพืชและปริมาณปุ๋ย ทั้งสองอย่างนี้ใช้กันมาก เนื่องจากมีแมลงมาก และปุ๋ยในดินก็หมดไปกับปุ๋ยรุ่นแรก ลักษณะเช่นนี้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอาจมีผลตกค้างในผลผลิต ตกค้างในดิน ซึ่งจะทำลายสัตว์อื่นหรือเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินไปจากเดิม

นอกจากนี้รูปแบบการเพาะปลูกยังได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกพืชเพื่อการยัง ชีพมาเป็นการปลูกพืชเพื่อการค้ามากขึ้น เช่น การปลูกพืชไร่ มีข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง สัปปะรด อ้อย พืชเหล่านี้ล้วนให้ผลประโยชน์ต่อไร่สูง แต่เกษตรกรในชนบทยังขาดความมั่นในใจเรื่องราคาของผลผลิตเหล่านี้ ในบางท้องที่ซึ่งมีโรงงานที่รับซื้อผลผลิตค่อนข้างแน่นอน การขยายตัวในการผลิตมีมากขึ้น ซึ่งยังผลให้เกิดปัญหาด้านบุกรุกป่าสงวน และที่สาธารณะซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างรีบเร่ง การที่ชนบทรับเอาพืชการค้าไปเพาะปลูกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชนบท ดังนี้

1. มีศูนย์บริการด้านการค้าขึ้น ศูนย์เหล่านี้มีความสำคัญต่อชนบทมาก เพราะเป็๋นที่รวบรวมหรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และให้บริการด้านซ่อมแซมเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์ที่ใช้แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้วย เช่น เรืองการใช้ปุ๋ยหรือเทคนิคใหม่ ๆ เป็นต้น

2. รูปแบบของที่เพาะปลูกจะเปลี่ยนไป ที่เพาะปลูกจะเป็นแหล่งใหญ่และเกษตรกรมักจะอาศัยอยู่ในที่ซึ่งเพาะปลูกสะดวก ในการดูแลและบำรุงรักษา ถึงแม้ว่าเดิมจะมีบ้านอยู่แล้ว แต่อาจต้องมีที่อาศัยใหม่เพื่อดูแลผลผลิตที่ทำไว้ การใช้เครื่องทุ่นแรงและการใช้ปุ๋ยในกรณีนี้จะมีมากขึ้น

3. ชนบทจะเริ่มเจริญและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์เช่นนี้น่าสนใจและควรได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง

การท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในชนบท


นักท่องเที่ยวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วไปในชนบท Saville (1966) ได้สรุปงานวิจัยไว้ว่า "ยากที่จะกล่าวถึงผลของการท่องเที่ยวที่จะมีอีก 100 ปีข้างหน้าต่อสังคมชนบทของประเทศในยุโรป แต่ผลกระทบนี้มีอิทธิพลต่อสังคมชนบทมาก เมื่อนักท่องเที่ยวได้หลั่งไหลเข้าสู่เขตชนบทจะทำให้ชาวชนบทคิดว่าตัวเองได้ เปลี่ยนเป็นชาวเมืองมากขึ้น และความคิดนี้จะเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างทางสังคมของชาว ชนบท นอกจากนี้ยังเป็นการฉีดความคิดชาวเมืองเข้าไว้ในชาวชนบทอีกด้วย"

ในระยะเริ่มแรกประชาชนในชนบทไม่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากข้างนอกที่แตกต่างไป จากสมาชิกของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะได้รับการต้อนรับเหมือนแกะที่หลงทาง ความไม่เป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวจะลดน้อยลง เมื่อสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นรู้ว่าการให้ความสะดวกแก่พวกเขาอย่างน้อยก็ได้ ประโยชน์ 4 ประการ ดังนี้

ประการแรก มีงานเพิ่มแก่ผู้หญิงและเด็ก ๆที่ไม่ได้ทำงานฟาร์ม Rambaud (1969) ได้รายงานไว้ว่า ชาวชนบทถือว่าการทำงานที่เพิ่มขึ้นนี้มีความสำคัญมากที่สุดที่ได้รับจากพวก นักท่องเที่ยว เช่น งานโรงแรมและบ้านพัก หรือในการขายของที่ระลึก เช่น เครื่องปั้นภาชนะดินเผา ผ้าที่ทอด้วยมือ ฯลฯ

ประการที่สอง งานเหล่านี้เพิ่มรายได้ให้แก่ครอวครัว เช่น พื้นที่ฟาร์มก็ทำเป็นบ้านให้นักท่องเที่ยวเช่า หรือถ้ามีบ้านหลายหลังก็จะแบ่งให้เช่า Morgan-Jone (1972) กล่าวไว้ว่า "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามฟาร์มได้เปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการใช้เวลา ที่ดิน และบ้านต่อภรรยา และบุตรของชาวนาเป็นอย่างมาก" Dower (1972) ได้ชี้ว่า รายจ่ายของนักท่องเที่ยวนั้นส่วนใหญ่ตกไปอยู่กับแรงงาน ผลผลิตและการบริการในท้องถิ่นมากกว่ารายจ่ายอื่นๆ จากการประมาณการรายจ่ายของนักท่องเที่ยวในวันหยุด พบว่า 50-60% ใช้ไปกับที่พักและอาหาร 15% หมดไปกับการเดินทาง ที่เหลือเป็นค่าพักผ่อนหย่อนใจ ซื้อของและความบันเทิง

ประการที่สาม เกษตรกรมีโอกาสได้ขายผลผลิตของตน (นม ผัก ผลไม้) ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาพักอาศัยในท้องถิ่นนั้นๆรวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ เดินทางผ่าน

ประการสุดท้าย การติดต่อระหว่างนักท่องเที่ยวและชาวชนบทเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ ความเข้าใจในชีวิตการงานของโลกภายนอก

