++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548

น้อยหน่า น้อยโหน่ง ทุเรียนน้ำ

เอ น้อยหน่ากับทุเรียนไม่เห็นจะเกี่ยวกัน
แล้วเจ้าทุเรียนน้ำนี้หน้าตาเป็นยังไงนะ
ครับ พลังผลไม้ตอนนี้ จะนำเสนอผลไม้ที่คนไทยรู้จักดี
คือน้อยหน่ากับทุเรียน
เจ้าผลไม้สองชนิดนี้เกี่ยวข้องกันตรงที่ว่าทุเรียนน้ำเป็นญาติกับน้อยหน่า
แต่หน้าคล้ายทุเรียน
ส่วนน้อยโหน่งกับทุเรียนน้ำนั้นก็เป็นญาติสนิทมิตรสหายกัน
โอย---วุ่นวายจริง
น้อยหน่า
พืชเหม็นเขียว ลูกน่าชัง เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทย
จนนึกเอาว่าน้อยหน่าเป็นผลไม้ไทยที่ควรแก่การอนุรักษ์
บางคนไปเห็นชาวออสเตรเลียนปลูกน้อยหน่าทึกทักเอาว่าเขาเเอบขโมย
พันธุ์ไม้เมืองไทยไปปลูก
ไม่ใช่สักหน่อย
เด็กๆรู้จักน้อยหน่าดีเพราะรสชาติหวานมัน รับประทานแล้วชื่นใจ ลูก
เดียวก็อิ่ม มีแรงออกไปกระโดดโลดเต้น แต่คุณแม่ไม่ค่อยชอบใจ เพราะน้อย
หน่ามีเมล็ดลื่นสีดำ กลัวว่าจะเผลอกลืนเข้าไปเกิดสำลักได้
ชื่อผลไม้ ่น้อยหน่า'ฟังไพเราะแบบไทยๆ จนคนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะเป็น
ภาษาต่างด้าว
แท้ที่จริงสันนิษฐานว่าจะมาจากชื่อดั้งเดิมตามคำเรียกในอเมริกากลางว่า
Annona หรือ ่อะโนน่า' ครับ
ใช่แล้ว...ถิ่นกำเนิดของน้อยหน่าอยู่แถวอเมริกากลาง
แต่ถูกนำมาแพร่พันธุ์
ทางเอเชียนานมาก จนพวกเรากินได้สะดวกลิ้น
เชื่อว่าชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำน้อยหน่ามาปลูกในอินเดียหลายร้อยปีแล้ว
คือราว พ.ศ. ๒๐๔๑
สำหรับเมืองไทยปรากฏหลักฐานว่าน้อยหน่าเข้ามาถึงเมืองไทยในสมัย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๐๖๐
ในบันทึกทูตชาวฝรั่งเศส ที่ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช ก็ได้กล่าวถึงน้อยหน่าไว้ในปี พ.ศ. ๒๒๓๐-๓๑ โดยเรียกว่า
ผลไม้หัวใจวัว สัณนิษฐานว่าคือ น้อยหน่า นั่นเอง
จึงเชื่อกันว่าน้อยหน่ามีอยู่ในปวะเหศไทยไม่ต่ำกว่าสามร้อยปีแล้ว โดย
ในระยะแรกปลูกกันแถบลพบุรี อยุธยา
และข้อคิดที่ว่าชาวโปรตุเกสนำน้อยหน่าเข้าประเทศไทยตั้งแต่สมัย
สมเด็จพระนารายณ์ฯน่าจะเป็นจริงเพราะน้อยหน่าพันธุ์ดีของลพบุรีที่ปลูกกันมาจน
ทุกวันนี้ มีชื่อว่า 'น้อยหน่าพระนารายณ์ ' หรือ 'น้อยหน่าพระทีนั่งเย็น'
