++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548

จาก "ภพภูมิเก่า" ไปสู่ "ภพภูมิใหม่"

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้พูดถึงการยกระดับภพภูมิ
มนุษย์ จากการมุ่งพัฒนาทางวัตถุ (ภพภูมิเก่า) มาสู่การพัฒนาทางจิตวิญญาณ
(ภพภูมิใหม่) เพื่อให้กระบวนการ "โลกาภิวัตน์" ยกระดับจากระดับ
"ด้อยพัฒนา" ไปสู่ "โลกาภิวัตน์แบบศรีอาริยะ" ไว้ว่าที่สำคัญมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จะ
ต้อง "ปฏิรูปการเรียนรู้ใหม่" มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงยิ่ง

ในบทความ "วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21" ที่กำหนดตีพิมพ์ในนิตยสาร
หมอชาวบ้าน ฉบับเดือนธันวาคมนี้ ในส่วนของกระบวนการพัฒนายกระดับ
ภพภูมิของมนุษย์ ท่านอาจารย์หมอประเวศ ได้ชี้ให้เห็นเป็นแนวกว้างๆ
(หากต้องการศึกษารายละเอียดก็ต้องติดตามอ่านจากหนังสือที่ท่านเขียนร่วมกับ
สันติกโรภิกขุเรื่อง "วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21" ที่จะออกวางตลาดราวต้นปี
ใหม่โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน)
ท่านอาจารย์หมอประเวศ กล่าวว่า
"มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงยิ่ง สามารถเรียนรู้แม้กระทั่ง
จนหมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง ประสบอิสรภาพที่สมบูรณ์ ก็ได้

"การเรียนรู้ในภพภูมิเก่าคือภพภูมิแห่งวัตถุนั้นเรียนรู้แล้วยิ่งเห็น แก่ตัว
มากขึ้น (ดังนั้น) วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้ใหม่
แต่ ต้องระวังว่ากระบวนการเรียนรู้ใหม ่ไม่ทำให้มนุษย์วนเวียนอยู่ในภพภูมิเดิม
คือต้องสามารถอภิวัฒน์จิตวิญญาณที่ทำให้มนุษย์เกิดจิตสำนึกใหม่แห่งความ
เป็นหนึ่งเดียวกัน"

ท่านอาจารย์หมอประเวศเห็นว่าการเรียนรู้ที่เราคุ้นเคยและเคยชินอัน
เป็นไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ "เป็นการเรียนรู้โดยเอาวิชาเป็น ตัวตั้ง"
"วิชา" นั้นแยกส่วนเป็นวิชาแยกย่อย และมีเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะเดียวกันก็พามนุษย์ห่างจากความเป็นจริงของชีวิตออกไปเรื่อยๆ
อันเป็นการศึกษาตามแนวคิดแบบแยกส่วน คือแยกว่าชีวิตก็อย่างหนึ่ง การศึกษาก็อย่าง
หนึ่ง โดยการศึกษาเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง
ดังนั้น ถ้าจะให้การเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการ " อภิวัฒน์ทางจิต
วิญญาณ" ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวตั้ง จากการเอา "วิชา" เป็นตัวตั้งมาเป็นเอา "ชีวิต"
เป็นตัวตั้ง ให้ชีวิตกับการศึกษาอยู่ที่เดียวกัน เป็น "ชีวิตคือการศึกษา
การ ศึกษาคือชีวิต"

ท่านอาจารย์หมอประเวศกล่าวว่า "ทุกกระบวนการของชีวิตคือการเรียนรู้"
และ "การเรียนรู้ต้องนำไปสู่การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นหรือพัฒนาการทางจิต
วิญญาณเสมอ" อันหมายความว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไร ในที่สุดก็จะนำไปสู่การ
ทำความดีเสมอ ซึ่ง "มนุษย์ทุกคนต้องทำอะไรๆ อยู่ทุกวี่ทุกวัน ถ้าการทำอะไรๆ นั้นคือ
การเรียนรู้และการเรียนรู้ต้องนำไปสู่ความดีเสมอ ก็หมายความว่ามนุษย์ทุก
คน ทุกวัย ทุกการกระทำหรือในวิถีชีวิตของทุกคน เกิดความดีหรือ
พัฒนาการทางจิตวิญญาณ จึงจะเกิดความดีพอเพียงที่จะนำมนุษย์ไปสู่ภพภูมิใหม่
แห่งการพัฒนา"