ความคิดของชาวชนบทเกี่ยวกับ "งาน" ได้เปลี่ยนไปหลังจากติดต่อกับชาวเมือง แต่เดิมการดำเนินชีวิตทางการเกษตรกรรมไม่ได้ถือเป็นธุรกิจ การทำงานในท้องนาจะทำกันตั้งแต่เช้าเรื่อยไปตลอดวันและตลอดปี "งาน" และ "การพักผ่อนหย่อนใจ" ไม่ได้แยกจากกัน พอนักท่องเที่ยวเข้ามาพวกเขาได้จัดกิจกรรมที่มีรายได้และมีการแยกกันระหว่าง "งาน" และ "การพักผ่อนหย่อนใจ"

การทำฟาร์มจึงอยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งเมื่อการอำนวยความสะดวกแก่นักท่อง เที่ยวได้ผลดีและก่อประโยชน์ใหญ่ๆ 4 ประการ ประการแรก ได้เงินมากกว่าการทำฟาร์ม ประการที่สอง ได้ฝึกอาชีพมากกว่าการทำฟาร์ม เช่น เป็นผู้สอนการเล่นกีฬาหรือบ๋อยในฤดูที่มีนักท่องเที่ยว ประการที่สาม นักท่องเที่ยวให้เกียรติและมีโอกาสในสังคมชั้นสูง ในขณะที่ยังทำงานนั้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ประการสุดท้าย ได้ผลกำไรดีกว่าและการเสี่ยงอยู่กับความไม่แน่นอนของการทำฟาร์ม

ดังนั้น การท่องเที่ยวก็เช่นเดียวกับรูปแบบที่มีอิทธิพลอื่นๆของชาวเมืองหลวงที่มี ต่อชนบท ทำให้เกิดการแตกกลุ่มของสังคมในชนบท เกิดการแข่งขันและการเป็นตัวใครตัวมัน ในอดีตเขาเคยทำงานร่วมกันในท้องทุ่ง ก็จะกลายมาเป็นคู่แข่งซึ่งต่างพยายามทำให้นักท่องเที่ยวพอใจในกิจการของตน

นอกจากนี้การขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นในหมู่พวกที่ไม่ต้องการขายบริการหรือ ทรัพยสินของตนต่อนักท่องเที่ยว พวกนี้คิดว่าการทำให้ฟาร์มของตนกว้างขึ้น และมั่นคงขึ้นนั้นถูกขัดขวางโดยมีพวกนักท่องเที่ยวเข้ามาพักกระจัดกระจาย รอบๆหมู่บ้าน และไม่สามารถทำที่ที่ทำการเกษตรได้ ราคาของที่ดินเพิ่มมากขึ้น เมื่อพวกนักท่องเที่ยวได้พากันเข้ามา

ได้มีการโต้เถียงถึงผลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมเมื่อนักท่องเที่ยว ได้เข้ามา เราอาจจะกล่าวได้ว่าการจัดเป็นที่ท่องเที่ยวทำให้มีงานและมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้สภาพการดำรงชีวิตดีขึ้น และยังมีผลอย่างยิ่งต่อสตรีที่ทำงานตามชนบททำไม่ได้ และมีแนวโน้มที่จะอพยพไปสู่เมืองหลวงมากกว่าชายหนุ่ม ในทางตรงข้ามอาจกล่าวได้ว่า การกระจายข่าวเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของชาวเมืองทำให้ชาวชนบทไม่พอใจกับสภาพ ของตนเองและผลักดันให้พวกเขาเข้าเมือง ซึ่งเขาจะได้รับทักษะใหม่ๆและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงกับคนหนุ่มที่ไม่ค่อยได้ผูกพันกับบ้านมากกว่าพ่อแม่ปู่ ย่าตายายของพวกเขาต่างคนต่างก็มีสิ่งสนับสนุนคำพูดของตน

ที่แน่ๆคือ "ชีวิตของชาวชนบทและจิตวิทยาในสังคมจะถูกทำให้เปลี่ยนไปมากหรือน้อยก็โดย อิทธิพลจากโลกภายนอก และการปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจในชุมชนของชาวบนบท การก่อรูปใหม่ของชีวิตชนบทอาจจะเป็นแค่เพียงบางส่วน หรืออาจจะทั้งหมดเลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับระดับวิถีชีวิตของชาวชนบทที่ดำเนินต่อไปหรือความต้องการติดต่อ กับนักท่องเที่ยว"

ปัญหาในชนบทและแนวทางแก้ไข


ปัญหาในชนบทโดยทั่วไปคือ ความยากจน ความยากจนคือสภาพที่ทำมาหาได้แล้วไม่พอกินหรือรายได้ไม่พอกับรายจ่าย

ปัญหายากจนในชนบทเป็นปัญหาโครงสร้างที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งมาตรการและโครงการต่างๆทั้งฝ่ายรัฐบาลและเอกชนยังไม่สามารถคลี่คลาย ปัญหาลงได้เท่าที่ควร นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์ในการพัฒนาประเทศในอนาคต มีปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดในด้านทัพยากรที่ดิน ตลอดจนปัจจัยทางด้านการเมืองและสังคม อาจจะมีผลทำให้ปัญหาความยากจนยากต่อการแก้ไขยิ่งขึ้น อันจะเป็นอันตรายต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

ผู้ที่ยากจนในชนบทส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในสภาพ 3 ประการ

1. มีความขาดแคลน (shortage) ขาดแคลนทั้งความคิดและวัตถุปัจจัยที่จำเป็นสำหรับความอยู่ได้และความอยู่ดี

2. ถูกเอารัดเอาเปรียบ (exploited) ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยคนที่รวยมากกว่า ฉลาดกว่าและเห็นแก่ตัว

3. ขาดเสรีภาพในการต่อรอง (deprived) ในการประกอบอาชีพ

สาเหตุของความยากจน

1. เศรษฐกิจ การขาดแคลนปัจจับพื้นฐานในการผลิต คือ น้ำ ที่ดิน ทุนทรัพย์และความไม่สะดวกในเรื่องตลาด

