++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548

นักวิจัยอาชีพกับอาชีพนักวิจัย

ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานเลี้ยงเพื่อแสดงความยินดีกับรางวัลนัก
วิทยาศาสตร์ดีเด่น และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2543
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในปีนี้ มีผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดี
เด่น 2 ท่าน เรียกว่าเป็นรางวัลรุ่นใหญ่ และผู้ที่ได้รับรางวัลนัก วิทยาศาสตร์ รุ่นใหม่อีก 6 ท่าน เป็นรางวัลรุ่นเล็ก ซึ่งก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทุกท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการ
วิทยา ศาสตร์ ทั้งสิ้น แต่ที่ผมอยากจะกล่าวถึงในบทความนี้ไม่เกี่ยวกับ ผลงานของท่าน เหล่านั้น แต่จะเป็นเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่า "นักวิจัย"

จากเอกสารที่แจกในงานเลี้ยง มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นมา แล้วรวมของปีนี้ด้วยก็เป็นทั้งหมด 25 รางวัล และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ รุ่น
ใหม่อีก 29 รางวัล แต่จากจำนวนรางวัลเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมีอาชีพ
เป็น อาจารย์และมาทำวิจัย ไม่ใช่อาชีพนักวิจัย เพิ่งจะมีนักวิจัยอาชีพที่ได้ รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ในปี พ.ศ. 2540-2542 และ 2543 ปีละ 1 คน รวม 3 คนเท่านั้น

ดังนั้น ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 18 ปี
ยังไม่มีนักวิจัยอาชีพคนใดที่มีผลงานจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ ดีเด่นได้เลย สำหรับรางวัลอื่นๆ
เช่นรางวัลนักวิจั ยดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เท่าที่ผม
ทราบนอกจากผู้ที่มีอาชีพเป็นอาจารย์แล้ว ยังไม่เคยมีผู้ที่มีตำแหน่งเป็น
นัก วิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการในกรมกองใดได้รับ
รางวัลเหล่านี้เลย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่วิจัยมาเป็น
เวลาหลายสิบปีแล้ว และแต่ละหน่วยงานมีงบประมาณเพื่อการวิจัย จำนวนมาก จริงๆแล้วรางวัลเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวชี้ที
่จะบอกถึงประสิทธิภาพการ วิจัยของหน่วยงาน แต่ผมเชื่อว่าน่าจะมีอุปสรรคบางอย่างที่ทำให้นักวิจัย
ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ในขณะที่อาจารย์ที่ทำวิจัยมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้
แม้ว่าจะมีคุณวุฒิและความสามารถไม่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าคิดแบบนี้ปัญหาก็คงจะเป็นที่ระบบมากกว่า
เพราะว่าหน้าที่ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย จะเกี่ยวข้องกับงาน 4 ส่วน
ได้ แก่ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แต่ถ้าจะเน้นเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์ก็คงจะต้องเกี่ยวกับ 3 ส่วนแรก ซึ่งในความเป็นจริงอาจารย์ค่อนข้างมีความเป็นอิสระในการเลือกทำวิจัย เช่น สามารถเลือกหัวข้อที่สนใจจะทำหรือไม่ทำได้ และหากไม่เน้นทำวิจัยก็ยังเลือกที่จะมีงานสอนเป็นภาระงานหลักได้ ใน
ขณะที่นักวิจัยถูกกำหนดว่าจะต้องทำงานวิจัยเป็นหลัก หากมีงานสอน
บ้างก็จะต้องเป็นงานรอง สิ่งนี้ทำให้อาจารย์หลายคน โดยเฉพาะที่เพิ่ง
เรียนจบมาใหม่ๆ และอยากทำวิจัย คิดว่าการเป็นนักวิจัยน่าจะ "สนุก"
กว่า เป็นอาจารย์ เพราะได้ทำวิจัยได้เต็มที่ แต่ในความเป็นจริง ผู้ที่มี ตำแหน่งเป็นนักวิจัยไม่ว่าจะเป็น สาย ก หรือสาย ข ในมหาวิทยาลัย ก็คือคนที่จะต้องทำวิจัยตามนโยบายหรือตามคำสั่งเป็นหลัก ในลักษณะเดียว
กันผู้ที่มีตำแหน่งเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการในหน่วยงานราชการอื่นๆก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำงานวิจัยตามหัวข้อที่หัวหน้า
หรือผู้บังคับบัญชากำหนดมา และจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่องานวิจัยเริ่มดำเนินการ
ยังไม่ทันได้ผลหรือเพียงเตรียมการเสร็จยังไม่เริ่มการทดลอง ก็จะมีเรื่องอื่นเข้ามาทำให้การทดลองไม่ต่อเนื่องหรือห
ยุด ชะงักไป การทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆเป็นภาระงานที่มีความ ยากยิ่งในตัวของมันเอง เรียกว่าเป็นงานที่คนทั่วๆ ไปไม่คิดจะทำ ดังนั้นผู้ที่จะทำงานวิจัยได้ประสบความสำเร็จ มักจะต้อง
มีความ "อยาก" ในการทำงาน มีแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น มีความรับ
ผิดชอบ และยังต้องมีโชคมาช่วยด้วยในบางครั้ง โอกาสที่จะประสบความ
สำเร็จจากงานวิจัยที่ต้องทำตามหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมายหรือตาม
คำ สั่ง จึงทำได้ยาก ในความคิดของผม การสนับสนุนการวิจัยที่ได้ผล ก็คือการรักษาความ "สนุก" ของการทำวิจัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้อง รักษาความ "อยาก" ทำงานวิจัยของตัวนักวิจัยเอง
หัวหน้าหน่วยงานใดทเอา แต่สั่งงานตามความรู้สึกของตัวเอง ไม่คำนึงถึงความลำบากใจของ
ลูก น้องนักวิจัยที่ปฏิบัติงาน ไม่ทำให้งานวิจัยเป็นงานที่ท้าทายและน่าสน ใจที่จะทำก็จะส่งผลให้งานวิจัยเป็นภาระหน้าที่อันน่าเบื่อที่จำใจต้องทำ
การหวังผลงานที่ดีจากงานวิจัยย่อมเป็นไปไม่ได้ แล้วหน่วยงานนั้นจะมี ผลงานที่ดีได้อย่างไร
การพัฒนาบุคลากรในสายวิจัยนั้น นอกเหนือจากการส่งเสริมด้านทุนเพื่อการวิจัย หรือให้ไปศึกษาต่อ
ยังต่างประเทศแล้ว ยังต้องมีการเปิดโอกาสให้มีอิสระในการทำงานตามสมควรรวมถึงมีวิธีการอื่น ๆ เช่น เงิน
เดือน สวัสดิการที่จะดึงนักวิจัยเหล่านี้ให้มีสมาธิกับการทำงานได้ใน
ระดับ หนึ่ง ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อย้ายออกไปทำงานเป็นอาจารย์อยู่ใน มหาวิทยาลัย ซึ่ง ผมคิดว่าสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่ง
อาจเพราะความมีอิสระ มากกว่าหน่วยงานราชการอื่น ๆ แนวความคิดดังกล่าวน่าจะนับได้ว่า
ประสบความสำเร็จอยู่บ้าง จะเห็นได้ว่า รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
จำนวน 3 คนล้วนเป็นนักวิจัยของ สวทช. แต่นักวิจัยของสวทช. เองก็ ไม่ใช่ว่าจะทำงานได้อย่าง
สบายใจ เพราะระบบการต่อสัญญาการปฏิบัติ
งานทุก 2 ปี โดยมีการประเมินผลงานทุกปี และไม่มีนโยบายการจ้าง
งานแบบระยะยาว ทำให้นักวิจัยมีความรู้สึก "หวาดเสียว" อยู่พอสมควร


