++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในทางสาธารณสุข

ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "GIS APPLICATION TO IDENTIFICATION OF POPULATION HEALTH STATUS IN KHON KAEN PROVINCE"
โดย นางสาวพัทยา วรรชนะ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Green et al. (1996) ได้ใช้ดัชนีสุขภาพ (Health Indicators) เพื่อประเมินสุขภาพคนป่าที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่อาศัยอยู่ใน Manitoba โดยใช้มาตรฐานดัชนีสุขภาพในการวางแผนและประเมินผลพื้นฐานบริการสุขภาพชุมชน (Community based health care service) วิธีการดัชนีสุขภาพ ประกอบด้วย 1.การเข้าถึงข้อมูลระดับชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดระดับท้องถิ่น 2. การแสดงข้อมูลดัชนีชี้วัดที่สามารถเข้าใจได้และเกี่ยวพันกับสมาชิกชุมชน 3.การพยายายามใช้ดัชนีชี้วัดประกอบกับความหมายและวัฒนธรรมโดยอาศัยกรอบแนว ความคิดที่เกี่ยวพันซึ่งจะอธิบายถึงการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของภาวะสุข ภาพนั้นๆได้อย่างไร (How health happens) 4.การจัดการความหลากหลายและความแตกต่างของ "จุดประสงค์/ความหมาย" ที่ดัชนีชี้วัดอาจจะได้รับจากสมาชิกชุมชน 5. การเกี่ยวโยงกันของสิ่งที่เกี่ยวข้อง ดัชนีชี้วัดที่ประกอบในการวางแผน เครื่องมือและการประเมินผลโปรแกรมสุขภาพพื้นฐานของชุมชน ผบการศึกษาถูกนำมาแสดงในรูปแผนที่

Ferri et al. (1994) ได้บรรยายถึงโครงการจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุข (Health resource allocation project - HRAP) โดยการประยุกต์ใช้ GIS ซึ่งเรียกว่า SCENARIO เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขโดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ อัตราส่วนของต้นทุนต่อกำไรมีความเหมาะสมมากที่สุด เพื่อให้การใช้เงินงบประมาณเหมาะสมและมีประโยชน์มากที่สุด และผลที่ตามมาก็คือการปรับปรุงสถานะสุขภาพของประชากร ซึ่ง Medical worker ต้องการข้อมูลของประชากรและแนวโน้มของสุขภาพเพื่อช่วยในระบบการตัดสินใจ สำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด SCENARIO คือที่ซึ่งข้อมูลจากทุกๆแห่ง เช่น อาณาเขต ประเทศ ภูมิภาค อำเภอ แม่น้ำ ทะเลสาบ ทางรถไฟ เป็นต้น ดังนั้น GIS จึงถูกอธิบายว่า เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมวัตถุ เพราะฉะนั้น SCENARIO ก็คือ ความเป็นไปได้ของการได้มาของข้อมูลทั้งหมด เช่น geographical, epidemiological, social, ethnic ฯลฯ ซึ่งอยู่ในรูปของข้อมูลทั่วไปแล้วจึงเปลี่ยนเป็นฐานข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (Geographical database) โดยอยู่ในรูปของแผนที่เฉพาะทาง (Mean of thematic maps) ข้อมูลภูมิศาสตร์ถูกสร้างโดยใช้ค่าเฉลี่ยของวิธีการองค์ประกอบที่เหมาะสม (Suitable structuring approach) รวมทั้งกำหนดพจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary) ตลอดจนวิธีการซึ่งสามารถวิเคราะห์และจำแนกคุณลักษณะที่เป็นเชิงพื้นที่และ คุณลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพื้นที่ของวัตถุได้ ในส่วนของ HRAP เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สามารถอธิบายลักษณะสำคัญของการเจ็บป่วยที่สังเกตได้ จากวิธีการของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical models) ที่แสดงถึงกลไกการเจ็บป่วยโดยลำดับการสร้าง เครื่องมือที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงรูปแบบเชิงระบาดวิทยา (Epidemiological picture) ซึ่งรูปแบบนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการแพทย์และ จากหลักการนี้สามารถนำมากำหนดเป็นแบบจำลองของโครงสร้างเกี่ยวกับการแพทย์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยของประเภทของทรัพยากรที่มีอยู่แล้วหรือทรัพยากรที่จะต้องถูก จัดสรรพร้อมกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Dodge, White (1995) ได้กล่าวถึง GIS และบริการสาธารณะ ในWales ด้านความสามารถของการให้บริการและความต้องการบริการการดูแลสุขภาพ (Health care) และการศึกษา (Education) ซึ่งเป็นโครงการที่ศึกษาโดย Department of City and Regional Planning, Cardiff University วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ สร้างกลุ่มฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ทีมีความสัมพันธ์กันของความสามารถในการให้ บริการและความต้องการบริการสำหรับการเลือกบริการสาธารณะใน Wales ในด้านการดูแลสุขภาพเป็นการศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของความสามารถในการให้ บริการและความต้องการบริการสำหรับบริการสุขภาพใน Three South Wales countries เป้าหมายของงานวิจัยตามลักษณะการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของแพทย์ทั่วไป การสำรวของค์ประกอบเชิงพื้นที่ในการจัดเตรียมบริการสาธารณสุขมูลฐานและความ ต้องการของผู้ป่วย (Patient's need for) และความสะดวกของการเข้าถึงบริการ ความจำเป็นเกี่ยวกับสุขภาพ (Health needs) เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากระหว่างชุมชน การจำแนกความแตกต่างนี้ได้พิจารณาจากข้อมูลตัวชี้วัดที่สำคัญของความจำเป็น เกี่ยวกับสุขภาพจากสำมะโนประชากร ปี 1991 ในด้านการศึกษาเป็นการเสนอประเด็นสำคัญของการวิจัยเพื่อแสดงการเชื่อมโยง ระหว่างความสำเร็จของโรงเรียนและข้อเสียเปรียบทางสังคมในระดับพื้นที่ให้ บริการของโรงเรียน