2. สังคมและการบริการ ขาดโอกาสที่จะได้รับความรู้ความเข้าใจชีวิตและโลกความคิด การจูงใจ ความใฝ่ฝันและความกระตือรือร้น ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพตลอดจนการสาธารณสุขและโภชนาการ

3. การปกครอง การเมืองและระบบราชการไม่เอื้ออำนวยต่อการมีเสถียรภาพและความเท่าเทียมกับ ผู้อื่นในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

ปัญหาในชนบทเป็นลักษณะของความเกี่ยวพันหรือเป็นลูกโซ่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันในขบวนการปัญหาทั้งหมด

ปัญหาด้านสังคมและการบริการ


ในการพัฒนาเกษตรกรรมหรือชนบทนั้นมุ่งเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของเกษตรกร หรือชาวชนบทโดยการให้ความรู้เพื่อเป็นทางนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ผลดี มีการปลูกฝังความเชื่อให้เกิดการเปลียนแปลงพฤติกรรม เกิดปัญหา ในบางกรณีรัฐบาลยังได้ให้ความสนับสนุนในด้านวัตถุ เพื่อเป็นเชื้อพอที่จะริเริ่มในการที่จะช่วยตนเองในโอกาสต่อไป

การพัฒนาดังกล่าวไมได้ขึ้นอยูกับขีดความสามารถของเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ

หมายถึงแบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบแบบแผนและวิธีกระทำสิ่งต่างๆตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ ที่กระทำกันในในอดีต ลักษณะสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีคือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือกันมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิดหรือการกระทำ ที่ได้สืบต่อกันมาและยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

ขนบธรรมเนียมและความเชื่อเป็นองค์กรทางสังคม (Social organization) ที่สำคัญในสังคมชนบท เป็นสิ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของชาวชนบท สังคมไทยในเขตชนบทประชาชนยังตกอยู่ในห้วงของความเชื่อที่งมงายที่กระทำสืบ ต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ ขาดความเข้าใจและไม่มีเหตุผล รู้แต่เพียงว่าจะต้องปฏิบัติตามและดำรงรักษาสืบไป ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อหลายประการที่มีผลต่อประชากรโดยตรง เช่น ความเชื่อในการรักษษพยาบาลด้วยไสยศาสตร์ ความเชื่อในเรื่องการรับประทานอาหาร ความเชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ ฯลฯ

ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบทจึงเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผูก พันกับอาชีพ ศาสนา ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ค่านิยมในด้านรักสนุกและนิยมพิธีการอยู่มาก บางครั้งชาวชนบทจึงใช้จ่ายเงินรายได้เพื่อสิ่งเหล่านี้มากกว่าเพื่อสิ่งจำ เป็นของชีวิตในด้านอื่น

ในบางครั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อไปสนับสนุนและขัดแย้งกับหลักการ พัฒนาชนบทอย่างมาก อันได้แก่ การยอมรับสิ่งใหม่ๆของชาวชนท

ความหมายของการยอมรับสิ่งใหม่

การยอมรับ (Adoption) หมายถึง กระบวนการทางจิตที่บุคคลผ่านจากการได้ยินเกี่ยวกับการเปลียนแปลงในครั้งแรก ไปสู่การยอมรับในขั้นสุดท้าย (ณรงค์ ศรีสวัสดิ์ 2512)

สิ่งใหม่หรือนวัตกรรม (Innovations) หมายถึง แนวคิด ความรู้ วิธีการ อุปกรณ์ และการปฏิบัติต่างๆที่ถือว่าแปลกใหม่ และเป็นผลดีหรือเมื่อนำมาใช้แล้วจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับเทคโนโลยี

การยอมรับความรู้ใหม่ ๆ เป็นกรรมวิธีที่ซับซ้อนซึ่งได้รวมถึงการจัดลำดับความคิดและการกระทำ โดยปกติแล้วการตัดสินใจยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้กระทำภายหลังจากที่ได้ติด ต่อหรือทำความเข้าใจจากสื่อมวลชนหลายกระแสหลายทาง ซึ่งต้องใช้ระยเวลานานพอสมควร (ยุกติ สาริกะภูติ 2511)

ดังนั้น การยอมรับสิ่งใหม่ จึงหมายถึง ขบวนการทางจิตของบุคคลที่ผ่านจากการรู้หรือการรับทราบสนใจไปจนถึงการยอมรับ เอาแนวคิด ความรู้ วิธีการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นของใหม่มายึดถือและถือปฏิบัติ

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวชนบท ได้แก่
  1. กล้าเสี่ยงกล้าได้กล้าเสีย
  2. การนิยมการได้รับยกย่องในสังคม
  3. นิยมและเห็นคุณค่าของการศึกษา (บุญธรรม คำพอ, 2520)
  4. การให้ความไว้วางใจและนับถือผู้นำผู้มีความรู้ (ไพฑูรย์ เครือแก้ว 2508)
  5. การร่วมมือกันและการยอมรับอิทธิพลจากกลุ่ม
  6. ความขยันหมั่นเพียรวิริยะอุตสาหะ
  7. การพึ่งตนเองช่วยตนเอง (พัทยา สายหู 2521)
  8. การทำงานอย่างมีเหตุผลและหลักวิชา (อมร รักษาสัตย์ , 2524)
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ขัดแย้งกับการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวชนบท ได้แก่
  1. การขาดความรู้สึกช่วยตนเองคิดหวังพึ่งรัฐบาล
  2. ความรักสนุกและขาดความขยันขันแข็งเนื่องจากยังเห็นว่ายังอยู่สบายได้ (ดิเรก ฤกษ์หร่าย 2523)
  3. ความรักสันโดษ มีความทะเยอทะยานในระดับต่ำ
  4. การยึดถือระบบครอบครัวมาก (อัจฉรี พรพินิจสุวรรณ, 2523)
  5. การเล็งผลปฏิบัติ (pragmatism) จะเชื่อมต่อเมื่อการสาธิตนั้น สัมฤทธิ์ผล
  6. การถืออำนาจบังคับและค่านิยมแบบเจ้าขุนมูลนาย (อดุลย์ วิเชียรเจริญ, 2514)
  7. ความเชื่อถือในโชคเคราะห์ ภูติผี และอิทธิปาฏิหาริย์เกี่ยวกับเรืองในพุทธศาสนา (อมรรัตน์ ฤทธิ์เรือง 2514)
ดังนั้น การนำวิทยาการใหม่ๆเข้าไปเผยแพร่ในสังคมใด อาจจะไม่ตัดสินใจยอมรับ ต่อต้าน จนกว่าจะได้ปรึกษาหารือกันภายในสังคมนั้นก่อน

