++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ดูหมิ่นเขา ตำหนิเขา นินทาเขา

ดูหมิ่นเขา ตำหนิเขา นินทาเขา

บางคนก็คิดออกไปข้างนอก คิดดูหมิ่นเขา ตำหนิเขา
นินทาเขาสารพัดอย่าง
จิตบางคนก็เกิดน้อยใจ ในที่สุดก็อยากหนี
บางครั้งก็อยากหนีจากชีวิต คิดจะฆ่าตัวตาย
อันนี้ให้เราสังเกตว่าจิตไปทางไหน
ถ้าคิดอย่างนี้ เรียกว่า ไม่มีหิริ โอตตัปปะ จิตก็ปรุงแต่งไป

ถ้าเราเข้าใจแล้วว่าอะไรถูก ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย
ถ้ามีความรู้สึกยินร้ายก็ต้องมีความรู้สึกละอาย กลัว
มีหิริ โอตตัปปะ แล้วนิ่งเฉย
ไม่คิดว่า เขาไม่ดี เขาไม่น่า เขา..... เขา..... เขา..... ไม่ให้คิด
มีเขา ก็ต้องมีเรา
ถ้าเอา “เขา” มาคิดปรุงไป “เรา” ก็เกิด
มีเรามีเขา

ถึงเขาจะไม่ดีอย่างไรก็ตาม มีเขาก็มีเรา
อันนี้ไม่ใช่ทางพุทธศาสนา

การปฏิบัติทางพุทธศาสนาก็เพื่อไม่ให้มีตัวตน
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตา
การปฏิบัติก็เพื่อทำลายความรู้สึกว่ามีตัวตน

อันนี้สำคัญ เราต้องรู้จัก พยายามพิจารณา มองเห็นให้ชัด
พยายามให้มีสติที่หัวใจ
เมื่อเกิดอารมณ์ก็ต้องรีบระงับ รีบระงับ
พยายามสร้างเหตุดี
ถ้าเราสามารถมี หิริ โอตตัปปะ มีสติ มีศีลตรงนี้ได้
เรียกว่า มีเหตุดี ต่อไปในอนาคต ผลก็ดี จิตไม่หวั่นไหว
ใครจะนินทา สรรเสริญ จิตก็เป็นปกติ
ใครจะนินทา ใครจะพูดอย่างไร ถ้ารักษาใจให้สงบได้ เรียกว่าเป็น ปกติ

ศีล คือปกติ คือสงบนี่แหละ
เราสามารถทำใจให้สงบ เป็นปกติ ไม่ให้ปรุง เรา-เขา
เรียกว่าใจเป็นปกติ ใจเป็นศีล

ถ้ากระทบอารมณ์แล้วคิดมาก ก็ผิดปกติมาก ฟุ้งซ่านไม่สงบ
ถ้าเราเข้าหลักธรรมปฏิบัติ เมื่อเกิดอารมณ์ขึ้น
ก็รีบตั้งเจตนาให้ถูกต้องได้
เพื่อไปทางมัชฌิมาปฏิปทา คือ กลางๆ สงบ เฉยๆ คือตั้งสติได้
อย่างนี้เรียกว่า เราเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติ

ฉะนั้น เมื่อกระทบอารมณ์ เราก็ไม่ต้องคิดอดีต
ไม่ต้องคิดถึงอนาคต ปฏิบัติที่ปัจจุบัน
เมื่อกระทบอารมณ์ต่างๆ เราก็รู้อยู่ว่า
จิตจะเกิด ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อย่างไร
เราต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งขึ้นมา
เรียกว่า เป็นการสร้างเหตุที่ดีในปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นมากที่เราจะต้องทำใจให้สงบ

ต้องทุ่มเทสติปัญญาของเราทั้งหมด ต้องศึกษา
เพราะเรากระทบอารมณ์อยู่ทุกวินาที
เราต้องพยายามให้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา
พยายามศึกษาอารมณ์อยู่อย่างนี้
ตั้งทิศตั้งเจนาให้มันถูกต้อง
ถ้าตั้งทิศผิด มันก็ฟุ้งซ่าน คิดไปเรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น