ในบทความเรื่อง "Geographical Mapping and Analysis in Health Care" (n.d) มีการกล่าวถึง White PAper โดยมีจุดความสนใจที่ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น SPSS, MapInfo ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพสามารถนำข้อมูลดิบที่รวบรวมได้ มาทำเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีปริมาณมากอยู่เสมอ ซึ่ง White Paper จะแสดงให้เห็นว่า SPSS และ MapInfo สามารถช่วยทำให้ข้อมูลจำนวนมากที่มีการรวบรวมมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมโดยมีตัวอย่างกรณีศึกษา 2 กรณี คือ

Case study one : East Kent Health Authority- planning resource to meet patients' needs เจ้าหน้าที่ของ East Kent Health ได้ใช้ซอฟต์แวร์ SPSS และ MapInfo ช่วยในการปรับปรุงการวางแผนดูแลสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลภูมิศาสตร์ประชากรของ East Kent ซึ่งประกอบด้วย สำมะโนประชากร , electoral ward และรหัสการเชื่อมโยง (Postcode) จากการสร้างภาพประชากรของพื้นที่ (Area's population) ทำให้ทราบจำนวนคนไข้ที่จะมีได้และสามารถจำแนกกรอบความต้องการของการดูแลสุข ภาพ โดยใช้ซอฟต์แวร์ SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบประชากรและประวัติของโรค (Disease profile) และซอฟต์แวร์ MapInfo ใช้ในการสร้างแผนที่

Case study two: London Ambulance Service- decreasing emergency responds time The London Ambulance Service (LAS) ได้ใช้ซอฟต์แวร์ MapInfo ในการควบคุมการจัดการความต้องการห้องพยาบาลและเวลาในการตอบสนอง โดยในปี 1997 LAS ต้องเผชิญกับการท้าทายโดยการปฏิบัติตามกฏใหม่โดยเรียกว่าสิทธิพิเศษซึ่งเป็น เขตที่มีภาวะฉุกเฉินสูง (High-priority emergencies) จึงจะต้องไปให้ถึงในเวลาไม่เกิน 8 นาทีแทนที่จะเป็นเวลา 14 นาทีเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทราบว่า ที่ไหนที่เป็นเขตที่มีภาวะฉุกเฉินสูง เพื่อจะได้เคลื่อนรถพยาบาลจำนวนมากไปยังที่แห่งนั้น ดังนั้นจึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยให้มากขึ้นในอนาคต จากตัวอย่างนี้จะทำให้ทราบการกระจายตัวของโรคปัจจุบันและเปรียบเทียบกับ ประวัติประชากร โดนแผนที่จะแสดงให้เห็นพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมดของสถานีรถพยาบาล (Ambulance station) ในวิธีการจัดสรรซึ่งต้องการจัดการจำนวนการร้องขอในแต่ละสถานีเพื่อให้มีความ เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งจะทำให้สามารถทำแผนที่แสดงการร้องขอในสถานีแต่ละส่วนและตรวจสอบกับแบบ จำลองทฤษฎี (Theoretical model) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะบอกถึงจำนวนการร้องขอที่คาดว่าจะได้รับภายในพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ ของแต่ละสถานี ซึ่งผลจากกรติดตั้งระบบควบคุมห้อง (Control room systems) 95 เปอร์เซ็นต์ของการร้องขอสามารถไปถึงได้ภายในเวลา 14 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนมีการใช้ระบบซึ่งมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์