สังคมที่อพยพจากถิ่นอื่นจะยอมรับและต่อต้านวิทยาการใหม่ๆ ได้เร็วกว่าเพราะมีประสบการณ์ที่ได้มาจากถิ่นเดิมและสภาพแวดล้อมของถิ่นต่าง กัน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย

สำหรับกลุ่มผู้มีฐานะการครองชีพดี มีระดับการศึกษาสูง มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มกระตือรือร้น มีทุน พอที่จะปฏิบัติตามได้ถ้าอยู่ในวิสัยจะปฏิบัติได้

สำหรับกลุ่มแบบเชื่อผู้นำ (นายทุน นักเลง) ผู้นำกลัวจัเสียหน้าเพราะมีความเชื่อตนเอง เคยพิสูจน์ความสามารถให้สมาชิกเห็นฝีมือ จึงมักยอมรับวิทยาการสมัยใหม่ แต่บางครั้งก็สงวนท่าทีและพยายามหยั่งเสียงของสมาชิก ข้อเสียอยู่ที่ผู้ปฏิบัติตามผู้นำอย่างไม่ลืมหูลืมตาโดยขาดความเข้าใจ ถ้าเปลี่ยนแปลงผู้นำก็จะเลิกปฏิบัติ (ทำนอง สังคาลวนิช)

การที่จะพัฒนาชนบทอย่างได้ผล จำเป็นจะต้องให้การศึกษาแก่ชาวชนบท เพราะการศึกษาจะทำให้เข้าใจปัญหา เป็นบุคคลที่มีเหตุผล การจะพัฒนาจะต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ที่สร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมสังเกตการณ์และดำเนินชีวิต อย่างเดียวกับชาวชนบท พยายามทำความเข้าใจในวิธีทางการดำเนินชีวิตของชาวชนบท ทัศนะที่มีต่อโลกภายนอก ปัญหาและความต้องการการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นจะเป็นการง่ายต่อการชักชวน สาธิตและแนะนำความคิดใหม่ แบบแผนของพฤติกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ไม่ควรต่อต้านขัดขวางขนบประเพณีดั้งเดิมชองชาวชนบท ควรจะค่อยๆถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีใหม่ๆเข้าไปในรูปแบบของขนบธรรมเนียม ประเพณีดั้งเดิมของชุมชนชนบท โดยวิธีการจัดกันให้สอดคล้องเป็นหมวดหมู่ให้ค่อยๆดูดซึมเข้าไป ไม่จำเป็นจะต้องทิ้งของเก่าเพื่อความทันสมัย ถ้าสามารถผสมผสานกลมกลืนค่านิยมในขนบธรรมเนียมประเพณีและปทัสถานของสังคมชน บทยากจนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และทำให้ผสมกลมกลืนกันอย่างได้ผล ชนบทคงจะพัฒนาไปได้รวดเร็วขึ้น

กรณีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อในการรักษาพยาบาล

การรักษาพยาบาลของแต่ละสังคมแปรเปลี่ยนไปตามระดับชั้นของวิวัฒนาการของสังคมนั้นๆ คือ

- สังคมดั้งเดิมหรือสังคมที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีต่ำ ทฤษฎีทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล วิธีการรักษามีผลต่อการควบคุมโรคน้อยกว่าขนบธรรมเนียมประเพณี มีข้อปฏิบัติอื่นๆที่นอกเหนือจากระบบการแพทย์และการรักษาพยาบาลอย่างมากมาย ส่วนใหญ่รักษาแบบ "ไทยๆ" ได้แก่ ใช้ตัวยาจากธรรมชาติที่สามารถหาในท้องถิ่น ใช้น้ำมนต์นิมนต์พระมาปัดเป่ารังควาญ ผูกได้สายสิญจน์ ใช้คาถาการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง (Self diagnosis) เป็นการตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะกระทำประการใดจึงจะทำให้อาการต่างๆที่เกิด ขึ้นหายไป ทั้งนี้อาจทราบจากประสบการณ์ที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน หรือเคยฟังคำบอกเล่าของ ผู้อื่นหรือจากการเห็นผู้อื่นรักษา

นอกจากนี้การเจ็บป่วยของผู้ใดผู้หนึ่งไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวผู้นั้น หากแต่เป็นเรื่องของครอบครัวและญาติพี่น้องและสังคมในที่สุด (ซึ่งเป็นสังคมที่มีลักษณะความสัมพันธ์เครือญาติสูง) ก่อนจะไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้องจะเข้ามามีบทบาท ช่วยเหลือมากที่สุด ทุกคนพยายามจะให้ใช้วิธีการรักษาหลายๆประเภทที่มีอยู่ตามหมู่บ้านข้างเคียง เมื่อได้ใช้วิธีการเหล่านี้หมดแล้ว ญาติพี่น้องจึงจะยินยอมเห็นด้วยในการไปรักษาที่โรงพยาบาล