น้อยหน่า เป็นพืชในวงศ์ ANNONACEAE มีสมาชิกในวงศ์ราว ๕๐ ชนิด
แต่ที่รับประทานได้มีเพียง ๕๐ ชนิดคือ น้อยหน่า น้อยโหน่ง ทุเรียนน้ำ ชิริโมยา
{เขียน Cherimya เป็นน้อยหน้าพันธุ์ที่นิยมทั่วโลก} และ
อิมาลาซึ่งปลูกมากในอเมริกากลาง
คนไทยนำชิริโมยาผสมกับน้อยหน่าหนัง เกิดพันธุ์ใหม่ให้ชื่อว่า
อติโมยา (Atemoya) หรือน้อยหน่าออสเตรเลีย
ฝรั่งเรียกน้อยหน่าว่า Sugar AppIe หรือ Sweet Sop
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Annona Squamosa Linn. ลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่มสูง ๒ - ๘ เมตร ลำต้นจริงสูง
เพียง ๓๐ เซนติเมตร แต่จะมีการแตกกิ่งก้านย่อยๆ จนดูสูง
ใบน้อยหน่ามีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นเหม็นเขียวมีสารเคมีชื่อ Anonaine
เด็ดใบมาตำให้แหลกคลุกกับน้ำมันพืชใช้พอกหัวฆ่าเหาได้ดีพอๆ กับส่วนเมล็ด
แต่ก็แปลกว่าน้อยหน่ากลับเป็นแหล่งซ่องสุมชั้นดีของเพลี้ยแป้ง
ขาวโพลนตามกิ่งก้าน เห็นแล้วขนลุก
ลูกน้อยหน่าเป็นผลกลุ่ม ไม่ได้แเปลว่าออกลูกเป็นพวงนะครับ
แต่หมายถึงว่าในหนึ่งลูกมีรังไข่หลายใบบนฐานรองดอกเดียวกัน
รังไข่แต่ละใบเมื่อได้รับการผสมก็จะเจริญเติบโตเป็นผลย่อย แต่ละผลเรียก
Fruitlet บนฐานรองดอกอันเดียวกัน ผิวเปลือก เชื่อมเข้าหากัน
จึงเห็นร่องรอยเป็นร่องคล้ายลูกบาสเกตบอล
ส่วนเนื้อน้อยหน่าหวานอมเปรี้ยวของโปรดของพวกเรานั้น
ก็คือเนื้อของรังไข่ที่เจริญขื้นมา นั่นเอง
น้อยหน่าหี่นิยมบริโภคในปัจจุบันในประเทศไทยคือน้อยหน่าหนัง
ซึ่งเป็นสายพันธุ์เวียดนาม นำเข้ามาปลูกที่อารามแม่พระ อุบลราชธานี ใน พ.ศ.๒๔๗๕
มีลักษณะเด่นเหนือพันธุ์ดั้งเดิมของไทย
ดือเนื้อและเปลือกล่อนจากกันเมื่อบีบ สุกคาต้น ไม่เละ ไม่ร่วง เก็บได้นาน
เนื้อมาก
ไม่เป็นทราย และมีเมล็ดน้อย
คุณค่าทางโภชนาการ
เรานิยมบริโภคน้อยหน่าในรูปผลไม้สด
ซึ่งนอกจากจะให้น้ำตาลผลไม้หวานชื่นใจ
เพิ่มพลังงานแล้ว ยังมีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟอสฟอรัสอยู่ในปริมาณพอควร
จัดเป็นผลไม้ในยามบ่ายที่ดี เพื่อความสดชื่นอีกชนิดหนึ่ง
ใน แง่พลังงานน้อยหน่าจัดเป็นผลไม้ให้พลังงานปานกลาง
ถ้าเทียบพลังงานกับผลไม้ต่างๆ ที่เรารู้จักดี จะเป็นดังนี้

