++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548

รายงานการเฝ้าระวังโรคเบาหวานของประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1999

รายงานการเฝ้าระวังโรคเบาหวานของประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1999

รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
ปีที่ ๓๔ : ฉบับที่ ๒๑ : ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๖,
Volume 34 : Number 21 : May 30, 2003.
Weekly Epidemiological Surveillance Report
http://epid.moph.go.th

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคเบาหวาน โดยรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เดิม ทั้งข้อมูลจากสถิติชีพ การสำรวจสถานะสุขภาพโดยการสัมภาษณ์ การสำรวจเกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาล การสำรวจจากหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ ระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง และระบบข้อมูลเกี่ยวกับโรคไต โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 17 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2539 เพื่อพยากรณ์แนวโน้มของโรคโรคเบาหวาน และได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 12 บท โดยในแต่ละบทมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบโรคโรคเบาหวานจำแนกตามเพศ อายุ เชื้อชาติ และสภาพภูมิศาสตร์
การคำนวณอัตราภาระโรคโรคเบาหวาน ได้มีการปรับโครงสร้างอายุโดยวิธีตรง (Direct Method) เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบประชากรในแต่ละกลุ่มที่มีการกระจายอายุแตกต่างกัน ได้

จากผลการศึกษา สามารถสรุปผลแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) อัตราความชุกและอุบัติการณ์ของโรคโรคเบาหวาน
ในระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2539 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้าน 7 แสนคน โดยอัตราความชุกที่ปรับโครงสร้างอายุ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และเฉพาะในปี พ.ศ. 2539 มีรายงานว่าชาวสหรัฐอเมริกาเป็นโรค เบาหวานจำนวน 8 ล้าน 5 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของประชากรสหรัฐอเมริกาทั้งหมด

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างชนผิวดำและชนผิวขาวแล้ว พบว่า ประชากรผิวดำมีอัตราความชุกของโรคเบาหวานสูงกว่าประชากรผิวขาว และกลุ่มผู้หญิงผิวดำเป็นกลุ่มที่มีอัตราความชุกสูงที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป และเมื่อพิจารณาในแง่ภูมิศาสตร์แล้ว พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐแถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มที่มีอัตราความชุกของโรคโรคเบาหวานน้อยที่สุด

2) อัตราตาย
โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของการตายลำดับที่ 7 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนกลุ่มน้อย และผู้สูงอายุชาวอเมริกันเป็นกลุ่มที่มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงที่สุด เพศชายมีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงกว่าเพศหญิง กลุ่มชนพื้นเมืองอินเดียนแดง กลุ่มผิวดำ และกลุ่มเชื้อสาย Hispanic* เป็นกลุ่มที่มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงกว่าชาวผิวขาว นอกจากนี้ อัตราตายในทุกกลุ่มอายุ และชาติพันธุ์ยังเพิ่มสูงขึ้นตามวัยอีกด้วย

เมื่อพิจารณาเฉพาะอัตราป่วยตายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า อัตราป่วยตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มลดลง
* หมายถึง กลุ่มคนที่มีเชื้อสายสเปน

3) การใช้บริการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกกลุ่มอายุ เชื้อชาติ และเพศ มีระยะเวลาเฉลี่ยในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลง โดยในปี พ.ศ. 2539 ผู้ป่วยโรคเบาหวานใช้เวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยคนละประมาณ 6.6 วัน ผู้ป่วยผิวดำมีอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่าคนผิวขาว สำหรับความสม่ำเสมอในการพบแพทย์ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการไปพบแพทย์เฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังเป็นกลุ่มที่เข้าใช้บริการห้องฉุกเฉินมากกว่า คนทั่วไปถึง 3 เท่า

4) การตัดขา
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดขาเพิ่มจาก 36,000 ราย ในปี พ.ศ. 2523 เป็น 86,000 รายในปี พ.ศ. 2539 โดยผู้ป่วยโรค เบาหวานที่ถูกตัดขาประมาณเกือบร้อยละ 60 มีอายุมากกว่า 65 ปี อัตราการตัดขาจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยเพศชายสูงกว่าเพศหญิง และในชาวผิวดำสูงกว่าชาวผิวขาว

5) ภาวะ Ketoacidosis
อัตราตายด้วยภาวะ Ketoacidosis สูงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานอายุ 75 ปีขึ้นไป และเมื่อพิจารณาจำแนกตามเชื้อชาติพบว่า เพศชายผิวดำมีอัตราตายด้วยภาวะ Ketoacidosis สูงที่สุด อย่างไรก็ตามอัตราตายด้วยภาวะ Ketoacidosis ในผู้ป่วยโรค เบาหวานลดลงทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มที่มีอายุอายุต่ำกว่า 45 ปี

6) โรคไตระยะสุดท้าย
จากการศึกษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายพบว่า ร้อยละ 40 เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรค เบาหวานมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคไต อัตราอุบัติการณ์ของโรคไตระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นในทุก กลุ่มอายุ โดยกลุ่มที่มีอายุมากก็จะยิ่งมีอัตราอุบัติการณ์มากขึ้นตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์พบว่า กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งรัฐฮาวายเป็นกลุ่มที่มีอัตราอุบัติการณ์ของโรคไตระยะสุดท้ายสูงที่ สุด

