++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2548

ขยะ" รีไซเคิล อีกตัวอย่างของทางออกให้เทศบาลไทย

'สมไทย วงษ์เจริญ' ประธานกรรมการวงษ์พาณิชย์กรุ๊ป กล่าวว่า ปริมาณขยะใน จ.พิษณุโลกมีประมาณ3.2 หมื่นตันต่อปี เมื่อคัดแยกแล้วมีมูลค่าทางการค้าถึง 200 ล้านบาท หากรวมขยะทั้งประเทศจะสร้างมูลค่าได้ถึง 1 แสนล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ขยะที่รับจากเทศบาลนครพิษณุโลกแค่ 3.2 หมื่นตันจึงไม่เพียงพอเสียแล้ว

โครงการ รับซื้อจึงขยายวงออกไปทั้ง 4 มุมเมือง และรับขยะจากทั่วประเทศเข้ามาอีกวันละ 3.7 หมื่นตัน และจากการดำเนินงานมาพบว่าขยะที่นำไปขายได้ จะมีมูลค่าถึง 80-100 ล้านบาท เนื่องจากมีขยะที่สร้างมูลค่าใหม่ได้ถึง 75% ทุกวันนี้ผู้ที่นำขยะมาขายจึงไม่มีแค่รถซาเล้งหรือรถกระบะเท่านั้น แต่เริ่มมีรถเก๋ง รถกระบะนำขยะจากครัวเรือนมาขายโดยตรง จนขณะนี้มีสถานรับซื้อขยะของบริษัทในพิษณุโลก 8 สาขา และขยายไปถึงพระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และกรุงเทพมหานคร และบริษัทยังเตรียมขอใบรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14000 อีกด้วย เพื่อให้บริษัทเป็นสากลมากขึ้น

ล่าสุดบริษัทไปเปิดตัวในประเทศลาวแล้ว หลังจากที่รัฐบาลลาวส่งคนมาดูงานด้านสิ่งแวดล้อมที่พิษณุโลกแล้วเกิดติดใจ จึงให้บริษัทส่งทีมงานไปดูลู่ทาง และพบว่ามีขยะที่นำมารีไซเคิลได้ถึง 50% มูลค่าประมาณ 1 แสนบาทต่อวัน จากปริมาณขยะในเวียงจันทน์ที่มีวันละ 40-50 ตัน โดยเริ่มเปิดรับซื้อแล้วในเดือนสิงหาคมนี้เอง โดยประสานกับบรรดารถขนส่งสินค้าที่ข้ามไปแล้วตีรถเปล่ากลับมา ให้ขนส่งขยะรีไซเคิลกลับมาส่งที่ศูนย์รวมในกรุงเทพมหานครด้วย ส่วนในกัมพูชาก็เล็งที่จะเปิดสาขา เพราะปัจจุบันรับซื้อขยะจากกัมพูชามาเข้าโรงคัดแยกแล้วเดือนละประมาณ 1,000 ตัน มูลค่าประมาณ 4-5 ล้านบาท และเร็วๆ นี้กิจการของวงษ์พาณิชย์กำลังจะขยายในรูปแบบเเฟรนไชส์ ที่ขณะนี้มีผู้ติดต่อขอซื้อแล้วกว่า 100 ราย โดยวงเงินลงทุนเบื้องต้นเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น แต่ต้องคัดเลือกเป็นพิเศษ โดยในแต่ละจังหวัดจะให้เเฟรนไชส์รายเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้ธุรกิจซ้ำซ้อนกัน ซึ่งสาเหตุที่มีผู้สนใจธุรกิจนี้มา เนื่องจากราคาขยะรีไซเคิลนั้นแพงกว่าข้าวเปลือกเสียอีก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5 - 6 บาท

ท้าวคำเสริม มณีวงศ์ หัวหน้าเทคโนโลยีที่เหมาะสม ศูนย์อบรมร่วมพัฒนา ประเทศลาว กล่าวถึงปัญหาขี้เยื่อ(ขยะ)ว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือไจก้า ประมาณการว่ามีขยะวันละ 200 ตัน และเมื่อมาศึกษาดูงานที่พิษณุโลกแล้ว ตั้งเป้าหมายจะไปรณรงค์เองการคัดแยกขยะกับประชาชนในแขวงจำปาสัก สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และเมืองใหญ่ๆ จนครบทุกเมือง น่าทึ่งกับธุรกิจการคัดแยกขยะนำกลับมาขายเป็นของมีค่าเพื่อไปผลิตกลับมาใช้ ใหม่ เพราะนอกจากจะสร้างมูลค่าให้กับของไร้ค่าแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะล้นเมืองลงได้ด้วย วิธีการและธุรกิจนี้น่าจะเป็นทางออกให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล หรือแม้แต่องค์การบริหารส่วนตำบล ที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาขยะชนิดหาที่ทิ้งแทบไม่ได้
อาจสร้างรายได้งาม ๆ ให้ โดยไม่ต้องรอพึ่งแต่งบประมาณหรือภาษีอีกเลยก็ได้!!!

มติชนรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น