Robert et al. (n.d.) ได้ทำการศึกษารายกรณี เรื่อง การออกแบบและประเมินผลของการยกระดับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการสำรวจ สถิติเกี่ยวกับสุขภาพแบบหลายตัวแปร (Multivariate health statistics) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อรายงานข้อมูลหลายๆกลุ่มจากการออกแบบและ ดำเนินการสิ่งแวดล้อมการมองภาพเสมือนจริง ที่เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ถูกออกแบบเพื่อแสดงผลเกี่ยวกับ สถิติ ด้วยเป้าหมายเฉพาะของการสำรวจข้อมูลสถิติเกี่ยวกับสุขภาพจากหลายๆมิติ ซึ่งได้มีการผสมผสานระบบภูมิศาสตร์แห่งการมองภาพเสมือนจริง (Geographic visualization system) ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับการสำรวจข้อมูลอัตราตายทารก จากโรคมะเร็งแต่ละประเภท (Specific cancer) ในฐานะที่เป็นความสัมพันธ์,ลักษณะเฉพาะพื้นที่ ต่อสาเหตุการตายอื่นๆ และต่อประชากรและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สิ่งแวดล้อมของการมองภาพเสมือนจริงที่บรรยายในการศึกษานี้เป็นส่วนขยายของ งานเดิม ทั้งแนวความคิดและการปฏิบัติการ เพื่อเชื่อมโยง GIS กับภาพทางสถิติ สำหรับการมองภาพเสมือนจริงของสถิติเกี่ยวกับสุขภาพ

MacEachern boscoe et al. ได้เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบ Health Vis เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เชิงเวลา และรูปแบบคุณลักษณะสถิติเกี่ยวกับสุขภาพ สำหรับ the National Center for Health Statistics (NCHS) ทำการศึกษาโดยใช้โปรแกรม ArcView's scripting language "Avenue" ผลการศึกษาแสดงผลได้ 3 รูปแบบ คือ 1) Choropleth map ของ 48 รัฐ ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน โดยในพื้นที่แสดงที่ตั้งของสถานบริการประมาณ 800 แห่ง 2) Scatterplot 3) สัญลักษณ์แผนที่ (Map legend) โดยมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ Focus-by-percentile tool, Dynamic classification tool, Brushing tool และ Specialized bivariate map การเชื่อมโยงและบทบาทเส้นโครงพิกัดคู่ขนาน (Interactive parallel coordinate plot) ได้ถูกนำมาทดสอบและเปรียบเทียบกับบทบาทที่มีความคล้ายคลึงกันและเชื่อมโยง กับ scatterplot ในการออกแบบการประเมินที่สามารถใช้ได้เพื่อประเมินแต่ละความสัมพันธ์ที่แสดง ให้เห็นถึงประสิทธิภาพสำหรับการสำรวจข้อมูลแต่ละกลุ่ม การแสดงให้เห็นจากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า การสำรวจข้อมูลหลายตัวแปรเชิงพื้นที่/ช่วงเวลาสามารถถูกนำมายกระดับด้วยการ ใช้เส้นโครงพิกัดคู่ขนานเชื่อมโยงกับแผนที่