หน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ต้องการเพิ่มจำนวนนักวิจัยในประเทศไทย ให้
มี จำนวนต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น แล้วก็จะดึงอันดับความสามารถในการแข่งขันทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย จากอันดับ บ๊วยที่ 47 ให้สูงขึ้น ให้ได้ นโยบายหนึ่งในการแก้ปัญหาก็คือการ
ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตระดับ ปริญญาเอกจำนวนมาก เพื่อให้มีจำนวนนักวิจัยต่อจำนวนประชาการเพิ่มขึ้น ผู้เขียนเองสนับสนุนแนวความคิด โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจัยที่ให้ นักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับทุนมีโอกาสไปทำงานในห้องปฏิบัติการในต่าง ประเทศระยะหนึ่งในระหว่างการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณการผลิตดุษฎีบัณฑิตได้จำนวนมาก
แต่ผู้เขียนเองยังเป็นห่วงอยู่ว่าหลังจากที่ผลิตดุษฎีบัณฑิตเหล่านี้ออกมา
แล้วจะให้ไปทำงานที่ไหน ในเมื่อตำแหน่งงานส่วนใหญ่ยังคงผูกอยู่กับ
ระบบราชการหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ ดังนั้น การส่งเสริมอาชีพนักวิจัยนั้นไม่ใช่ว่าทำได้โดยการผลิตดุษฎี
บัณฑิตจำนวนมากแต่เพียงอย่างเดียว การสนับสนุนกิจกรรมการวิจัยใน
ประเทศไทยน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรสร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูป
ธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมบริษัทเอกชนให้มองเห็นความ สำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณ
ฑ์และกระบวนการ ซึ่งจะทำให้เกิดกิจกรรมการวิจัยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจากความ
เป็น จริงในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ การที่บริษัทเอกชนจะจ้างนักวิจัย เต็มเวลาระดับปริญญาเอกดูจะทำได้ยาก เพราะจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง จึงน่าจะมีการส่งเสริม ให้มีสายการวิจัยเกิดขึ้นในบริษัทเอกชน โดยอาจ
ใช้บุคลากรระดับปริญญาโทเพื่อเป็นการเริ่มต้น เมื่อมีฐานการวิจัยดีขึ้น
แล้วจึงพัฒนาไปสู่การวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นในอนาคต อีกหน่อยประเทศไทยของเราก็จะยืนขึ้นด้วยเทคโนโลยีของเราเองได้

ท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะฝากแนวความคิด จากข้อเขียนของ หลวง
วิจิตรวาทการไว้ว่า "ความยิ่งใหญ่ทางการเมือง อาจโค่นพังได้ ความยิ่ง
ใหญ่ ทางทรัพย์ ความเป็นมหาเศรษฐีก็ละลายไปได้ แต่ผู้ยิ่งใหญ่ทางวิชาการ คงยิ่งใหญ่อยู่เสมอ แต่ความยิ่งใหญ่ทางวิชาการนั้น ไม่สามารถจะใช้โชคหรือความบังเอิญสร้างให้ได้ ต้องสร้างขึ้นมาจากราก
ฐานที่หนักแน่น และต้องสร้างขึ้นทีละน้อยให้มีความแข็งแรงเป็นลำดับ
กว่าจะยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ก็ต้องสร้างมาตลอดชีวิต"
หวังว่าอีกไม่นานก็คงจะได้เห็นนักวิจัยอาชีพของไทยที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ทางวิชาการทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติผมเชื่ออย่างนั้นนะ
โดยคุณ : ดร.สรวิศ เผ่าทองสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น