หลังจากที่เข้าไปโรงพยาบาลไม่นานบางคนหนีออกมาทั้งๆที่ยังไม่ถึงกำหนดที่หมอ ให้ออก ทั้งนี้เนื่องจากหมอไม่ฉีดยาให้ เวลามีอาการไข้ไม่มาตรวจ แต่เวลาไม่มีไข้มาตรวจ เวลากินอาหารไม่ตรงกับเวลาหิว ฯลฯ เมื่อกลับมาถึงบ้านก็เล่าให้ญาติพี่น้องฟังถึงความรู้สึกและความไม่พอใจใน ระบบการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล บุคคลเหล่านี้ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆของโรงพยาบาลพร้อมเก็บข้อมูลสำหรับใช้ พิจารณาสนับสนุนหรือคัดค้านการส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในคราว ต่อไป

ชาวบ้านที่ไปรักษาในโรงพยาบาลไม่ได้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมเสียทีเดียว โดยจะนำเอาอาหารคาวหวานๆปเซ่นไหว้วิญญาณของปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษซึ่งบางครั้งเป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยจึงต้องขอขมาลาโทษ แต่บางครั้งก็เป็นการไหว้เพื่อบนบานศาลกล่าวให้ช่วยทำให้หายป่วยโดยเร็ว นอกจากนี้อาจจะใช้คนทรงเพิ่อสอบถามว่าไปถูกผีที่ไหนทำ และผีต้องการกินอะไร เมื่อรู้แจ้งแล้วก็จะจัดพิธีบวงสรวงวิญญาณ

- สังคมที่เจริญทางด้านวัตถุหรือระดับเทคโนโลยีก้าวหน้า ระบบการแพทย์และการรักษาพยาบาลมักมีบทบาทสูงทั้งในการรักษาและการป้องกัน มีความเชื่อมั่นในการรักษาสูง

ปัญหาด้านโภชนาการ

ปัญหาโภชนาการยังมีอยู่หนาแน่นในชนบท ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะความเป็นอยู่ของคนที่มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการกินการอยู่ ตลอดจนความเชื่อต่างๆในการบริโภค ปัญหาโภชนาการในเขตชนบทแบ่งกล่าวได้ 4 ประการ
  1. ปัญหาการขาดสารอาหาร เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพราะเป็นปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพ และประสิทธิภาพของประชากร การขาดสารอาหารที่สำคัญของชาวชนบทได้แก่ การขาดโปรตีน การขาดเหล็ก การขาดไอโอดีน ฯลฯ
  2. ปัญหาเกี่ยวกับพิษและสารพิษในอาหาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค สารพิษในอาหารนั้นอาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อาหารมีเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์เกิดขึ้น และอีกประการหนึ่งอาจจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากการหวังผลประโยชน์ทางการค้า
  3. ปัญหาไม่มีอาหารรับประทาน เป็นปัญหาที่พบในเขตชนบท บางครอบครัวมีอาหารรับประทานไม่ครบมื้อ และอาหารในแต่ละมื้อยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ
    ปัญหาโภชนาการในชนบทที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้มาก คือหญิงมีครรภ์และบุตร ซึ่งจะมีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ พบว่าทารกที่อยู่ในเขตชนบทที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2,776 - 2,820 กรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทารกแรกเกิดอายุถึง 2 ปี ระยะนี้เป็นวัยเจริญเติบโตของร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กไม่ได้รับอาหารอย่างถูกต้องและเพียงพอจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของ ร่างกายและสมองเป็นไปในอัตราช้า เด็กวัยก่อนเข้าเรียนอายุ 2-5 ปี ระยะนี้ร่างกายจะมีความต้องการสารอาหารมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วๆไปในชนบทคือ ได้อาหารที่มีไขมันต่ำ ทำให้พลังงานที่ได้ไม่พอกับร่างกาย (ชนบทไทย, 2523)
  4. ความไม่รู้และเข้าใจผิด คนในชนบทขาดความรู้ในเรื่องโภชนาการที่มองเห็นได้ชัด คือ
    1. ไม่รู้ถึงความสัมพันธ์และความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของคน อาหารที่บริโภคจึงขอให้อิ่มท้อง
    2. ไม่รู้จักประกอบอาหารที่ถูกวิธี เพื่อสงวนคุณค่า และปลอดภัยจากเชื้อโรค เช่น การหุงข้าวแบบเทน้ำทิ้ง การแช่ข้าวเหนียวนานๆแล้วทิ้งน้ำไป การบริโภคอาหารดิบ
    3. ไม่รู้จักกรรมวิธีถนอมอาหารที่เหลือไว้บริโภคในยามขาดแคลนอาหารบางชนิดผลิตได้เกินความต้องการของท้องถิ่น
    4. สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม สาเหตุของการไม่รู้ ประกอบกับการขาดการติดต่อกับสังคมภายนอก ไม่ได้รับวิทยาการใหม่ๆ ความเชื่อเดิมที่ถ่ายทอดกันมาในเรื่องการบริโภคอาหารจึงยังตกค้างอยู่มาก และยังปฏิบัติกันอยู่ ทวีรัสม์ ธนาคม (2523) ได้ประมวลความเชื่อที่ผิดในเรื่องอาหารไว้มาก เช่น
      1. เลือดดิบ เนื้อดิบ กินแล้วบำรุงกำลัง
      2. เด็กกินเนื้อปลามาก เนื้อสัตว์มาก ทำให้เป็นตานขโมย
      3. เด็ก 1-2 ขวบ ห้ามกินไข่ เนื้อสัตว์ จะเป็นพยาธิและฟันฝุ
      4. เครื่องในไก่กินแล้วทำให้สมองทึบ
      5. ไข่ดิบมีประโยชน์มากกว่าไข่สุก ไข่ดิบกินแล้วบำรุงกำลัง
      6. หญิงเพิ่งคลอดใหม่ๆ ห้ามกินเนื้อสัตว์และไข่ ต้องกินข้าวกับเกลือและปลาแห้งเท่านั้น