Barry et al. (n.d.) ได้ทำการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านเกี่ยวกับ สุขภาพ โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปัญหาและความคาดหวัง โดยกล่าวไว้ว่า หนึ่งในหลายๆพื้นที่ให้บริการที่มีความสำคัญที่สุดที่ทุกวันนี้ยังไม่ได้มี การกล่างถึง GIS เหมือนกับพื้นที่อื่นๆหลายพื้นที่ เช่น การจัดการที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น การวางแผนเกี่ยวกับเขตชุมชนเมือง การจัดเตรียมบางสิ่งในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและบริการสวัสดิการ หลักฐานที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ให้บริการ เช่นเดียวกับศักยภาพของ GIS ที่กำลังได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นในด้านการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ GIS ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและบริการสวัสดิการเป็นความคาดหวังที่มีค่าในขณะที่ ยังมีปัญหาที่จะต้องแก้ไข ซึ่งสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่ถูกนำมาใช้และข้อจำกัดของ ซอฟต์แวร์ GIS ในปัจจุบันทั่วๆไป การจัดการกับปัญหาที่มีความซัลซ้อนมากกว่าในลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้ใน ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการแพทย์ จากการศึกษานี้ได้แสดงถึงความคาดหวังและปัญหาบางอย่างในการประยุกต์ใช้ GIS ในด้านเกี่ยวกับสุขภาพโดยอ้างอิงถึงการจัดการข้อมูลที่เป็นช่วงเวลา (Handling of ้Space-time data) ที่ได้มีการพยายามแสดงโครงสร้างของฐานข้อมูล GIS เพื่อจัดการทั้งเรื่องเวลา (Time) และมิติของระยะเวลา (Space dimension) ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน แม้ว่าสิ่งที่ได้จากการทดลองนี้จะเป็นเพียงตัวอย่างของสมมติฐานเพียงอย่าง เดียว คือประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ความแตกต่างในการรับผู้ป่วยเข้ารักษา ตัวในโรงพยาบาล (Hospital admission) ทั้งเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ ในการทดลองได้ใช้ข้อมูลการรับผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล the Prince Alfred Hospital ที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของเมือง Sydney โดยใช้ข้อมูลรหัสของพื้นที่แต่ละพื้นที่ (Local postcode areas) ที่ได้จาก Area Health Service database ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นรายปี GIS ได้แสดงข้อมูลเวลา-ระยะเวลา โดยระบุผลรวมรายปีที่ต้องการแล้วจึงสุ่มออกเป็นของแต่ละเดือน โดยใช้รหัสของพื้นที่เป็นตัวเชื่อมโยง ผลการศึกษาขึ้นอยู่กับสมมติฐานเพียงข้อเดียว และมันยังทำให้การจัดการไม่ตรงกับรูปแบบที่เป็นจริงสำหรับการรับผู้ป่วยเข้า รักษาตัวในโรงพยาบาล เมื่อไม่มีข้อวิจารณ์ด้ยเหตุนี้เกี่ยวกับความแตกต่างเชิงพื้นที่และเชิงเวลา ในการรักษาผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจึงยังได้ปรากฏอยู่ในโลกความเป็น จริง แต่ก็ทำให้ได้รับวิธีการใหม่ในการประยุกต์ใช้ GIS ในการจัดลำดับของหลายๆปัญหาของ สิ่งที่ไม่คงที่ (Non-static) รวมไปถึงสมรรถนะของเทคโนโลยีที่เหนือกว่าระดับปัจจุบันของชุดซอฟต์แวร์ส่วน ใหญ่ รวมทั้งการเพิ่มสมรรถภาพของแบบจำลอง (Modelling) ที่สูงกว่าในการเชื่อมโยงกับการจัดการข้อมูลเวลาและระยะเวลา ทำให้เชื่อได้ว่า ความสามารถของ GIS จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีสมรรถภาพสูงกว่าสำหรับที่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสุขภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเชิงระบาดวิทยา (Epidemiological studies) สำหรับการวางแผนการให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ

Twiggy (1990) cited in Barry, Qiming and Bruno (n.d.) ได้กล่าวไว้ว่า แม้ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพและบริการสวัสดิการ หลักฐานสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์แสดงว่ากำลังเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับศักยภาพของ GIS ที่เป็นที่ยอมรับกันเพิ่มขึ้นในการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ คือ การทำแผนที่ ตัวชี้วัดเกี่ยวกับสุขภาพ (Health indicators) และการเกิดโรค (Disease incidence) การวิเคราะห์รูปแบบการกระจาย , ที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์การเข้าถึงการจัดส่งบริการเกี่ยวกับสุขภาพ

