++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระบบโครงสร้างการปกครองในไทยล้าสมัยแล้ว

ระบบโครงสร้างการปกครองในไทยล้าสมัยแล้ว
กรุงเทพเป็นเมืองโตเดี่ยว Primate City มา 30 - 40 ปี เป็นมาอย่างไรก็จะเป็นไปอย่างนั้น

ท้อง ถิ่นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ทำเหมือนกันหมดทั่วประเทศ มี 7,000 กว่าแห่ง ซึ่งต้องจ่ายเงินเป็นเบี้ยหัวแตก เฉพาะเงินเดือนพนักงานก็แทบไม่ต้องทำกิจการอะไรแล้ว การจะยุบรวมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาอยู่ที่นักการเมือง ใครจะยอมทำลายระบบที่ตัวเองได้ประโยชน์

เมื่อก่อนมหาดไทยคุมการเลือก ตั้ง ต่อมาอยู่ที่ กกต. นักการปกครองท้องที่ กำนัน ผญบ. ก็ให้หัวคะแนนให้ สส. เป็นสส. แล้วก็เอางบมาลง ทั้ง ๆ ที่มีหน้าที่แค่ออกกฎหมาย

ประเทศไทยใหญ่ตรงกลาง กระจายอำนาจล่าช้า อาศัยท้องถิ่นแค่เป็นฐานระดับชาติ ไม่ได้ปล่อยให้มีศักดิ์ศรีในการปกครองตนเอง

ท้องถิ่นวันนี้ดูว่าก้าวหน้าขึ้นมาก แต่บางภารกิจเห็นได้ชัดเลยว่า อ่อนแอ เช่น การผังเมือง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ

แม้ จะมี พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ กำหนดให้ หน่วยงานส่วนภูมิภาค กระจายภารกิจไปให้ท้องถิ่น แต่การกระจายไป เท่ากับส่วนกลางเล็กลง ใครจะยอมทุบหม้อข้าวตัวเอง

สรุปคือ ท้องถิ่นเล็กยิบย่อยมีจำนวนมาก และไร้ประสิทธิภาพ ไร้ทรัพยากร

เรื่อง ปริมณฑล แท้จริงก็คือ เมืองที่คนพักอาศัยแล้วเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพ เมืองโตเกินความสามารถของการจัดการ ผู้ว่าไม่สามารถทำอะไรได้ ศักยภาพเชิงการจัดการต่ำ (ควบคุมการขยายตัวของเมืองไม่ได้/ ไม่มีทรัพยากรด้าองค์ความรู้ ไม่มีอำนาจ ฯลฯ)

น่าจะต้องคิดถึงการเลือกตั้ง ผวจ. หรืออะไรทำนองนี้
เพราะตราบใดที่กรุงเทพไม่เล็กลงปัญหาก็ไม่จบ ปล่อยไว้แบบนี้ก็จัดการอะไรไม่ได้

ถ้าไม่เลือก ผวจ. ก็ควรให้อำนาจ อบจ. มีบทบาทมากขึ้น แล้ว ผัน ผวจ. ไปเป็นผู้ตรวจราชการ

ให้ อบจ. บูรณาการจัดการในพื้นที่ให้ได้ หลายเรื่องต้องทำร่วมกัน เช่น การวางผังเมืองคร่อมจังหวัด การจัดการน้ำ เหล่านี้ต้องอาศัยโครงการสร้างปกครองที่เอื้ออำนวย และมีศักยภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น