ความเชื่อที่ผิดนี้ กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย มีทั้งผิดและถูก แพทย์หญิงสาคร ธนมิตต์และคณะ (1978) พบว่า การบริโภคอาหารของหญิงมีครรภ์ในจังหวัดอุบลราชธานี มีการบริโภคอาหารเหมือนคนปกติ ไม่มีการจัดอาหารเสริมเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่าห้ามรับประทานเนื้อวัว และไข่เพราะจะทำให้เด็กหัวโต คลอดยาก สำหรับการคลอดในระยะแรกมารดาส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าห้ามกินเนื้อวัว ไข่ ปลาและผักบางชนิด เช่น ผักชี ชะอม เพราะจะทำให้การหมุนเวียนโลหิตผิดปกติ อาจทำให้เจ็บป่วยและตายได้ หรือการบริโภคของเหล่านั้นจะทำให้ท้องร่วง นอกจากนี้ในระหว่าง 2 สัปดาห์แรกหลังการคลอดมารดาบางคนยังบริโภคเฉพาะข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเท่า นั้น

ส่วนมารดาในกรุงเทพฯ บางคนมีความเชื่อว่าภายหลังการคลอดในระยะแรกควรบริโภคแกงเลียงเพื่อช่วย กระตุ้นน้ำนม เพราะแกงเลียงประกอบด้วยปลาหรือกุ้งกับผักทำให้มีคุณค่าทางอาหารสูง

อย่างไรก็ตาม การห้ามในสิ่งที่ผิด แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาหรือมีเหตุผลแอบแฝงอยู่ในทางหลักโภชนาการถือว่า เป็นความเชื่อที่ผิดและก่อให้เกิดผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติ

ลักษณะทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีต่อบริโภคนิสัย (food habits) หลายประการได้แก่

- ผลในด้านส่งเสริมสุขภาพ (Beneficial customs) ทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีทางด้านภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัย เช่น นิยมการให้ลูกกินนมแม่นานถึงปีครึ่งหรือสองปี การปฏิบัติอย่างนี้มีผลดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในโซนร้อนและชุมชนที่ขาด โปรตีน หรือในกรณีที่ห้ามหญิงหลังคลอดดื่มน้ำดิบ (น้ำที่ไม่ได้ต้ม) จะทำให้น้ำนมไม่สุกลูกจะท้องเสีย

- ผลในด้านให้โทษ (Harmful customs) ในสังคมทุกสังคมย่อมีขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุข ภาพและโภชนาการของผู้ประพฤติ ดังนั้นการให้โภชนาการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการรับประทานอาหารในชุม ชนใดๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีประเภทนี้มากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง

ลักษณะความเชื่อหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่เข้าไปมีบทบาทอยู่ในบริโภคนิสัย ของประชาชนในท้องถิ่นภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีผลในด้านให้โทษ โดยแบ่งตามกลุ่มได้ดังนี้

1. หญิงมีครรภ์ อาหารที่งดหรือข้อห้าม ขะลำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในช่วงนี้ได้แก่ กล้วยและของหวานทุกชนิด เพราะกล้วยเด็กในท้องจะอ้วน คลอดยาก งดบริโภคของมันเนื่องจากไขมันจะทำให้คลอดลำบาก งดอาหารรสจัดกลัวเด็กในท้องจะแสบไหม้หรือเด็กจะไม่เป็นตัว

นอกจากในด้านอาหารแล้ว ต้องระวังในด้านความประพฤติด้วย คือ หญิงมีครภ์
  1. ห้ามนั่งคาบันไดเพราะจะทำให้คลอดบุตรยาก (บุตรจะคาอยู่ที่ช่องคลอด) หรือเกรงว่าจะพลาดตกลงมาทำให้แท้งได้
  2. ห้ามไปดูคนใกล้ตายหรือไปงานศพ โดยเกรงว่าวิญญาณของผู้ตายอาจทำร้ายเด็กในท้องหรือมีลูกแฝด
  3. ห้ามกินข้าวอิ่มทีหลัง (ไม่ให้กินข้าวนาน)
  4. ห้ามไปดูคนปวดท้องจะคลอดลูก เพราะเด็กในท้องของตนจะไปห้ามเด็กอีกท้องหนึ่งไม่ให้เกิด
  5. ห้ามพูดจาทักเด็กวาไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้ เพราะอาจทำให้ลูกของตัวเองไม่ดีอย่างที่ไปว่าลูกคนอื่นด้วย
  6. ห้ามดูการฆ่าสัตว์ หรือห้ามตัวเองฆ่าสัตว์ เพราะจะทำให้จิตใจเศร้าหมอง

อาหารสำหรับการบำรุงครรภ์เป็นพิเศษได้แก่ ผักปลัง เพื่อให้คลอดง่าย น้ำมะพร้าวทำให้เด็กในท้องผิวสวย การทานน้ำมะพร้าวจะช่วยชะไขมันของเด็ก ทำให้คลอดง่าย

2. หญิงหลังคลอด นับว่าเป้นกลุ่มที่มีข้อห้าม (ขะลำ) เกี่ยวกับเรื่องการบริโภคและการปฏิบัติตนต่างๆมากที่สุด ทั้งนี้เพราะจะบำรุงร่างกายที่บอบช้ำจากการคลอดบุตรให้กลับแข็งแรงเป็นปกติ โดยเร็ว

อาหารที่งดของหญิงกลุ่มนี้
  1. ผักกาด แตง เพราะจะทำให้เลือดลมอ่อนจะเป็นภัยต่อสุขภาพ
  2. ปลาดุก เนื้อวัว เนื้อควาย กลัวมดลูกเข้าอู่ยาก
  3. น้ำดิบ ถ้าดื่มน้ำดิบจะทำให้น้ำนมไม่สุก แม่และลูกจะท้องเสีย
  4. อาหารประเภทรสจัด หรือผักตำลึง ยอดฟักทอง จะทำให้ธาตุทั้งสี่ในร่างกายไม่สม่ำเสมอหรือทำให้เลือดลมอ่อนยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้เป็นบ้าหรือตายได้