"หลัก 4 ประการ" สำหรับการเรียนรู้ให้เราฉลาดขึ้นและดีขึ้น

ท่านอาจารย์หมอประเวศเห็นว่า ในวิถีชีวิตซึ่งประกอบด้วย
ประสบการณ์ กิจกรรมและการทำงาน ทุกวี่ทุกวันตั้งแต่คลอดตลอดอายุขัยของ
มวลมนุษย์นั้น ไม่ว่าอะไร ควรจะเป็นการเรียนรู้ทุกครั้งไป ให้เราฉลาดขึ้น
และเป็นคนดีขึ้น (แม้แต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยแต่ละครั้งก็ควรทำให้เราฉลาดขึ้น
และดีขึ้น) ซึ่งในการเรียนรู้ที่จะทำให้เราฉลาดขึ้นและดีขึ้นนั้น ต้องมีหลักคือ

1. เจริญสต ิอันจะทำให้สามารถรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
2.โลกทรรศน์และการคิดอย่างเชื่อมโยง อันจะนำไปสู่การรู้ความเป็นทั้งหมด
3. การเข้าถึงสิ่งสูงสุด
4. การสร้างความเป็นชุมชน

โดยอธิบายพอเป็นสังเขปว่า การจะรับรู้ความจริงต้องมีสติ
ถ้าไม่มี สติก็จะไม่สามารถรับรู้ความจริงที่จริงๆ ได้ จะรู้ไปตามความเชื่อ ความฝังใจ
การคิดปรุงแต่ง การเจริญสติจึงเป็นเครื่องทำให้ฉลาด ฯลฯ
ในเรื่องโลกทรรศน์และการคิด ปัจจุบันปัญหาใหม่ของมนุษย์คือ
การคิด อย่างแยกส่วน ตายตัว และสุดโต่ง ทำให้รู้เห็นเป็นส่วนๆ เหมือนตาบอดคลำ
ข้างไม่เห็นช้างทั้งตัว หรือรู้เฉพาะส่วนของจิ๊กซอว์ แต่ไม่รู้ว่าทั้งหมดมันเป็น
รูปเสือหรือหมี หรือช้าง ฯลฯ
การรู้และคิดแบบแยกส่วนทำให้ติดขัด บีบคั้น ขัดแย้งรุนแรง ไม่มี
ปัญญาที่เห็นทั้งหมด (มนุษย์วิกฤติเพราะเหตุนี้) การเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดปัญญา
ต้องมีโลกทรรศน์และวิธีคิดเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นทั้งหมด และ "เข้าถึงความเป็นหนึ่ง
เดียวกันของสรรพสิ่ง" ซึ่ง "การเข้าถึงความเป็นโลกเดียวกัน หรือ
ความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาล จะทำให้จิตใจหลุดจากการติดอยู่ใน
ความแยกส่วนอย่างที่เคย จะประสบอิสรภาพและไมตรีจิตอันไพศาล"
ยิ่งกว่านั้น มนุษย์ไม่ได้มีแต่ความ "แบน" ทางวัตถุ คือกิน ขี้ ปี้ นอน เท่า
นั้น แต่ควรมีความ "ลึก" หรือความสูง อันหมายถึง "การเข้าถึงสิ่งสูงสุด" เช่น
พระนิพพาน พระผู้เป็นเจ้าหรือการเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับจักรวาล
(ก็สุดแต่จะชอบ) มนุษย์ต้องพยายามให้การเข้าถึงสิ่งสูงสุดซาบซ่านอยู่ในจิต
ใจจนเป็นปกติ แล้วความรู้สึกนึกคิดและการรับสัมผัสจะเปลี่ยนไป มีความ
สงบ ชุ่มเย็น มีไมตรีจิตอันไพศาล มีความสุขอันประณีตที่เรียกว่า ทิพยสุข
หรือความสุขทางจิตวิญญาณอันจักเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
การสร้างความเป็นชุมชน เป็นรูปธรรมภาคปฏิบัติแห่งการอยู่ร่วมกันที่มี
พัฒนาการทางจิตวิญญาณ จากจุดเล็กๆ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ไปจนถึงการ
สร้างโลกทั้งโลกให้เป็นชุมชนแห่งการอยู่ร่วมกัน หรือ "โลกาภิวัตน์แบบศรีอาริยะ"
ที่ผ่านมามนุษย์ได้เข้าไปสู่การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เน้นเสรีภาพส่วน
บุคคล เป็นปัจเจกชนนิยมสุดโต่ง ซึ่งด้านหนึ่งก็เป็นอหังการ (อีโก้อิสม์) ทำ
ให้แปลกแยกและขาดพลังยึดเหนี่ยวทางสังคมเกิดความแตกสลายทางสังคม
อันเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติการณ์มนุษย์ในปัจจุบัน