Francisco et al. (n.d.) ได้ทำโครงการนำร่องเรื่องการใช้ประโยชน์จากการแพร่กระจายของอินเตอร์เนตของ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับแพทย์ทั่วไปใน Victoria ประเทศออสเตรเลีย โดยได้อธิบายเกี่ยวกับการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ไปบนอินเตอร์เนตในเรื่องการบริการสุขภาพพื้นฐาน (Primary health care service) ที่ได้มีการจัดเตรียมแพทย์ทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการในการสร้างระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เพื่อเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและบริการเกี่ยวกับสุขภาพในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม วิธีการที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเชื่อม โยงความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างการรวมกันของข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ภูมิศาสตร์และประชากร โครงการนี้ได้พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการแบ่งสรรแพทย์ทั่ว ไปให้ดีกว่าความเข้าใจของเรื่องความต้องการเกี่ยวกับสุขภาพ (Health needs) และสถานะสุขภาพของกลุ่มประชากรเหล่านั้น โดยโครงสร้างของข้อมูลที่ถูกนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการศึกษาและวางแผน การวิจัยจึงเป็นขัอมูลที่สัมพันธ์กับการบริการเหล่านั้น ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วและมีความสัมพันธ์กับรูปแบบของ โครงการและยังเป็นการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ โดยใช้มาตรฐานข้อมูลจากการรวบรวมของสมาพันธรัฐ รัฐ ภูมิภาค และท้องถิ่น เท่าที่สามารถหาได้ ความแตกต่างของข้อมูลเท่าที่สามารถหาได้นั้นถูกแก้ไขเป็นบางส่วนรวมทั้งการ จัดการกับแบบข้อคำถามที่นำมาวิเคราะห์ต่อสถานที่อยู่ของแพทย์ทั่วไปแต่ละคน ซึ่งแบบข้อคำถามนี้รวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของแพทย์ บริการอื่นๆ ซึ่งอาจจะต้องมีแพทย์ทั่วไปเกี่ยวข้อง (may be co-located) ระยะเวลาในการให้บริการสูงสุด (Peak service time) และข้อมูลเกี่ยวพันอื่นๆ เช่น ระยะทางในการเดินทางไปพบแพทย์ของผู้ป่วย เป็นต้น เป้าหมายที่ต้องการจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนและช่วยติดตามผลเกี่ยวกับสุขภาพ ผลของการจัดทำโครงการสามารถนำมาแสดงผ่านการนำเสนอการดำรงชีวิต เหตุผลทั่วๆไปและเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง สำหรับทางเลือกของอินเตอร์เนตให้เป็นเครื่องกลไกในการจัดส่งที่ถูกการนำเสนอ และได้สรุปผลการแสดงเอกลักษณ์ของประเด็นสำคัญที่มีความสัมพันธ์ต่อการวิจัย และการใช้ประโยชน์ของ World Wide Web เพื่อระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ

Errol et al. (1999) ได้ทำการศึกษาเรื่องความสามารถในการเข้าถึงแพทย์ทั่วไปในเขตชนชท ในเขต South Australia โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์และ ARIA (Accessibility/ Remoteness Index for Australia) เพื่อเป็นกำลังแรงงานเกี่ยวกับการแพทย์ (Medical workforce) และการวางแผนการบริการเกี่ยวกับสุขภาพใน Australia ซึ่ง ARIA เป็นดัชนีของการได้รับจากระยะไกลด้วยการวัดระยะทางของถนนระหว่างที่ตั้งชุม ชนและศูนย์กลางของบริการต่างๆ ตัวแปรที่ต่อเนื่องของระยะไกลเริ่มตั้งแต่ 0 จนถึง 12 ได้ถูกสร้างในทุกๆตำแหน่ง และสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของบริการแพทย์ทั่ว ไป ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้คำนวณระยะทางที่น้อยที่สุดจากชุมชนไปยังบริการ แพทย์ทั่วไปที่ใกล้ที่สุดจากการใช้โครงข่ายถนนและค่าที่ได้จากการประมาณค่า ในช่วง (Interpolate) ของตารางกริดขนาด 1 กิโลเมตร ของทั้ง South Australia ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางจากที่ตั้งของบริการแพทย์ทั่วไป กับค่าของ ARIA ของแต่ละสถานที่ตั้งคำนวณโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ผลลัพธ์สำคัญที่ได้จากการวัด คือ ระยะทางจากที่ตั้งชุมชนไปยังบริการแพทย์ทั่วไป ผลการศึกษาพบว่าระยะทางจากที่ตั้งชุมชนไปยังบริการแพทย์ทั่วไป มีค่าระยะทางอยู่ระหว่าง 0 ถึง 677 กิโลเมตร (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58 กิโลเมตร) จากทั้งหมดจำนวน 513 ชุมชน (คิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ของชุมชนทั้งหมด) อยู่ห่างจากบริการแพทย์ทั่วไปในระยะทาง 20 กิโลเมตร แม้ว่าใน 173 ชุมชน (คิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของชุมชนทั้งหมด) อยู่ห่างจากบริการแพทย์ทั่วไปเป็นระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตร ซึ่งชุมชนเหล่านั้นมีค่าความสัมพันธ์อย่างสูงระหว่างระยะทางไปยังบริการ แพทย์ทั่วไปกับค่า ARIA ของแต่ละชุมชน (0.69; p < 0.05) ดังนั้น บริการแพทย์ทั่วไปจึงสัมพันธ์กับความไม่สามารถในการเข้าถึงในชุมชนของชนบท หลายๆแห่งใน South Australia