อาหารที่กินได้คือข้าวเหนียวปิ้งกับเกลือ หัวปลีซึ่งจะทำให้น้ำนมมาก

3. ทารก อาหารของทารกคือ นมแม่ เด็กเกิดใหม่ 2-3 วันแรกยังไม่ให้ดูดนมแม่ แม่จะบีบเอาน้ำเหลืองออกคิดว่าเป็นน้ำเหลืองหรือน้ำเสียจะทำให้เด็กท้องเสีย ได้ เด็กในช่วงนี้จะให้กินน้ำผึ้งผสมน้ำหยดปากแทน จะทำให้เด็กพูดจาอ่อนหวาน และช่วยล้างขี้เทาในท้องเด็กออกมาให้หมดด้วย ในระยะที่เด็กกินนมแม่จะให้เด้กกินอาหารเสริม คือ ข้าว (บด ตำหรือเคี้ยว) กับกล้วย อาหารประเภทไข่จะเริ่มให้เมื่อหย่านมแล้ว ถ้าให้ก่อนหน้านี้เด็กจะเป็นซางตานขโมย

4. ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรหรือแสดงอาการออกมามากน้อยแค่ไหนก็ตามต้องงดอาหารที่กิน ปกติทุกชนิด เนื่องจากอาหารที่รับประทานจะไปล้าง (แก้ ถอน) พิษยา

อาหารที่งด
  1. อาหารประเภทเนื้อ ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว อาหารพวกนี้จะเข้าไปแก้พิษยา
  2. กล้วย จะเข้าไปเลี้ยงเชื้อ (มะเร็ง) ทำให้หายช้า ถ้าเกิดท้องร่วงถึงจะให้กินกล้วยดิบเผา ต้ม
  3. ไข่ จะเป็นอาหารที่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น
อาหารที่กินได้คือ ข้าวต้มกับเกลือหรือปลาแห้ง
ปัญหาด้านสาธารณสุข

ประชากรในชนบทมีจำนวนประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ประชากรส่วนนี้เป็นกำลังสำคัญในการที่จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรจำนวนมากเหล่านี้อยู่ในสภาพยากจนมีสุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดความรู้ความเข้าใจในด้านสุขวิทยา ขาดความสนใจในเรื่องการรักษาความสะอาด และสุขาภิบาล

ประชากรในชนบทยังไม่รู้จักหาน้ำสะอาดดื่ม ทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ลำคลอง ไม่เห็นความสำคัญของการใช้ส้วม ในด้านอนามัยแม่และเด็ก ยังไม่รู้จักการฝากครรภ์ ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอดและหลังคลอด เป็นบาดทะยัก ปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กยังขาดความรู้ในการเลี้ยงดู ไม่มีความรู้ในเรื่องอาหาร ไม่ทราบว่าอาหารใดมีประโยชน์ และไม่รู้จักวิธีป้องกันโรค (ปรีชา วิชิตพันธ์, 2520) โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับชาวชนบทส่วนใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้ แต่ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรค ยังคงมีความเคยชินกับการรับประทานอาหารดิบๆ ชอบถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดินทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

บริการที่รัฐให้ด้านการรักษาพยาบาลระหว่างชนบทกับเมืองแตกต่างกันมาก จะเห็นได้จากจำนวนอัตราส่วนระหว่างเตียง / ประชากรในเมืองเป็น 1 : 150 ในชนบทเป็น 1 : 900 อัตราส่วนของแพทย์ต่อจำนวนประชากรในเมืองเป็น 1 : 1621 คน ในชนบทเป็น 1: 30863 คน (อดุลย์ ตันประยูร, 2523) จากการขาดแคลนในด้านบริการการรักษาพยาบาล ทำให้ชาวชนบทประสบปัญหาการเจ็บไข่ได้ป่วย การรักษาเป็นไปตามยถากรรม เช่น หมอแผนโบราณและหมอไสยศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนั้นบริการด้านการรักษาพยาบาลที่รัฐให้แก่ประชาชนในชนบทยังมีคุณภาพ ต่ำอีก

ความไม่รู้เป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในชนบทมาก ไม่ใช่เป็นปัญหาโดยตรง แต่ก็เป็นผลทำให้การสาธารณสุขเป็นไปได้ไม่ดี ประชาชนไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านสุขภาพอนามัย การป้องกันและการส่งเสริมจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

แม้แต่ทุกวันนี้การวิวัฒนาการทางด้านการแพทย์ การอนามัย จะได้เจริญยิ่งขึ้น ทั้งทางวิชาการเกี่ยวกับการพาสาเหตุของโรค การใช้ยา เครื่องมือ อุปกรณ์และขาดเทคนิคใหม่ๆในการรักษาโรคต่างๆ ก็ตาม แต่ดูเหมือนปัญหาอนามัยของประชาชนก็ยังไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลง หรือลดน้อยลงไปดังที่ต้องการ ทั้งนี้เพราะว่ามีปัญหาอนามัยอีกมากมายหลายชนิดที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมของคน และนับว่าพฤติกรรมของคนก็จะยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมจะช่วยให้แก้ไขปัญหาอนามัยของประชาชนให้ บรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดี

พฤติกรรมของคนที่มีผลต่อการเกิดโรค ได้แก่ อุปนิสัยของคน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีและวัฒนธรรม กลุ่มชนชั้นนั้นมีอิทธิพลต่อการที่จะรับสิ่งที่ทำให้เกิดโรคและการแพร่ กระจายของโรคได้ ขณะเดียวกันประเพณีวัฒนธรรมก็อาจจะช่วยแต่ละบุคคล หรือกลุ่มชนให้มีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันรักษาโรคด้วย พฤติกรรมของคนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อการเกิดโรค ได้แก่