7) ความพิการ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยผิวดำมีปัญหาในการทำกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตประจำวันมากกว่าผู้ป่วย ผิวขาว และในเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย และโดยเฉลี่ยแล้ว ใน 1 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวนวันที่ไม่สามารถกระทำกิจกรรมได้รวมแล้วประมาณ 1 เดือน และในจำนวนนี้ เป็นจำนวนวันที่ต้องนอนพักรักษาตัวประมาณครึ่งเดือน

8) การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
จากการสำรวจการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2540 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการตรวจสุขภาพตา และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ถึงร้อยละ 20 ที่มีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงก็มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพิ่ม ขึ้นเช่นเดียวกัน โดยประชากรในแถบบริเวณภาคเหนือเป็นกลุ่มที่มีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเองมาก ที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรในพื้นที่อื่น ๆ

กล่าวโดยสรุป การทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้ ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลเพียงบางส่วน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบสถานการณ์ของโรคโรคเบาหวานในกลุ่มต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากจะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ให้มีความถูกต้องแม่นยำแล้ว จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ รวมทั้ง ควรมีการสำรวจพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานประกอบด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ นอกจากนี้ การกรอกรายละเอียดในระเบียนการจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาล หรือในใบมรณบัตรก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้มีมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญในการอธิบายปรากฏการณ์ของโรค เบาหวาน หากข้อมูลที่ได้มีความคลาดเคลื่อนแล้ว ก็จะทำให้การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล มีความคลาดเคลื่อนตามไปด้วย และหากประเทศไทยต้องการจะสร้างระบบเฝ้าระวังโรคเบาหวานขึ้นมา ก็จำเป็นจะต้องมีการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญจาก หลาย ๆ ส่วน ในการหารูปแบบการดำเนินงานร่วมกัน โดยอาจจะใช้แนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างต่อไป

หมายเหตุ : แปลและเรียบเรียงจาก "1999 Diabetes Surveillance Report" http://www.cdc.gov.diabetes/statistics/surv199/index.htm

แปลและเรียบเรียงโดย ขวัญชัย เกิดบางนอน
กลุ่มพัฒนามาตรฐานงานระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
โรคเบาหวานเป็นตัวอย่างของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเฝ้าระวังมีแนวทางที่แตกต่างจากการเฝ้าระวังโรคติดต่อ อีกทั้งยังมีลักษณะที่สำคัญอื่น ๆ ที่อาจนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้ กล่าวคือ

1) แหล่งข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ทั้งจากทะเบียนการรักษาผู้ป่วย การสำรวจโดยการสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย ฯ นอกจากเรื่องการป่วย การตายแล้ว ยังมีตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ความพิการ และการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในการเฝ้าระวังโรคติดต่อทั่วไปที่การป่วยเกิดขึ้นและ หายไปรวดเร็ว

2) การเปรียบเทียบแนวโน้มการเกิดโรคมีการปรุงปรับ (adjust หรือ standardize) ตามโครงสร้างอายุ ซึ่งในอนาคตข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของประเทศไทยน่าจะต้องใช้การปรุงปรับเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ดียิ่ง ขึ้น และ

3) การเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญมาเฝ้าระวัง ในบางประเทศอาจมีข้อมูลอื่นประกอบในการเฝ้าระวังแตกต่างไปอีก เช่น ประเทศ แคนาดาเฝ้าระวังภาวะอ้วนของผู้ป่วยเบาหวานด้วย (ร้อยละ 59 ของผู้ป่วยเบาหวานที่อายุ 34 - 65 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน) เพราะภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมหรือปรับเปลี่ยนได้ (modifiable risk factor) เป็นต้น

ปัจจุบัน แนวทางการวินิจฉัยโรคเบาหวานของ American Diabetes Association 1 ใช้เกณฑ์ว่า ถ้าตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงตั้งแต่ 126 mg/dL ขึ้นไปจำนวน 2 ครั้ง ให้วินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน (ยังมีเกณฑ์ข้ออื่นอีก แต่ไม่ขอกล่าวในที่นี้) จากการสำรวจสภาวะสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539 - 2540 2 ประเทศไทยมีความชุกของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (ตั้งแต่ 126 mg/dL ขึ้นไป) ร้อยละ 4.4 ในกลุ่มประชาชนอายุ 13 - 59 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับหลายประเทศในทวีปอเมริกา และยุโรป

การเฝ้าระวังเป็นข้อมูลเพื่อการดำเนินการควบคุมป้องกันปัญหา สาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรคหรือนักวิชาการ สาธารณสุขจึงควรค้นคว้าทั้งแนวทางการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคจากแหล่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ องค์การอนามัยโลก นอกจากเน้นยุทธศาสตร์ที่การมีนโยบายระดับชาติแล้ว ยังเน้นการส่งเสริมโครงการในระดับและบริบทที่แตกต่างกันด้วย 3


นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท
กลุ่มพัฒนามาตรฐานงานระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค


เอกสารอ้างอิง
1. " Diabetes Diagnosis " in, http://www.niddk.nih.gov/health/diabetes/pubs/diagnosis/diagnosis.htm
2. ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน โดยตรวจร่างกาย ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539 - 2540. สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (ไม่ระบุปีพิมพ์และสำนักพิมพ์)
3. Non-communicable disease prevention and health promotion: strategies' in http://www.who.int/hpr/strategies.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น