Deborah, Allan (n.d.) ได้ทำการศึกษาโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราการตาย (Mortality) อัตราการป่วย (Morbidity) สิ่งแวดล้อม (Environment) ประชากร และฐานข้อมูลประชากร (Census database) เป็นเป้าหมายหลักของการศึกษาตั้งอยู่บนเรื่องการปล่อยมลภาวะสิ่งแวดล้อมใน Cincinnati, Columbus, Cleveland, Toledo, Akron และ Dayton และเขตชุมชน Ohio การประยุกต์ที่สำคัญ 3 ประการของการศึกษา คือ เพื่อช่วยชุมชนท้องถิ่นในการจำแนก ประเมินผลและการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับศักยภาพเชิงภูมิศาสตร์ของพื้นที่ของ ความถูกต้องของสิ่งแวดล้อมที่จะแสดงรูปแบบของสิ่งแวดล้อมที่สมดุลย์ ความสามารถในการจำแนกความสมดุลย์สามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะกับเจ้าหน้าที่ได้ ตามสมควร รวมทั้งผู้ว่าราชการและผู้อำนวยการของ Ohio Environmental Protection Agency เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลไว้ทั้งหมด

David et al (1999) ได้ทำการศึกษาเรื่องการทำแผนที่ข้อมูลสุขภาพ โครงการร่วมระหว่างชุมชนกับ University of Toronto ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ 1) เพื่อเป็นการย้ำการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยความร่วมมือระหว่างชุมชน และมหาวิทยาลัย ด้วยการใช้ข้อมูลในการบรรยายเกี่ยวกับสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจ (Respiratory health) ใน Southeast Toronto (SETO) 2) เพื่อจัดทำเอกสารเชิงเทคนิค (Document technical) และกระบวนการแก้ปัญหาในการพัฒนาระบบความร่วมมือในการวิจัยและการบรรยายวิธี การแก้ปัญหา 3) เพื่อชี้ชัดหลายๆปัจจัยโดยทั่วไปที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับสุขภาพประชากรในอนาคต และการร่วมมือทำการวิจัยระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยและการ วางแผนปฏิบัติงาน เทคนิคและกระบวนการความร่วมมือของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานย่อมเป็นสิ่งที่ สนับสนุนโครงการนี้ ในด้านเทคนิคก่อให้เกิดการย้ำการประเมินความต้องการของผู้ใช้ในชุมชน, การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการประเมินระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จากผู้ใช้ในชุมชน กระบวนการประเมินด้านความร่วมมือนำมาซึ่งการวิเคราะห์เอกสารสำคัญการ สัมภาษณ์จากการสำรวจ และการสังเกตการณ์ของผู้มีส่วนร่วม ปัญหาในด้านเทคนิครวมทั้งผู้ใช้งานนำมาซึ่งการออกแบบ การพัฒนาแบบจำลองข้อมูล การใช้ประโยชน์และคุณภาพของ metadata การจำแนกและการได้มาของข้อมูล และการวาดให้เห็นภาพข้อมูล (Depiction of Data) การสำรวจพบปัญหาบางอย่างซึ่งปัญหานี้ได้สร้างขึ้นมาให้ปรากฏแล้วจึงถูกนำไป เผชิญในการออกแบบระบบข้อมูลสุขภาพประชากร สาระสำคัญส่วนใหญ่จากการพัฒนามาจากกระบวนการวิจัยด้านความร่วมมือรวมทั้งชุม ชนที่แบ่งแยก วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย เวลาเป็นประเด็นสำคัญของการได้มาทั้งหมด และผลกระทบของความไม่แน่นอนและความคลุมเครือบนกระบวนการด้านความร่วมมือ

