++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ธรรมะยังไม่ถึงใจ

ธรรมะยังไม่ถึงใจ

ถ้าเราชอบบ่นอยู่อย่างนั้น ก็แสดงว่าธรรมะยังไม่ถึงใจ
“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ที่เราได้ยินได้ฟังตั้งแต่เล็กๆ
ตั้งแต่คุณยาย คุณแม่สอนเรา
อันนี้ก็อยู่ในสมอง ถึงสมอง แต่ยังไม่ถึงใจ
สมองกับใจก็อยู่ใกล้ๆ กัน จะพูดว่าอยู่ติดกันก็ได้
แต่..... ไม่ถึงใจ
กิเลส..... ความรู้สึก อัตตาตัวตน..... กั้นไว้
กั้นธรรมะไม่ให้ถึงใจ ใจเราจึงวุ่นวายอยู่อย่างนี้
เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ไม่ถูกใจ ก็อารมณ์ขึ้น

ถ้าเราเข้าใจหลักความจริงที่ว่า
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือ หลักอริยสัจ 4 ก็ดี
เมื่ออะไรจะมากระทบก็ตาม กิเลสเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม
จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่นึกปองร้ายเขา
เพราะถ้าเรานึกปองร้ายเขา ความชั่วนั้น ก็ต้องกลับมาหาเรา
เราต้องมองเห็นจุดนี้ด้วยปัญญา
ถ้ามองไม่เห็น ก็หาความสงบไม่ได้

เพราะอยู่ที่ไหนเราก็มีแต่ความไม่ถูกใจ
ใจเรามัน ก็โง่อยู่อย่างนั้น
เหตุการณ์เกิดในอดีต เราก็นึกขึ้นมา ยกขึ้นมา จำขึ้นมา
นึกอย่างนั้นอย่างนี้ นึกพยาบาทอาฆาตอยู่อย่างนั้น สติปัญญาไม่ทัน

ถ้าเราเกิดประสบการณ์ทุกข์ โกรธ ไม่พอใจ
ให้รีบยกขึ้นมาพิจารณา..... ใครผิด ใครถูก
แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ดูว่า ใครผิด ใครถูก
ให้ดูตัวเรา ให้เห็นว่าตัวเราผิด ผิด ผิดนั่นแหละ
ความยินร้าย ไม่พอใจ โกรธ..... ฯลฯ..... มันผิด

ถ้าเรานึกได้อย่างนี้ ก็เห็นชัด
คำพูด ความคิดที่เรานึกไปนั้นก็เหมือนกับนินทาตัวเองนี่แหละ
ถ้าเราคิดด่าเขา เราก็ด่าตัวเอง
ใครทำอะไรไม่สวยจริงๆ ด้วย เราก็บ่นไป นินทาไป
คำพูดเหล่านั้นก็กลับมาหาเราหมด เพราะเป็นกฎตายตัวอยู่แล้ว
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

เรื่องกรรมนี่น่ากลัว
มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งที่อาจารย์รู้จัก เขาเป็นทุกข์ เขาอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด
สามีไปทำงานที่กรุงเทพฯ มีเมียน้อย เขาก็เป็นทุกข์เป็นธรรมดา
เขาทะเลาะกับสามี ว่าสามี วันหนึ่งก็พูดรุนแรงกับสามีว่า
“ฉันอยากจะตัดแขนของเมียน้อย” พูดตอนเช้า
พอตอนเย็นเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำแขนตัวเองขาด
นี่ก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น

อันนี้เราก็ต้องพยายามศึกษาจนเข้าใจว่า
เราต้องพยายามทำความดี ละความชั่ว
ตรวจตราว่า เรายังคิดชั่วไหม พูดชั่วไหม ทำชั่วไหม
พยายามละ เพราะทำชั่วได้ชั่วแน่นอน

ทีนี้เรา ก็ต้องพยายามหัด “คิดดี พูดดี ทำดี” กับเขา
หัดทำอะไรตรงกันข้ามกับความรู้สึก คือตัณหา ฝืนความรู้สึกให้ได้
เขาทำอะไรให้เราไม่ถูกใจ การแสดงออก
ทั้งทางกาย วาจา จิต ของตนเองตามนิสัยเก่าก็มี
แต่ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าเราก็ต้อง “ดัด”..... จริต ฝืนทำดู

คือการทวนกระแส ทวนกิเลส ทวนตัณหา
หัดคิดดี พูดดี ทำดี ดูซิเป็นอย่างไร เปรียบเทียบดู
เราต้องมีจิตใจกล้าหาญที่จะทดลองอย่างนี้
อันนี้เราก็ต้องกล้าหาญ ต้องทดลอง
ถ้าเราไม่ทดลอง ปัจจุบันอยู่อย่างไร อนาคตก็จะอยู่อย่างนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น