ดังนั้นในวิถีชีวิตแห่งการอภิวัฒน์ทางจิตวิญญาณ ต้องมีการสร้างความ
เป็นชุมชน อันได้แก่การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ในทุกองค์กรและใน
ทุกเรื่องซึ่งในการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำจะเกิดความเป็นกลุ่มก้อนที่มีพลัง
มโหฬาร สมาชิกมีความรักใคร่ปรองดอง มีความสุข และร่วมมือกันสร้างสรรค์
อย่างยิ่ง โดยอาจเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เช่นในครอบครัว ในที่ทำงาน ในหมู่
บ้าน หรือรวมตัวกันทำกิจกรรม แล้วค่อยๆ ขยายออก เชื่อมกลายเป็น
"ตา ข่ายทางสังคม" (Social Networks) ที่ประกอบด้วยชุมชนที่มีขนาดและ
ลักษณะต่างๆ โดยแต่ละชุมชนมีลักษณะเฉพาะตัว แต่เชื่อมโยงอย่างเกื้อกูลและ
เรียนรู้กับชุมชนอื่นๆ ทั้งนี้คนแต่คนจะเป็นสมาชิกของชุมชนแห่งหนึ่งหรือมากกว่า และในแต่
ละชุมชนทุกคนมีความเสมอภาค มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีวัตถุประสงค์ร่วม
กัน มีการลดความเห็นแก่ตัว มีการเห็นแก่ส่วนรวมร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วม
กันจากการปฏิบัติจริง ในความเป็นชุมชนคือ วิถีชีวิตร่วมกันที่มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ยิ่ง
มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ความเป็นชุมชนก็จะยิ่งเข้มแข็งขึ้น ซึ่งในความ
เป็นชุมชนเช่นนี้ สมาชิกจะมีความสุขประดุจบรรลุนิพพาน

"องค์รวม" วิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้และพัฒนาการทางจิตวิญญาณ
"หลัก 4 ประการ" ในการเรียนรู้ให้เราฉลาดและดีขึ้น ที่ได้ประกอบเข้า
เป็น "องค์รวม" ที่เชื่อมโยงกัน เป็นเหตุเป็นผลของกันและกันอย่างแยกกันไม่
ได้นี้ กล่าวได้ว่าก็คือ วิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้และพัฒนาการทางจิตวิญญาณ
อันเป็นกระบวนการเบื้องต้นแห่งการยกระดับภพภูมิของมนุษย์ จากภพภูมิ
เก่าที่ตั้งฐานชีวิตอยู่บนพัฒนาการทางวัตถุที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องร่วม 400 ปี
(ตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่ม "เข้าถึง" วิทยาศาสตร์) ไปสู่ภพภูมิใหม่ ที่ (บนฐานความ
เจริญทางวัตถุที่สั่งสมมา) ชีวิตมนุษย์และโลกทั้งใบจะมีจิตวิญญาณหรือ "จิต
สำนึกใหม่" เป็นตัวนำ "จิตสำนึกใหม่" อันเป็นจิตสำนึกใหญ่ที่ไปพ้นจากความคับแคบทั้งด้วย
ความเห็นแก่ตัว ด้วยการเห็นแก่เผ่าพันธุ์ของตัว ด้วยการเห็นแก่ศาสนาของ
ตัว หรือเห็นแก่ประเทศของตัว อันเป็นจิตสำนึกแห่ง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน
ของโลกทั้งหมด หรือโลกทั้งผองพี่น้องกัน
โดยคุณ : สันติ ตั้งรพีพากร -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น