Piotr et al. (1999) ได้ทำการศึกษาเรื่องการอนุญาตให้ชุมชนเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ที่ใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนให้การสนับสนุนผู้ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำแผนที่ โดยได้กล่าวว่า เมื่อเร็วๆมานี้ สุขภาพเกี่ยวกับการหายใจได้กลายมาเป็นหนึ่งในความสำคัญทั้งหมดสำหรับผู้ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสุขภาพหลายๆคนในศูนย์กลางชุมชนเมืองขนาดใหญ่ รวมทั้ง Toronto ประเทศแคนาดา การเพิ้มระดับขึ้นของมลพิษทางอากาศ การเกิดขั้วทางสถานภาพสังคม เศรษฐกิจ (Polarized socioeconomic status) ท่ามกลางผู้อยู่อาศัยภายในเมือง และระดับความแตกต่างของการจัดสรรของบริการเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยในหลายๆปัจจัยที่ถูกตั้งเป็นสมมติฐานที่ส่งผลกระทบอย่าง รุนแรงต่อสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งปัจจัยนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในกลุ่มของนักวิจัย แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในพื้นที่ของสาธารณสุข อย่างไรก็ตามหลายๆกลุ่มและหลายๆคนที่สามารถใชัประโยชน์ความรู้นี้ในเขตการ ปกครองของผู้สนับสนุนสาธารณะและการสนับสนุนเกี่ยวกับสุขภาพมักจะขาดข้อมูล รวมทั้งความยากที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงทั้งหมดของข้อมูลผู้ป่วยซึ่งใน ประเทศแคนาดาถือว่าเป็นความลับ ด้วยเหตุนี้การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจึงถูกจำกัดจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยว กับสุขภาพลและสถาบันการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องทีประสบความสำเร็จ เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในหลายๆองค์กรชุมชนและโรงพยาบาลในรูปของ ความสามารถของการทำแผนที่ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Mappable spatial database) การใช้เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวพันลงบน แผนที่ได้ถูกปรับปรุงให้เป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จของการสื่อสารข้อมูล เกี่ยวกับสุขภาพและในเวลาเดียวกันได้จัดเตรียมเครื่องมือให้ครอบคลุมสถานที่ อย่างถูกต้องในเวลาที่มีการนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยออกมาในรูปของตัวเลข การตรวจสอบที่ครอบคลุมสถานที่อย่างถูกต้องในเวลาที่มีการนำเสนอข้อมูลผู้ ป่วยออกมาในรูปของตัวเลข การตรวจสอบที่ครอบคลุมข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้และเทคนิคการทำแผนที่ได้รับ การยอมรับจากกลุ่มของสถาบันการศึกษาสมาชิกของชุมชน และผู้จัดเตรียมบริการเกี่ยวกับสุขภาพในการนำเสนอปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ (Spatial phenomena) ที่เป็นตัวกำหนดและบ่งชี้สถานะของสาธารณสุขใน Southeast Toronto ผลงานของคณะผู้ทำงานนี้ได้ถูกส่งไปยังหลายๆกลุ่มและหลายๆบุคคลที่เป็นผู้ส่ง เสริมเกี่ยวกับสุขภาพในระดับชุมชนท้องถิ่น ฐานข้อมูลและผู้ใช้ซอฟต์แวร์การทำแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากการตอบรับเป็น อย่างดีในแต่ละชุมชนที่นำไปใช้ประโยชน์