เนื้อผลไม้ ๑ ขีดพลังงาน กิโลแคลอรี่
ทุเรียน๑๕๖
กล้วยนื้าว้า๑๓๙
ล่าไย ๑๐๙
ละมุด๙๐
น้อยหน่า๘๗
มังดุด๗๖
มะม่วงสุก๗๔
เงาะ ๗๐
ส้มเขียวหวาน๓๗
ฝรั่ง ๓๔
ชมพู ๒๔

น้อยหน่าสักผล จึงไม่ทำให้อ้วนอย่างทุเรียน
ในแง่วิตามินเกลือแร่น้อยหน่าก็ให้สารสำคัญปานกลางค่อนข้างต่ำ
ไม่มีเบต้าแคโรทีน เหมาะจะกินเสริมกับผลไม้ชนิดอื่น เพื่อความหลากหลาย
น้อยโหน่งและทุเรียนน้ำ
ยังมีพืชในสกุลนอกสองชนิดที่คล้ายน้อยหน่าคือ น้ยยโหน่ง (Bullock's
Heart)
และทุเรียนน้ำ (Sour Sop)
น้อยโหน่งมีผลโตกว่าน้อยหน่า หนังสีน้ำตาลแดงหรือชมพูเวลาสุก ทน
แล้งได้ดีกว่า เนื้อเป็นสีขาวรสชาติออกทางมัน ไม่ค่อยหวาน
คุณค่าหางอาหารคล้ายกัน แต่มีวิตามินเอสูงกว่า
ปลูกประปรายทางภาคอีสานและกลาง มีขายในตลาดชนบท
ทุเรียนน้ำหรือทุเรียนเทศ ไม่ใช่พืชจำพวกทุเรียน
แต่เป็นน้อยหน่าขนาดยักษ์
ที่มีหนามอ่อนๆคล้ายทุเรียน
มีปลูกมากทางภาคใต้ พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศ
แถบร้อนชื้น เพราะทุเรียนน้ำชอบฝนชุก
ทุเรียนน้ำมึผลใหญ่ที่สุดในบรรดาพืชจำพวกน้อยหน่า บางครั้งผลหนักกว่า
๒ กิโลกรัม ดูคล้ายขนุนลูกเล็กๆ ผลสุกสีเขียวปนน้ำตาลอ่อน
เนื้อหวานอมเปรี้ยววิตามินซีสูง นิยมคั้นน้ำดื่มชุ่มคอ
ผมเคยเห็นทุเรียนน้ำวางจำหน่ายทั่วไปในอินโดนีเซีย
แถบอเมริกากลางใช้ทุเรียนน้ำทำเหล้า เยลลี่ และขนมพื้นบ้าน
น้อยหน่าฆ่าเหา
ประโยชน์ทางยาที่รู้จักกันดีของน้อยหน่าคือ ฤทธิ์เป็นยาฆ่าเหา
ใน พ.ศ.๒๕๒๓ เภสัชกรหญิงอรนุช พัวพัฒนกูลและคณะ ได้ศึกษา โดยนํา
น้ำยาที่คั้นได้ จากเมล็ดน้อยหน่าบดคั้นกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน ๑: ๒
สามารถฆ่าเหาได้ถึง ๙๘% ในเวลา ๒ ชั่วโมง
แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าตา จะเกิดอาการอักเสบ
ฤทธิ์ฆ่าเหาเกิดจากสารเคมีชื่อ Anonaine ในใบและเมล็ดน้อย
ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันอยู่ประมาณ ๔๕%
ประกอบ ด้วย กรดอินทรีย์ อัลกาลอยด์ เรซินสเตียรอยด์
และอื่นๆอีกหลายชนิด
กระทรวงสาธารสุขเคยแนะนำให้ชาวชนบทฆ่าเหาให้ลูกหลานด้วยน้อยหน่า
เป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีสังเคราะห์
จากต่างประเทศ

(โดยภก.สรจักร ศิริบริรักษ์
จาก เภสัชโภชนา พลยแกมเพชร ปีที่ ๙ ฉบับ ๒๐๔ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓) โดยคุณ : สรจักร ศิริบริรักษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น