- การใช้น้ำ น้ำเป็นพาหะในการนำเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคของระบบทางเดินอาหาร บางคนชอบดื่มน้ำฝน บางคนชอบดื่มน้ำต้ม บางคนชอบดื่มน้ำบ่อ คนไทยในชนบทท้องที่ชอบดื่มน้ำบ่อตื้น เพราะชอบรสชาติว่าอร่อยดี ไม่ชอบดื่มน้ำต้มหรือน้ำประปาใส่คลอรีน ดังนั้นจึงมักเป็นโรคทางเดินอาหารกันเสมอ

- การถ่ายเทและการกำจัดอุจจาระ ในท้องที่ชนบทคนนิยมไปถ่ายนอกบ้านตามชายป่าหรือตามท้องทุ่งที่เรียกว่า "ไปทุ่ง" บางบ้านแม้จะสร้างส้วมไว้แล้วก็ตามแต่ก็ไม่ใช้ถ่าย กลับเอาไว้เก็บของ เด็กเล็กๆหรือผู้ใหญ่ที่ขาดการศึกษามักถ่ายนอกส้วมอันเป็นเหตุให้แมลงวันมา ตอม แล้วเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่มีในอุจจาระไปติดต่อผู้อื่นได้ เช่น โรคบิด หรือถ้าหากประชาชนไม่นิยมใส่รองเท้า อาจทำให้เป็นโรคพยาธิปากขอกันมาก บางท้องที่นำเอาอุจจาระมาทำเป็นปุ๋ยลดน้ำต้นไม้ เช่น ผักต่างๆ หากรับประทานผักดิบที่ติดเชื้อโรคแล้วล้างไม่สะอาดอาจเป็นโรคไทฟอยด์ บิด ตับอักเสบได้

การใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ ก็มีส่วนทำให้คนเป็นโรคริดสีดวงทวารได้ เพราะความดันในช่องท้องเพิ่มสูงเวลาเบ่งและเริ่มสูงมากในรายท้องผูก ซึ่งดันให้เส้นโลหิตบริเวณทวารหนักโป่งพองออก ส่วนแบบส้วมชนิดนั่งมีแป้นรองรับก้นนั้นบางคนไม่ชอบนั่งเพราะรังเกียจเกรง ว่าแป้นนั่งอาจสกปรก มีเชื้อโรคอื่น หรือโรคผิวหนังเปรอะเปื้อนอยู่

- การรับประทานอาหารและการปรุงอาหารเป็นได้ทั้งพาหะนำโรคและก่อให้เกิดโรคได้ ด้วยตัวเอง อุปนิสัยการรับประทานอาหารของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป บ้างชอบรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เป็นการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร บางคนชอบรับประทานอาหารดิบ เช่น ปลาดิบ ก้อย ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า ฯลฯ ทำให้เป็นตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ในตับได้ ถ้าเป็นเนื้อสุกร เนื้อโค เนื้อกระบือดิบๆ เช่น ลาบ แหนมสด ก็อาจจะเป็นพยาธิตัวตืด หรือโรคอื่นๆได้

การปรุงอาหารถ้าใช้ภาชนะที่สะอาดอาจจะทำให้เชื้อโรคเปรอะเปื้อนภาชนะปนไปกับ อาหาร แม้แต่การรับประทานอาหารด้วยมือจะทำให้เกิดโรคติดเชื้อของทางเดินอาหารได้

- สุขวิทยาของบ้านเรือน การจัดบ้านเรือนควรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและสะอาด อย่าให้สกปรกรกรุงรังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง หนูหรือสัตว์อื่นๆที่นำโรค ควรให้มีประตู หน้าต่าง ช่องลมให้เพียงพอเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ และสุกร ควรจัดเลี้ยงแยกออกไปจากครัวเรือน การกำจัดขยะ น้ำโสโครกหรือสิ่งปฏิกูลอื่น ควรจัดให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาล ครัวกับห้องส้วมควรแยกห่างจากกันให้เหมาะสม

- การวางแผนแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว

ระยะสั้น
  1. การให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในชนบท โดยจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับทางด้านสุขศึกษาออกสู่ชนบท โดยการชี้แจงแนะนำแก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านสุข นิสัยอันถูกต้อง ให้รู้จักป้องกันตนเอง ครอบครัว และทำอย่างไรจึงจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การให้สุขศึกษาแก่ประชาชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่รู้ ให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูก ต้อง อย่างมีความสุขแก่ตนเองและครอบครัวตลอดไป วิธีการ ได้แก่
    1. การจัดนิทรรศการ ควรจะมีการจัดนิทรรศการให้ประชาชนตามสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน วัดหรือที่ชุมชนที่มารวมกันมากๆ เช่น บริเวณที่มีตลาดนัดในชนบท โดยการจัดหาอุปกรณ์ที่สวยงามในด้านสีสันเพื่อจะช่วยดึงดูดความสนใจขอ

4 ความคิดเห็น:

  1. Expecting mothers with emetophobia partake in obsessive thoughts can even at times takes
    over their daily lives. Why did I learn?
    My site : Penhook emetophobia treatment

    ตอบลบ
  2. I know this if off topic but I'm looking into starting my own weblog and was wondering what all is needed to get setup? I'm assuming having a
    blog like yours would cost a pretty penny?
    I'm not very internet smart so I'm not 100% positive. Any tips or advice would be greatly appreciated. Cheers
    My page - is tmj curable

    ตอบลบ
  3. By looking to Japan and China, scientists calendar week
    along with any diet considered to amend Cholesterol
    levels in adults. By devising these changes in your Everyday dietary symptoms as a stroking but are shorter in length.
    Some of the Best soluble-fiber-rich foods admit rolled
    oats, Barleycorn, lentils, brussels sprouts, peas, beans kidney, HDL,
    according to the Mayonnaise Clinic, which can eliminate HDL's beneficial personal effects.

    Feel free to visit my site cholesterol pills oil fish high

    ตอบลบ