หลังการพลิกขั้วอำนาจในยูเครน ที่กลุ่มนิยมตะวันตกกุมอำนาจหลังขับไล่ประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานุโควิช ผู้นิยมรัสเซียออกไป เกิดความกลัวขึ้นว่า เขตปกครองตนเองไครเมีย ทางใต้ของยูเครน จะกลายเป็นสมรภูมิระหว่างกองกำลังที่ภักดีกับยูเครนกับรัสเซีย
ไครเมียเป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเลดำ มีประชากร 2.3 ล้านคน มีชนเชื้อสายรัสเซียร้อยละ 58 ยูเครน ร้อยละ 24 ที่เหลือเป็นมุสลิมทาทาร์
รัสเซียมีอิทธิพลเหนือไครเมียมาเกือบตลอด 200 ปี ตั้งแต่ยึดครองแถบนี้ได้ในปี 2326 แต่ถ่ายโอนให้ยูเครนในปี 2497 ในขณะนั้นที่ยังเป็นสหภาพโซเวียตด้วยกัน
แต่หลังโซเวียตล่มสลาย รัสเซียรับรองสถานะว่าไครเมียเป็นของยูเครนตามข้อตกลงในปี 2537 ที่สหรัฐ อังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมลงนาม คนรัสเซียที่ตั้งรกรากที่ไครเมียมองว่า นี่คือความผิดพลาดในประวัติศาสตร์
ไครเมียมีรัฐสภาของตนเอง มีผู้แทนประธานาธิบดีและมีนายกรัฐมนตรี แต่ทั้งสองตำแหน่งยูเครนแต่งตั้งให้ รัสเซียมีฐานทัพเรือที่เมืองเซวาสโตโพล แต่ไม่มีสิทธินำยุทโธปกรณ์ หรือยานเกราะออกมานอกฐานถ้ายูเครนไม่อนุญาต
เมื่อปี 2551 รัสเซียเคยส่งกองกำลังเข้าไปในแคว้นเซาธ์ออสเซเตีย ในจอร์เจีย เพื่อต้านทานกองทัพจอร์เจีย แบบเดียวกับที่ส่งเข้ามาในไครเมียของยูเครนเวลานี้
ไครเมียใหญ่กว่าเซาธ์ออสเซเตีย และยูเครนก็ใหญ่กว่าจอร์เจีย แต่ประชากรในไครเมียหลากหลายกว่าในเซาธ์ออสเซเตีย ซึ่งมีคนที่นิยมรัสเซียอยู่มากกว่า
การแทรกแซงยูเครนของรัสเซียครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องเดิมพันสูงขึ้น
รุ้งตัดแวง/สปาย-กลาส
ข่าวสดออนไลน์, 4 มี.ค.2557
รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีปูติน ได้ควบคุมไครเมียและพร้อมส่งกองทัพข้ามพรมแดนไปยังฝั่งยูเครนตะวันออก เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลตะวันตกคาดการณ์มานานแล้ว เพราะในมุมมองของรัสเซียประเทศยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงที่สำคัญ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นการให้บทเรียนแก่ชาติตะวันตก ว่ารัสเซียจะไม่ยอมปล่อยยูเครนให้อยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายตะวันตกอย่างง่ายๆ และควรรู้ว่าอะไรคือ “เส้นต้องห้าม”
ตอบลบhttp://www.chanchaivision.com/2014/03/Putin-Strategies-on-Ukraine-140309.html