บทความเรื่อง "Tools customized data management and mapping tools" (n.d.) ได้บรรยายไว้ว่า ในการตอบสนองความต้องการของการบริหารระดับชาติ และผู้มีส่วนร่วมในรายการ โดย HealthMap ได้กำลังพัฒนา HealthMapper เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการฐานข้อมูลได้อย่างง่าย และปรับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ระบบการทำ แผนที่เพื่อความต้องการเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข (Public Health Needs) โดยเฉพาะ ซึ่งวัตถุประสงค์ของผู้ทำแผนที่สุขภาพ คือ เพื่อให้การเก็บ การรวบรวม การเรียกค้น และการวิเคราะห์ข้อมูลสาธารณสุขในท้องถิ่นสามารถทำได้ง่ายและเข้าใจได้ง่าย ขึ้น รวมทั้งระบบยังช่วยให้การใช้ประโยชน์จากการทำแผนที่และการเตรียมการโต้ตอบ ระหว่างผู้ใช้ง่ายขึ้นในการวิเคราะห์เกี่ยวกับเชิงพื้นที่พื้นฐานและสถิติ ของระบาดวิทยาและการแสดงข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องสำหรับการจัดการฐานข้อมูลโดยเฉพาะ และความต้องการต่อการทำแผนที่ (Map requirement) ของผู้ใช้งาน (End User) โดยเฉพาะ โปรแกรมจะพัฒนาให้คอมพิวเตอร์หรือหน่วยประมวลผลสามารถทำได้ง่ายและเข้าใจได้ ง่ายขึ้น (Customized front-ends) บนพื้นฐานของผู้ทำแผนที่สุขภาพทั่วๆไป ซึ่งหลักการนี้ได้ถูกใช้จนประสบผลสำเร็จแล้วใน the Guinea worm eradication programme, WHO/UNICEF Common Indicators Tracking System for Health & Nutrition (UNICEF/WCARO and WHO/AFRO) and malaria.

อ้างอิง
Barry I Garner, Qiming Zhou, Bruno P. Parolin. The application of GIS in the health sector: Problems and prospects [Homepage]. [Cited in 2000 Oct 10]. Available from: URL: http://www.odyssey.maine.edu/contents/proceeding/egis93.html

David Buckerdge, Robin Mason, Ann Robertson. Health data mapping: A community university collaboration [Serial online]. [Cited in 2001 Sept. 5]. Available from: URL: http://www.setoproject.com/NHRDPFinal1.pdf

Deborah D. Harris, Allan C, Haris. Using GIS correlations between mortality,morbidity, environmental, demographic and census database in siting environmental pollution permits[Homepage]. [Cited in 2001 Feb 27]. Available from: URL: http://www.esri.com/library/userconf/proc00/professional/papers/PAP431/p431.htm

Dodge M, White S. GIS and Public services in Wales Analysing supply and demand for Healthcare and Education [Homepage]. [2000 Oct 24]. Available from URL: http://www.geog.ucl.ac.uk/casa/matin/mapping-awareness/mapping-awareness.html

Green C, Poffenroth L, Bartlett J, Martel S, Menard C, Mollins J. Using health indicators to assess Aboriginal health in Manitoba[Homepage]. [2000 Dec 12]. Available from: URL: http://hinf.uvic.ca/ITCH/itch96/papers/green.htm

Fernando F, Pourabbas E, Rafanell M, Sindoni G. GIS and health resource planning problems[Homepage]. [2000 Nov 2]. Available from URL: http://www.odyssey.maine.edu/gisweb/spatdb/egis/eg94162.html

Geographical mapping and analysing in healthcare[Homepage]. [2000 Nov 2]. Available from: URL: http://www.tradespeak.com/htmldocs/1299.html

Piotr G., Richard G. and Byron M. A picture speakers for a thousand numbers: Allowing the community to examine available health data through user friendly mapping software [Serial online]. [2001 Jul 6]. Available from: URL: http://www.divcom.otago.ac.nz/sirc/webpages/99Gozdyra.pdf

Richard TB, Croner CM, Rushton G, Brown CK, Fowler L. Geographic information systems and public health: Mapping the future[Homepage]. [2000 Nov 2]. Available from: URL: http://www-dccps.ims.nci.nih.gov/LIBCSP/ms8156/maintext.html

Robert M. Edsall, Alan M. MacEachern, Linda Pickle. Case study: Design and assessment of enhanced geogeaphic information system for exploration of multivariate health statistics. [Serial online]. [2001 Sept 5]. Available from URL: http://www.geovista.psu.edu/publications/NCI/Edsall_AMM_Pickle_NCI.pdf

Tools customized data management and mapping tools[Serial online]. [2001 Sept 5]. Available from : URL: http://www.int/eme/pdfs/tools.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น